Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MAS HIFI
•
ติดตาม
10 พ.ย. 2020 เวลา 06:30 • บันเทิง
การเดินทางสู่ "เสียงดี" ในทรรศนะข้าพเจ้า ตอนที่ 1
บทความนี้ ข้าพเจ้าเขียนจากประสบการณ์ส่วนตัวในการเล่นเครื่องเสียง Hi-Fi (High fidelity) สองแชนแนลมาประมาณ 20 ปี แน่นอนแม้จะเล่นมานานแต่ข้าพเจ้า
ก็เป็นเพียงนักเล่นธรรมดาๆ คนหนึ่ง หาใช่เซียนหูทอง รีวิวเวอร์ นักวิจารณ์มาก
ประสบการณ์ หรือนักเล่นระดับที่ใช้ชุดเครื่องเสียงตัวท็อปทั้งซิสเต็มแต่อย่างใด
บทความนี้จึงไม่ใช่การชี้นำ สั่งสอน หรือมีเจตนาจะสื่อว่าแนวคิดของข้าพเจ้านั้น
ถูกต้องแต่เพียงฝ่ายเดียวก็หาไม่ หากบทความนี้ขัดกับความรู้ ประสบการณ์ของ
เพื่อนนักเล่น ท่านก็สามารถทักท้วง เสนอแนะเพื่อให้เกิดปัญญาความรู้ ทั้งกับตัว ข้าพเจ้าเอง และกับนักเล่นท่านอื่นต่อไป
เมื่อก่อนแค่นี้ก็หรูแล้ว
จุดเริ่มต้น
นักเล่นหลายๆ ท่านก็คงคล้ายๆ กับข้าพเจ้าที่เริ่มจากความชอบในการฟังเพลง
ก็เริ่มฟังเพลงจากม้วนเทปผ่านวิทยุเทปธรรมดาๆ บ้าง ซาวด์อะเบาท์บ้าง ต่อมา เมื่อเริ่มมีแผ่น CD ออกมาก็มาใช้มินิคอมโป ซึ่งให้เสียงที่ดีกว่ามาก ความรู้สึกถึงเสียงที่ชัด เคลียร์ มีรายละเอียด มีพลัง ทำให้เริ่มสนใจวงการ HiFi ด้วยความคิดว่าถ้าได้ชุดเครื่องเสียงแยกชิ้นน่าจะได้เสียงที่ดีขึ้น ฟังเพลงได้ไพเราะเสนาะหูขึ้นและนี่ก็คือการเดินทางก้าวแรกสู่คำว่า "เสียงดี"
ก้าวสู้ Hi-Fi
เมื่อเข้าสู่วงการ Hi-Fi ด้วยชุดแยกชิ้นที่ใช้งบประมาณหลักหมื่นต้นๆ ก็สามารถให้
เสียงที่ทำให้ลืมมินิคอมโปไปเลย ก็เริ่มหาแผ่นที่ชอบมาฟังอย่างมีความสุข
จนมาเห็นนิตยสารเครื่องเสียงบนแผงหนังสือจึงเกิดความสนใจซื้อมาอ่าน จึงได้เจอคำแปลกๆ มากมายยากจะเข้าใจ (ในตอนนั้น) เช่น image, sound stage, ambient harmonic, dynamic ฯลฯ ไหนจะเรื่องแมทชิ่ง เรื่องเซ็ตอัพอีก อะไรจะขนาดนั้นก็แค่ฟังเพลง (ความคิดในตอนนั้น) จนได้ไปฟังตามงานเครื่องเสียง ตามร้านค้าที่ให้ ฟัง ก็รู้สึกว่าเสียงดีกว่าชุดของข้าพเจ้ามาก จึงคิดว่าแพงกว่าย่อมดีกว่าเป็นธรรมดา
ก็อัพเครื่องเปลี่ยนรุ่นอะไรไปตามประสามือใหม่ เสียงก็ดีขึ้นเป็นลำดับ
จนถึงจุดหนึ่งเริ่มจะรู้สึกว่าเสียงไม่ได้ดีขึ้นชัดเจนเท่าไหร่ ไม่ได้แปรผันไปตามราคาค่าตัว ก็ได้แต่ถามตัวเองว่า เพราะอะไร? ด้วยความสงสัยใคร่รู้จึงกลับไปสนใจเรื่องแมทชิ่ง เรื่องเซ็ตอัพ ห้องฟัง อคูสติก ระบบไฟฟ้า ได้ลองทำตามกำลังความสามารถจึงได้รู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีผลกับคุณภาพของเสียงมากกว่าเอาเครื่องราคาสูงมาวาง เสียบปลั๊ก เปิดเพลงฟังโดยไม่ได้จัดการอะไรเลยเป็นไหนๆ
เมื่อทุกอย่างลงตัวในระดับหนึ่ง ข้าพเจ้าก็เริ่มเข้าใจคำแปลกๆ ในตอนแรกมากขึ้น (image, sound stage, ambient, harmonic, dynamic ฯลฯ) ได้รู้ว่าเสียงดีจริงๆ เป็นยังไง ที่ผ่านมาที่ว่าดีก็แค่ดุลเสียงที่ชอบเท่านั้น ไม่ได้ลงลึกถึงองค์ประกอบและรายละเอียดของเสียง
สำหรับข้าพเจ้าขอเรียงลำดับความสำคัญของการเล่นสู่ "เสียงดี" ดังนี้
1. ห้องฟังที่ดี
ในทรรศนะข้าพเจ้า ห้องฟังที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ห้องฟังที่ดีสามารถยกระดับคุณภาพเสียงของชุดเครื่องเสียงชุดเดิมได้มากมาย เมื่อเทียบกับห้องที่ไม่ดี หากเปรียบเทียบชุดเครื่องเสียงเป็นรถยนต์ ห้องฟังก็เปรียบดังถนน หากเพื่อนนักเล่นมีรถชุปเปอร์คาร์ก็ย่อมต้องการวิ่งบนถนนที่ราบเรียบ โค้งมี Slope รับสวยๆ ให้รถได้แสดงสมรรถนะออกมาได้เต็มที่ แม้มันจะสามารถวิ่งบนถนนที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อได้ก็จริง แต่มันไม่สามารถแสดงสมรรถนะออกมาอย่างที่ควรจะเป็นได้แน่นอน... ถ้าเพื่อนนักเล่นมีงบซื้อรถชุปเปอร์คาร์ราคาหลัก 10 ล้าน แต่ต้องมาวิ่งบนคันนา หรือทางลูกรังหลังเขา ก็สู้ซื้อรถราคา 2 ล้านมาขับบนถนนลาดยางจะมีความสุขกว่า ลองจินตนาการถึงห้องที่ก้องจนแค่พูดกันก็ยังฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วเอาเครื่องเสียง มาเปิดจะเสียงดีได้อย่างไร ห้องฟังที่ดีประกอบไปด้วย
1.1 สัดส่วนดี
ถ้าเพื่อนนักเล่นมีห้องที่สัดส่วนดี ก็ถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว ปัญหาที่ต้องปรับปรุง แก้ไขจะน้อย สัดส่วนที่ดีก็คือมีความสูงไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร ความยาวเท่ากับความกว้างคูณด้วย 1.5 เช่นห้องกว้าง 3.5 x 1.5 = 5.25 เมตร ขนาดห้องสวยๆ โดยมากก็ จะประมาณ 3.5 x 5 เมตร หรือ 4 x 6 เมตร เป็นต้น
ขนาดที่ไม่ดีก็คือความกว้าง - ยาว หารกันลงตัว เช่น 3 x 6 เมตร 4 x 8 เมตร
หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น 3 x 3, 4 x 4, 5 x 5 เมตรเป็นต้น
ทำไมถึงไม่ดี ?
เนื่องจาก ขนาดดังกล่าวจะเกิดความถี่กำธรเดียวกันทั้งจากด้านกว้าง ด้านยาว และอาจรวมด้านสูงด้วย
เราสามารถหาความถี่กำธรได้ด้วยสูตร F1 = 1130/2L
F1 = ความถี่กำธรแรก
1,130 = ความเร็วเสียงในอากาศ (หน่วยเป็นฟุต)
L2 = ความยาวหรือความกว้างหรือความสูงห้อง (หน่วยเป็นฟุต)
ตัวอย่างแรกห้องขนาดไม่ดี 4 x 4 x 2.4 เมตร
ความถี่กำธร ความกว้าง ความยาว ความสูง
F1 42 42 70
F2 84 84 140
F3 126 126 210
F4 168 126 280
F5 210 210 350
จะสังเกตุเห็นว่าความถี่กำธรด้านกว้างและยาวจะเกิดขึ้นที่ความถี่เดียวกัน และ F5 ของด้านกว้างและยาวยังไปตรงกับ F3 ของด้านสูงอีกด้วย ซึ่งความถี่ดังกล่าวจะโด่งออกมามาก ทำให้เบสผิดเพี้ยน บวมคราง ขาดความชัดเจน dynamicหุบ ไม่สามารถรับรู้ถึงเบสลึกๆ ได้ บดบังกลางแหลม
ตัวอย่างที่สองของห้องสัดส่วนดีที่ขนาด 4 x 6 x 2.8 เมตร
ความถี่กำธร ความกว้าง ความยาว ความสูง
F1 42 28 60
F2 84 56 120
F3 126 84 180
F4 168 112 240
F5 210 140 300
F6 252 168
จะสังเกตุเห็นได้ว่า ความถี่กำธรจะเกลี่ยกระจายออกไปได้ดีกว่า แม้จะมีความถี่ที่ ตรงกันที่ F2 ,F4 ของด้านกว้าง กับ F3, F6 ของด้านยาวก็ตาม
เรื่องห้องยังไม่จบแค่นี้ ส่วนยังจะมีอะไรอีกนั้นข้าพเจ้าจะขอเล่าในตอนหน้าครับ
>>>>>อ่านต่อตอนหน้าครับ>>>>>
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย