8 พ.ย. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
รวมเทคนิคการสอบสวนของตำรวจ เขามีวิธีการเค้นข้อมูลและความลับกันอย่างไร
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ตำรวจใช้เทคนิคในการสอบสวนหลายวิธีเพื่อให้ได้คำสารภาพจากผู้ต้องสงสัย มันไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกกรณี ดังนั้นตำรวจจึงต้องมีการใช้วิธีการสอบสวนหลายวิธีร่วมกัน และนี่คือวิธีการสอบสวนที่ถูกใช้งานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วโลก
1. Mr. Big เทคนิคมิสเตอร์บิ๊กหรือเรียกว่าเทคนิคแคนาดาเพราะถูกพัฒนาโดยตำรวจแคนาดาเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1990 เป็นเทคนิคที่ใช้เวลาเป็นอย่างมากและมักจะถูกใช้เป็นเทคนิคท้ายๆ กับผู้ต้องสงสัยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือและตำรวจมั่นใจว่าเขามีความผิด
เมื่อตำรวจทราบว่าผู้ต้องสงสัยที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือหรือรับสารภาพนั้นอยู่ที่ใด ก็จะมีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบมาตีสนิทผู้ต้องสงสัยและชักชวนไปทำ “งาน” บางอย่างในองค์กรหนึ่งๆ โดยงานจะเริ่มต้นจากงานเล็กๆ ที่ไม่ผิดกฎหมาย จากนั้นก็จะเริ่มเป็นงานอย่างการลักทรัพย์หรืออาชญากรรมอื่นๆ และเจ้าหน้าที่ก็จะพยายามสอบถามถึงรายละเอียดถึงอาชญากรรมที่ต้องการจะสอบสวน
123RF
เจ้าหน้าที่ที่มาตีสนิทคนแรกเมื่อทำความคุ้นเคยและทำงานร่วมกันหลายครั้งจะนำพาผู้ต้องสงสัยไปพบบอสขององค์กร ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลอมตัวมาเช่นกัน โดยเจ้าหน้าที่รายแรกจะกล่าวถึงอาชญากรรมที่เป็นที่สงสัยและต้องการสืบสวนที่ได้ทำมาก่อนหน้าและให้ผู้ต้องสงสัยสารภาพกับบอส โดยปกติแล้วผู้ต้องสงสัยก็มักจะปฏิเสธ แต่เมื่อบอสยืนกรานที่จะต้องรู้ประวัติต่างๆ ของผู้ที่จะมาทำงานด้วยทั้งหมด ผู้ต้องสงสัยจึงจำเป็นต้องเล่ารายละเอียดนั้นทั้งหมดเพราะกลัวว่าจะไม่ได้ทำงานอีก และเมื่อรายละเอียดทั้งหมดถูกเปิดเผยเขาก็จะถูกจับกุม
2. Good Cop, Bad Cop หรือตำรวจดีตำรวจเลวเป็นเทคนิคที่หลายคนคุ้นเคย เป็นวิธีทางจิตวิทยาในการสอบสวนโดยจะมีผู้สอบสวนสองกลุ่มที่ประพฤติตัวต่อผู้ถูกสอบสวนแตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งจะใช้ถ้อยคำด่าทอ กล่าวหา ว่าร้ายและสร้างความบาดหมาง เกลียดชังระหว่างกัน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าอกเข้าใจผู้ต้องหาและผูกมิตรเพื่อทำให้ผู้ต้องหาเชื่อใจและยอมบอกความลับหรือรายละเอียดต่างๆ แต่ถ้าผู้ต้องหารู้ว่ากำลังถูกหลอก ก็อาจจะไม่มีการเปิดปากใดๆ อีกเลย
3. Reid Technique หรือเทคนิคเรดเป็นหนึ่งในเทคนิคการสอบสวนพื้นฐานของตำรวจ เทคนิคนี้มีความยาวและซับซ้อนรวมถึงมีการใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ ด้วย การสอบสวนเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่จะบอกผู้ต้องสงสัยว่าหลักฐานนั้นชี้ถึงความผิดของเขา แต่อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ก็จะบอกว่าเขายังไม่โทษผู้ต้องสงสัยในอาชญากรรมนี้
เจ้าหน้าที่จะซักถามผู้ต้องสงสัยด้วยการสนทนาด้านเดียวโดยมักจะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้ซักถาม ผู้ต้องสงสัยไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยระหว่างการสนทนาเพราะเขามักจะปฏิเสธข้อกล่าวหาโดยเฉพาะถ้าผู้ต้องสงสัยกระทำความผิด
WIKIPEDIA CC SANDSTEIN
เทคนิคนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากมันอาจจะนำไปสู่การสารภาพโดยที่ไม่ได้กระทำความผิด โดยเฉพาะอาจเกิดกับเด็ก, เยาวชน, ผู้พูดภาษาที่สองที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาและกับผู้ที่ขาดความสามารถในการสื่อสาร ทำให้ตำรวจหลายที่เลิกใช้วิธีนี้ในการสืบสวน
4. ผู้สอบสวนจะถามคำถามมากมายในระหว่างการสอบสวน โดยในคำถามต่างๆ เหล่านั้นจะมีคำถามประเภทที่เรียกว่าคำถามชี้นำ คำถามชี้นำนี้จะนำผู้ต้องสงสัยต้องตอบคำถามที่มีความเฉพาะเจาะจง และผู้ถามจะต้องเลือกคำถามและใช้คำพูดอย่างระมัดระวัง
หรืออีกเทคนิคที่คล้ายๆ กันก็คือใช้ถามนู่นถามนี่ไปเรื่อยๆ แม้ว่าสิ่งที่ถามนั้นจะไม่ใช่เรื่องจริง เช่น การถามว่า “เมื่อคืนขับรถหนีออกไปตอนกี่โมง? คำถามนี้เป็นการบอกว่าผู้ต้องสงสัยนั้นขับรถหลบหนีแม้ความจริงจะไม่ได้ทำแบบนั้นก็ตาม หรือถามคำถามที่มีคำตอบแบบ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” หรือถามคำถามแบบที่สามารถเลือกตอบแบบปรนัยแต่มีการจำกัดคำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนได้
5. ตำรวจไม่จำเป็นต้องทำการจับกุมก่อนที่จะสอบปากคำเสมอไป เขาสามารถสอบสวนอย่างไม่เป็นทางการที่เรียกว่าการสัมภาษณ์ภาคสนาม มันคือการสอบปากคำนอกสถานีตำรวจ มันไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
6. มีการสอบสวนเชิงสังเกต เจ้าหน้าที่สอบสวนจะถามผู้ต้องสงสัยหลายคำถามไปเรื่อยๆ พร้อมกับสังเกตภาษากายไปด้วยอย่างใกล้ชิด เจ้าหน้าที่จะพยายามหาความผิดปกติ ความประหม่าและการโกหก
1
WIKIPEDIA CC NESNAD
7. ในการสอบสวนเจ้าหน้าที่พยายามใช้ทุกวิธีเพื่อให้ผู้ต้องสงสารสารภาพ ซึ่งวิธีเหล่านั้นรวมถึงการ “โกหก” ด้วย เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจอาจอ้างว่า เขามีภาพวีดีโอจากกล้องวงจรปิด, มีลายนิ้วมือ, มีพยานที่ยอมมาให้ปากคำแล้ว หรือแม้กระทั่งโกหกว่าผู้ร่วมก่อเหตุอีกคนนั้นยอมสารภาพแล้ว
8. การสัมภาษณ์ในบางครั้งพยานหรือเหยื่ออาจจะให้ข้อมูลที่ผิดๆ โดยไม่ตั้งใจเนื่องจากเกิดความสับสนต่างๆ นาๆ ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการสัมภาษณ์ที่เรียกว่า Cognitive Interview
แทนที่ตำรวจจะยิงคำถามลงไปเลยว่าเกิดอะไรขึ้น เขาจะถามคำถามอื่นๆ เพื่อให้ผู้ตอบสามารถระลึกถึงเหตุการณ์นั้นได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เช่น อากาศในวันนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เป็นการถามที่ค่อยเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ และอาจดูไร้ประโยชน์ ก่อนจะค่อยๆ ถามถึงสิ่งที่มีรายละเอียดมากขึ้นเช่น ได้ยินอะไรบ้าง เห็นอะไรบ้าง หรือทำอะไรอยู่ในเหตุการณ์นั้น
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา