Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่ารัฐฉาน ล้านนา ล้านช้างและสยามประเทศ
•
ติดตาม
8 พ.ย. 2020 เวลา 21:17 • ประวัติศาสตร์
ตำนานสะพานรถไฟกลับหัว
สะพานรถไฟบ้านปางต้นผึ้ง อ.เมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์
สะพานนี้ได้รับการซ่อมแซมเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลังฝ่ายพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดเส้นทางรถไฟ สะพานที่คาดว่าญี่ปุ่นใช้ลำเลียงอาวุธ เพื่อไม่ให้เป็นที่สังเกตุ หากโครงสร้างอยู่ด้านบนสามารถสังเกตุเห็นได้ง่ายจากเครื่องบิน จึงทำโครงสร้างไว้ด้านล่าง ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม เมื่อมองจากทางอากาศจะเห็นเหมือนทางรถไฟทั่วไป ไม่เห็นเป็นสะพาน
ปัจจุบันสะพานนี้ยังใช้งานอยู่ สถานีรถไฟปางต้นผึ้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้อยู่
บ้านปางต้นผึ้ง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 4 หมู่บ้านท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์...ไม่มาไม่รู้ ยังมีอุโมงค์รถไฟ "ปางตูบขอบ" ซึ่งเป็นอุโมงค์แรกของเส้นทางรถไฟสายเหนือ กรุงเทพ-เชียงใหม่
ประวัติการสร้างทางรถไฟสายเหนือ
จากอุตรดิตถ์มุ่งสู่แพร่และลำปางขึ้นเหนือนั้น จะเป็นการเปลี่ยนภูมิประเทศของการเดินทางโดยสิ้นเชิง นับแต่บริเวณบ้านปางต้นผึ้ง และเขาพลึงเป็นต้นไป การเดินรถไฟจะต้องผ่านพื้นที่สูงและลาดชันของภูเขาโดยตลอด สำหรับรถไฟสายเหนือทุกสาย เมื่อมาถึงสถานีอุตรดิตถ์ยุคแรกๆ จำเป็นต้องหยุดเพื่อเติมน้ำเติมฟืน หรือปลดขบวนให้มีจำนวนน้อยลง ในทางขาล่องก็เช่นเดียวกัน สถานีอุตรดิตถ์จึงเป็นสถานีใหญ่สถานีสำคัญ จนต่อมาภายหลังได้ขยายตัวไปที่สถานีศิลาอาสน์ (ทำให้ตัวจังหวัดอุตรดิตถ์มีสถานีรถไฟถึง 2 สถานีด้วยกัน) ในช่วงของการบุกเบิกวางรางรถไฟสายเหนือตั้งแต่อุตรดิตถ์ขึ้นไปถือว่าเป็นช่วงที่วิบากเป็นอย่างยิ่ง ไข้ป่าคือศัตรูสำคัญ กรรมกรสร้างทางล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ภายหลังที่การก่อสร้างเส้นทางสำเร็จ จึงให้มีการรวบรวมอัฐิบรรจุของผู้เสียชีวิตไว้เป็นอนุสรณ์สถาน ปัจจุบันตั้งอยู่ริมทางรถไฟหน้าวัดดอยท่าเสา ต.ท่าเสา อ.เมืองอุตรดิตถ์
@jakarat
ที่มา แฟนเพจอุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง
บันทึก
7
4
7
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย