10 พ.ย. 2020 เวลา 08:44 • ประวัติศาสตร์
“โซลอน ผู้วางรากฐานกำเนิดประชาธิปไตย”
สรุป Postcast กำเนิดประชาธิปไตย ตอนที่ 1
โดยหมอเอ้ว นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา
เรียบเรียงโดย แอดมินฮันนี่
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
1 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เริ่มต้นครั้งแรกที่นครรัฐเอเธนส์ เมื่อประมาณ 2,000 กว่าปีมาแล้ว
2 ระบอบการปกครองของนครรัฐกรีกต่าง ๆ เริ่มแรกจะมีลักษณะที่คล้ายกันคือ มีลักษณะการปกครองแบบกษัตริย์ แต่ในเวลาต่อมา อาจจะด้วยความที่กษัตริย์ไม่สามารถดึงอำนาจไว้ที่ตัวคนเดียวได้ ก็เลยทำให้อำนาจค่อย ๆ ถูกแบ่งไปให้คนอื่น จนกลายเป็นการปกครองโดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชนหรือ Aristocrat เป็นการปกครองแบบที่เรียกว่า Oligarchy
ซึ่งการปกครองแบบด้วยคนกลุ่มน้อยเช่นนี้ นโยบายต่างๆก็มักจะเอื้อประโยชน์ให้กับชนชั้นปกครอง จนเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ชนชั้นปกครองก็รวยขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านก็ยากจนลง จนต้องขายลูก ขายภรรยา หรือขายตัวเองไปเป็นทาส เพื่อจะใช้หนี้
1
จนถึงจุดที่สังคมระส่ำระสายอย่างหนัก ก็มีชนชั้น Aristocrat บางคนในหลายๆนครรัฐฉวยโอกาสนี้ปลุกเร้าและนำมวลชน ล้มการปกครองแบบเดิม แล้วตั้งตัวขึ้นเป็น ผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุดเพียงคนเดียวที่เรียกว่า Tyrant
3
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหลายนครรัฐ จนยุคสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็น Age of Tyrant
3) เพื่อให้คงอำนาจไว้ได้นาน ๆ Tyrant ในนครรัฐต่าง ๆ จึงมีนโยบายเอาใจประชาชนด้วยการสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่น สร้างบ่อน้ำ สร้างถนน สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับบ้านเมือง
4) เอเธนส์เองก็มีปัญหา เหมือนนครรัฐอื่น แต่เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ต่างไป นั่นคือเหล่า Aristocrat แต่งตั้งชายคนหนึ่งที่เขาเชื่อว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาปัญหาต่าง ๆ ในเอเธนส์ได้
ชายคนนั้นมีชื่อว่า “โซลอน”
โซลอนเกิดมาในตระกูลของชนชั้นปกครอง แต่เป็นตระกูลที่ไม่ร่ำรวยมากนัก โซลอนจึงเติบโตมาแบบที่ต้องสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาใหม่
เขาทำอาชีพพ่อค้า เดินทางค้าขายกับนครรัฐต่าง ๆ ไปทั่ว ทำให้เขาได้มีโอกาสได้เปิดหูเปิดตา โดยเฉพาะเมื่อเดินทางค้าขายยังดินแดนที่ชื่อ Ionia ซึ่งถือเป็นแหล่งรวมนักคิด นักเขียน คนสำคัญของชาวกรีก ทำให้โซลอนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย
1
เมื่อเขากลับมาที่เอเธนส์อีกครั้ง เขาจึงกลับมาในฐานะของผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์มากคนหนึ่ง ที่ชาวเอเธนส์ทั่วไปให้การยกย่อง
5) เมื่อโซลอนได้รับเลือกให้มีตำแหน่งเหมือนผู้อำนาจสูงสุด
เขามองว่าจะแก้ปัญหาได้
เขาต้องปฏิรูป 3 ด้านด้วยกัน ก็คือ
1) ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ
2) ปฏิรูปศีลธรรม
3) ปฏิรูปการปกครอง
6) สิ่งแรกที่โซลอนทำคือ เขาหาทางปลดปล่อยชาวเอเธนส์จากการเป็นทาส และออกกฎหมายให้มีการยกเลิกหนี้ทั้งหมด และเพื่อป้องกันไม่ให้คนขายตัวเองเป็นทาสอีก เขาจึงออกกฎตามมาด้วยว่า ห้ามประชาชนชาวเอเธนส์ขายตัว ขายลูก หรือว่าขายภรรยาเป็นทาสอีกต่อไป
3
7) ในการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในเอเธนส์ โซลอนเปลี่ยนจากการเพาะปลูกธัญพืชที่ไม่เหมาะกับเอเธนส์ มาเป็นต้นมะกอก ซึ่งทนสภาพดินของเอเธนส์ได้ดีกว่า
1
และยังส่งเสริมให้มีการส่งออกน้ำมันมะกอกไปขายยังดินแดนต่างๆ
และเพื่อให้ครบวงจร เขาจึงสร้างชุนชนเครื่องปั้นดินเผาสำหรับทำภาชนะใส่น้ำมันมะกอกขึ้นมา เพราะโซลอนเห็นว่าดินที่เหนียวของเอเธนส์เหมาะจะนำมาทำเครื่องปั้นดินเผา (ฉลาดพลิกแพลงการใช้ทรัพยากรสุด ๆ ไปเลย
ตบมือรัว ๆ ให้อีกจ้ะ) และจ้างช่างฝีมือจากเมืองที่ได้ชื่อว่าว่าทำเครื่องปั้นดินเผาได้ดีและสวยงามที่สุด ให้มาสอนที่ชุมชนนี้ จนในที่สุดเอเธนส์ก็กลายเป็นอีกเมืองที่โด่งดังเรื่องเครื่องปั้นดินเผากับเขาเช่นกัน
8) โซลอนพัฒนาเอเธนส์ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการค้าขายและสร้างเงินเหรียญที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้คนต่างเมือง อยากใช้เงินเหรียญของเอเธนส์ในการซื้อขาย เงินเหรียญของเอเธสน์กลายเป็นสกุลเงินสากลที่คนนิยมใช้ซื้อขายระหว่างชาวกรีกด้วยกัน
1
9) เมื่อเอเธนส์กลายเป็นศูนย์กลางการค้า คนเก่งๆก็อยากย้ายมาอยู่เอเธนส์เพื่อทำการค้า เมื่อคนเก่งมาอยู่ใกล้กัน ก็แข่งกันบ้าง เรียนรู้จากกันบ้าง ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย
10) การปฏิรูปที่สำคัญของโซลอน อย่างหนึ่งคือ การแบ่งประชาชนออกเป็นระดับต่าง ๆ 4 ระดับความรายได้ในแต่ละปี
 
โดยชนชั้นแรกเป็นชนชั้นของคนที่รวยที่สุด มีชื่อเรียกว่า เพนทะโคซิโอเมดิมนอยด์ (Pentakosiomedimnoid)
กลุ่มที่ 2 เป็นชนชั้นที่รวยรองลงมา มีชื่อเรียกว่า ฮิปเปยส์ (Hippeis)
ชนชั้นที่ 3 เป็นชนชั้นที่รวยถัดลงมาอีกหน่อย มีชื่อเรียกว่า ซอยกิเต (Zeugitae)
.
สำหรับชนชั้นที่ 2 และชนชั้นที่ 3 จะมีสิทธิ์นั่งตำแหน่งบริหารของเมืองได้
ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
.
แต่สำหรับชนชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชนชั้นที่จนที่สุดมีชื่อว่า ธีเตส (Thetes) ก็คือเป็นพวกชาวนาทั้งหลาย ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง คนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะนั่งตำแหน่งปกครองใด ๆ ทั้งสิ้น
1
แต่ยังมีสิทธิ์ทางการเมืองอยู่คือสามารถที่จะเข้าร่วมการประชุมได้ การประชุมที่มีชื่อเรียกว่า Assembly มีสิทธิ์ที่จะออกเสียงในที่ประชุมว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับหัวข้อต่าง ๆ ประเด็นต่าง ๆ มีสิทธิ์เห็นชอบ/ไม่เห็นชอบกฎหมายต่าง ๆ ที่จะออกได้
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ประชาชนทั้งหมดสามารถเข้าถึงการเมืองได้
โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับก่อนหน้า ซึ่งประชาชนธรรมดาไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองใดๆเลย ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สนใจการเมืองเพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
แต่หลังการปฏิรูปของโซลอน มันทำให้คนอยากไต่เต้าทางสังคม อยากรวยขึ้น เพราะแม้แต่ชาวบ้านที่ยากจน ถ้าทำงานจนร่ำรวยขึ้น ก็จะได้รับอำนาจทางการเมืองตามมาด้วย
11) การปฏิรูปที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งของโซลอนก็คือ การออกกฎให้คนทั่วไปสามารถที่จะฟ้องร้องกันเองได้ ฟ้องชนชั้นปกครองได้ และไม่ใช่แค่ทำได้ โซลอนยังสนับสนุนให้คนฟ้องร้องกันเยอะ ๆ เพราะเขามองว่า เป็นการทำให้ประชาชนรู้จักอำนาจของตัวเอง
เป็นอำนาจที่ประชาชนสามารถตรวจสอบความถูกต้องของสังคม ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ของรัฐได้
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
และนี่ก็คือจุดเริ่มต้น ที่สุดท้ายจะนำไปสู่การเกิดการปกครองแบบประชาธิปไตย
แม้ว่าโซลอนจะไม่ได้ทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยตรง
แต่เขาก็มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานเอาไว้
แต่เรื่องราวของการเกิดประชาธิปไตยไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นี้
ถ้าใครต้องการรับชม รับฟัง เวอร์ชั่นเต็มๆ ก็สามารถไปฟังต่อได้ตามลิงก์นี้ค่ะ
แต่ถ้าต้องการจะให้ฮันนี่สรุป เรื่องราวที่หมอเอ้วเล่าไว้ใน Youtube เพิ่มเติม
ก็คอมเมนต์บอกกันไว้ได้นะคะ
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีคลิปและบทความใหม่ ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่าง ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
🍯บทความโดย แอดมินฮันนี่
🐱ภาพประกอบโดย แอดมินฝ้าย
โฆษณา