11 พ.ย. 2020 เวลา 01:00 • การตลาด
11.11“วันคนโสด” (Singles Day) ของจีน ที่กลายมาเป็นวันที่มีการซื้อ-ขายสินค้ามากที่สุดในรอบปี
By: Chinatalks
จากการจัดกิจกรรมภายในของนักศึกษาของประเทศจีนประมาณในช่วงปี ค.ศ.1990 หรือ พ.ศ. 2533 ซึ่งถือเอาวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันเฉลิมฉลองเป็นวันคนโสด เปิดโอกาสให้คนไร้คู่ได้ออกมาพบปะสังสรรค์ ทำความรู้จักกัน ก่อนต่อมาจะแพร่กระจายออกไปตามสื่อออนไลน์เพราะตรงกับตัวเลขวันที่ 11 เดือน 11ก่อนที่จะกลายมาเป็นวันที่ได้รับความนิยมของกลุ่มวัยรุ่นจีนในที่สุด (ที่มา https://www.sanook.com/news/4204146/)
ด้วยตัวเลขที่เป็นเลขหนึ่งทั้งหมดทั้งวันและเดือนคือ 1111 ซึ่งในรอบปีมีเพียงวันเดียวเท่านั้นที่มีตัวเลขซ้ำกันถึง 4 ตัว ทำให้ เว็บไซต์จำหน่ายสินค้าออนไลน์ชื่อดังและรายใหญ่สุดของจีนอย่าง อาลีบาบา มองเห็นโอกาสจากการใช้ตัวเลขนี้ในการทำรายการส่งเสริมการขาย และผลที่ออกมาก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างถล่มทลาย
Alibaba 11.11 ในปี 2019 มียอดเดลิเวอรี่ทั้งหมดเกิน 1.042 พันล้านครั้ง มากกว่าจำนวนยอดเดลิเวอรี่ในปี 2018 ภายในเวลาเพียง 18 ชั่วโมง 31 นาที
ทำให้หลายค่ายที่จำหน่ายสินค้าออนไลน์กระโจนเข้ามาร่วมวงด้วยในปีต่อๆมา และก็ยังมีการใช้รายการนี้ด้วยจากการทำ Off line ซึ่งก็ได้รับความประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า กลายเป็นว่าผู้คนทั่วโลกต่างรอการจัดรายการในวันนี้อย่างใจจดใจจ่อ เพราะคาดว่าจะเป็นวันที่มีการลดราคาขายแบบพิเศษสุดๆในรอบปี
ในประเทศไทยเองก็ได้รับผลจาก 1111 นี้เช่นกัน โดยในปีที่ผ่านมาผลการตอบรับของลูกค้าผ่าน Platform Online อาทิ Shopee Lazada JD Central และอีกหลายค่าย ต่างมียอดขายแบบถล่มทะลายเช่นกัน
ข้อมูลจาก “ช้อปออนไลน์ 2563 เติบโตบนสถานการณ์ไม่ปกติ” โดย Marketeer พบว่า พบว่าในปี 2563 ธุรกิจช้อปออนไลน์มีมูลค่าที่ 220,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4-5% ของค้าปลีกทั้งประเทศ ช้อปปิ้งออนไลน์ในปี 2563 มีการเติบโต 35% จากปี 2562 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท สัดส่วน 3% ของค้าปลีกทั้งประเทศ
นอกจาก 1111 ส่งผลให้การค้าขายแบบ Online เติบโตเป็นอย่างมากแล้ว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้ที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบายของเชื้อ Covid19 ส่งผลให้ลูกค้าหันมาซื้อขายออนไลน์กันมาขึ้นอย่างมาก และรูปแบบการขายที่เติบโตขึ้นคือการไลฟ์สดขายสินค้า
เรามาดูสถิติต่างๆที่เกิดขึ้นในธุรกิจออนไลน์ของประเทศไทยกัน โดย Hootsuit (ข้อมูลจาก การตลาดวันละตอน) มีอะไรน่าสนใจกันบ้าง
71% ของคนไทยเคยซื้อของออนไลน์ผ่านมือถือ
ตัวเลขนี้สูงเป็นอันดับสองของโลก สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องขยายผลต่อนั่นก็ จะทำอย่างไรให้การซื้อสินค้าบนมือถือที่หน้าจอเล็กๆให้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงระบบหลังบ้าน อาทิ การจัดเก็บ การจัดส่ง การรับประกันหลังการขาย การตอบข้อสงสัย ฯลฯ
E-commerce ไทยโต 14% ในปีที่ 2562
Ecommerce ไทยมีสัดส่วนเพียง 2% เมื่อเทียบกับ Retail หรือออฟไลน์ นั่นคือช่องว่างหรือโอกาสขยาดใหญ่ที่ออนไลน์จะมีการเติบโตได้อีกมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน เมื่อดูจากตัวเลขของประเทศจีนที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดในโลกที่ 24% ตามมาด้วยอังกฤษ 19% โดยค่าเฉลี่ยโลกนั้นก็สูงถึง 16% เห็นได้ชัดว่าธุรกิจนี้ในประเทศไทยยังโตได้อีกไม่ต่ำกว่า 8 เท่า
คนไทยช้อปออนไลน์ข้ามประเทศสูงถึง 49%
ตัวเลขนี้ดูแล้วน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีเงินไหลออกนอกประเทศ เกือบครึ่งของการซื้อสินค้าของคนไทย แต่หากพิจารณาดูดีๆ โอกาสในสร้างยอดขายจากสินค้าในประเทศก็มีโอกาสเติบโตสูงมากเช่นกัน หากผู้ประกอบการชาวไทยเรียนรู้ละปรับตัวให้สินค้าตรงตามความต้องการของคนไทยได้
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจาก ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เผยผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 และประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทยปี 2563-2565
ระบุว่าอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ปี 2563 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20.5%
มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2561 มีมูลค่ารวม 637,676 ล้านบาท ส่วนปี 2562 มีมูลค่ารวม 647,952 ล้านบาท
เห็นตัวเลขนี้แล้วเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วน 2% ของการทำการค้าแบบ Off Line แล้วยิ่งเห็นโอกาสในการเติบโตได้อย่างมหาศาล เพียงการขายเพิ่มจากเดิมปีละเท่าตัว มูลค่าการค้าก็มากกว่าล้านล้านบาทแล้ว มองเห็นเลยว่าเป็นอีกช่องทางที่จะมาส่วงเสริมความมั่งคั่งของเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างมาก
เรามาดูกันว่าสินค้ายอดฮิตของ ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีอะไรกันบ้าง จากข้อมูลของ Marketeer, ช้อปออนไลน์ 2563 เติบโตบนสถานการณ์ไม่ปกติ 20/05/2020
ในปี 2563 จากสถานการณ์กี่ระบาดของโควิด-19 ข้อมูลเปรียบเทียบสินค้ายอดนิยมที่ผู้บริโภคค้นหา เปรียบเทียบราคาผ่านมาในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในไทย กับช่วงมีนาคม-เมษายน 2563 ช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า มีกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตด้านการค้นหากลุ่มสินค้าที่มียอดลดลงในการค้นหาอย่างเห็นได้ชัด ที่เป็นดาวรุ่งและร่วงดังนี้
 
กลุ่มดาวรุ่ง
1. สุขภาพและความงาม เติบโต 34%
2. อุปโภคบริโภคในครัวเรือน เติบโต 34%
3. หนังสือ เติบโต 27%
4. เครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโต 22%
5. คอมพิวเตอร์ เติบโต 4%
6. เฟอร์นิเจอร์ เติบโต 2%
 
กลุ่มดาวร่วง
1. รถ ยานพาหนะ ลดลง 44%
2. เสื้อผ้าและแฟชั่น ลดลง 41%
3. กีฬา สัตว์เลี้ยง เอาต์ดอร์ และของสะสม ลดลง 28%
4. โทรศัพท์ อุปกรณ์สื่อสาร ลดลง 27%
 
สำหรับกลุ่มสินค้าสุขภาพความงาม ทีมีการเติบโต 5 อันดับแรก ส่วนมากเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันจากการระบาดของโควิด-19 ได้แก่
1. หน้ากาก
2. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ เช่น ศิริบัญชา เสือดาว และเป็นคำค้นหาที่มีการเติบโตมากที่สุด
3. เครื่องวัดอุณหภูมิ
4. เจลล้างมือ
5. สมุนไพรฟ้าทะลายโจร
หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า 5 อันดับแรกในการค้นหาได้แก่
1. เครื่องกรองอากาศ
2. เครื่องดูดฝุ่น เช่น เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย Xiaomi Deerma และเป็นหมวดคำค้นหาที่มีการเติบโตสูงสุด
3. เครื่องซักผ้า
4. ตู้เย็น
5. หม้อและกระทะไฟฟ้า เช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน
 
หมวด อุปโภคบริโภค 5 คำค้นหายอดนิยมได้แก่
1. น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เดทตอล
2. ทิชชู่เปียก
3. กุนเชียง
4. ข้าว
5. สุรา
นี่คือการรวบรวมสถิติคร่าวของการมำธุรกรรมบนออนไลน์ของประเทศไทยจากแหล่งต่างๆ ซึ่งสถิติเหล่านี้เห็นได้ชัดถึงการเติบโตแบบก้าวกระโดด ที่มาจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จนทำให้คนไทยเริ่มคุ้นเคยการซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้นเรื่อยๆ การนำเสนอขายสินค้าผ่านช่องทางนี้ของผู้ประกอบการต่างๆ จึงเป็นช่องทางที่ทั้งมีประสิทธิภาพและโอกาส รวมถึงการสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา