11 พ.ย. 2020 เวลา 11:08 • การเมือง
ทำไมวัยรุ่นถึงคุยกับผู้ใหญ่ไม่รู้เรื่อง
โดยเฉพาะสถานการณ์ปัจจุบัน ภาค2/2
หลังจากที่ได้พูดถึงลักษณะพื้นฐานของโลกออนไลน์ที่มีผลทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างผู้ใหญ่และเด็กในแง่ความคิดที่ห่างไปกันเรื่อย ๆ จากเนื้อหาบทความที่แล้วนั้น
รายละเอียดตามลิ้งค์ : https://www.blockdit.com/articles/5f92b31c5c8bc80cc80d306b
ในส่วนนี้ จะกล่าวถึงความเนื้อหาเกี่ยวกับ -ช่องว่างระหว่างวัย หรือ Generation Gap- ที่มีผลกระทบทำให้เด็กและผู้ใหญ่คุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง จากสถานการณ์ที่ครุกกรุ่นอยู่ในปัจจุบัน
ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายน 2488 เกิดสภาวะอดอยาก และความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ ส่งผลต่อวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรื่อยมา
หากเทียบเคียงง่าย ๆ กลุ่มคนที่เกิดในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีอายุขัยประมาณ 60 -70 ปีในปัจจุบัน ซึ่งนั่นก็คือกลุมคนรุ่นพ่อแม่ หรือกลุ่มปู่ย่าตายายของเราในปัจจุบัน แต่การเกิดในช่วงหลังสงครามส่งผลต่อระบบคิดอย่างไร ? ประเด็นนี้เป็นส่วนสำคัญ
ผู้ใหญ่ช่วงอายุ 60 คือกลุ่มคน baby boomer การใช้ชีวิตท่ามการความลำบากใช้จากความพังทลายของสงครามที่สร้างไว้ ผู้คนต้องไฝ่หาความมั่นคงทางเศษฐกิจ การใช้ชีวิต เพื่อชดเชยความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากสภาวะหลังสงคราม
รูปแบบการทำงาน จึงให้ความสำคัญกับความมั่นคงเป็นหลัก เช่น การทำงานบนระบบราชการที่มั่นคง รัฐวิสาหกิจที่สามารถดูแลเราได้ไปตลอดชีวิต จึงไม่แปลกที่ผู้ใหญ่กลุ่มนึ่งให้ความสำคัญกับความมั่นคง ความสงบเป็นที่ตั้ง
ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างจากวิธีคิดของเด็ก GenY และ GenZ ในปัจจุบัน ที่กำลังเริ่มเคลื่อนตัวเองเข้าสู่ระบบตลาดแรงงาน เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เรียกร้องหรือต้องการความมั่นคงในรูปแบบที่ผู้ใหญ่มี แต่เค้าเรียกร้องอะไร ? และเพราะอะไร ?
1
กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ เติบโตมากับความพร้อมในระดับหนึ่งที่พ่อแม่วางรากฐานทางเศรษฐกิจของครอบครัวไว้ให้ เด็กจึงไม่มีสำนึกของความมั่นคงแบบที่ผู้ใหญ่มี แต่เด็กไฝ่หาอิสระภาพ ความเป็นปัจเจก การเป็นอิสระจากกรอบที่ความมั่นคงกำหนดเอาไว้
ฉะนั้น ในสถานะการปัจจุบันมุมมองที่เราถกเถียงกัน คือ -คนละมุมมอง- ผู้ใหญ่จะให้ความสำคัญกับความสงบ ปลอดภัย ปราศจากม็อบ ความอยู่เย็นเป็นสุข จึงไปด้วยกันได้ดีกับฝ่ายปกครองที่เข็มแข็ง เด็ดขาดแบบระบบของทหาร
แต่แตกต่างไปกับกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ ที่ไฝ่หาอิสระ คุณค่าที่เค้ายึดถือจึงเป็นลักษณะที่เอนเอียงไปทาง -เสรีนิยม- อิสระในการใช้ชีวิต การเปิดกว้างอย่างสร้างสรรค์ จึงไปได้ดีกับการเรียกร้องสิทธิที่เริ่มต้นจากความรู้สึกของตนเองที่คิดว่าไม่เป็นธรรม
จากทั้ง 2 มุมมอง แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลือกฝั่งใดฝั่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ในโลกแห่งความหลากหลายนี้ โดยไม่พิจารณาความสำคัญของอีกฝั่ง
จึงไม่แปลกอะไรที่กลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่จะคุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะรากฐานและบริบทการเติบโตที่ส่งผลกระทบถึงวิธีคิดที่แตกต่างกัน
ดังนั้น เมื่อเข้าใจมุมมองของแต่ละฝ่าย น่าจะพอช่วยให้การพูดคุย เป็นไปได้ราบรื่นขึ้น อย่างน้อย ๆ ผมก็หวังไว้แบบนั้น
#แค่อยากจะเล่าให้คุณฟัง
วันนี้ก็ประมาณนี้คับ
pic: freepik
อ้างอิง/แนวคิด
generation gap
โฆษณา