12 พ.ย. 2020 เวลา 10:04 • ประวัติศาสตร์
สรุป เรื่องราวของ “ไคลส์ธินีส ชายผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตย” ใน 6 ข้อ (อ่านจบใน 5 นาที)
1
1.
ปัจจุบันเราถือว่านครรัฐเอเธนส์เป็นบ้านเกิดของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งการเกิดขึ้นมาของการปกครองนี้ก็ใช้เวลานานและมีคนสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายคนด้วยกัน หนึ่งในคนที่เราคุยกันในบทความที่แล้วคือ โซลอน (Solon) ผู้ที่ได้ชื่อว่าวางรากฐานให้กับประชาธิปไตย
แต่คนที่ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของ การปกครองแบบประชาธิปไตย (ของเอเธนส์) คือ ชายที่มีชื่อว่า ไคลส์ธินีส (Cleisthenes)
1
2.
1
หลังจากที่โซลอนก้าวลงจากตำแหน่งผู้ปกครองรัฐได้ไม่นาน เอเธนส์ก็เข้าสู่ความวุ่นวายอีกครั้ง สิ่งต่าง ๆ ที่โซลอนปฏิรูปไว้ก็ถูกละเลย แล้วเอเธนส์ก็กลับเข้าสู่ยุคสมัยที่ ชนชั้นผู้นำกลับมาแย่งชิงอำนาจกันอีกครั้ง จนเกิดเป็นยุคที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสามก๊ก ช่วงเวลานี้มีชายคนหนึ่งที่ชื่อ ไพซิสทราตัส (Pisistratus) สามารถตั้งตัวขึ้นมามีอำนาจเหนือคนอื่นแล้วปกครองเอเธนส์แบบเผด็จการได้สำเร็จ จากนั้นเขาก็ส่งอำนาจต่อให้ลูกชายสองคนปกครองแบบเผด็จการต่อ
2
แต่สุดท้ายชาวเอเธนส์ก็ทนการกดขี่ไม่ไหว จึงไปขอความช่วยเหลือจากนครรัฐสปาร์ตาแล้วลุกฮือขึ้นมาขับไล่ผู้นำเผด็จการที่ชื่อ ฮิปเปียส (Hippias) ออกจากเอเธนส์
2
แล้วแพทเทิร์นเดิมๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง
เมื่อเผด็จการถูกโค่นลงได้
ก็เกิดสูญญากาศทางอำนาจขึ้น
จากนั้นกลุ่มคนที่เคยร่วมมือกันโค่นเผด็จการก็หันมาแย่งชิงอำนาจกันเองเพื่อจะขึ้นเป็นเผด็จการเสียเอง
3.
สุดท้ายก็เป็นประชาชนชาวเอเธนส์อีกครั้ง ที่ร่วมมือกับขับไล่ผู้นำเผด็จการออก แล้วแต่งตั้งผู้ชายที่พวกเขาเชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองให้กับเอเธนส์ได้
ชายผู้นี้มีชื่อว่า ไคลส์ธินีส
แม้ว่าไคลส์ธินีส จะมาจากการแต่งตั้งและมีอำนาจไม่ต่างไปจากเผด็จการคนอื่นๆ ก่อนหน้า แต่สิ่งที่ต่างไปอย่างมากคือ เผด็จการก่อนหน้าทั้งหมด ถูกแต่งตั้งจากชนชั้น aristocrat หรือชนชั้นปกครองซึ่งเป็นคนส่วนน้อย
1
แต่ไคลส์ธินีส ได้รับการเลือกและแต่งตั้งมาจาก ชนชั้นที่ในอดีตไม่เคยมีสิทธิ์มีเสียงทางการเมืองมาก่อนเลยแม้แต่น้อยแม้ว่าจะเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม
ไคลส์ธินีส เป็นผู้นำที่ “ประชาชน” ของเอเธนส์แต่งตั้งขึ้นมา
4.
เมื่อไคลส์ธินีสขึ้นมามีอำนาจ เขาก็ทำสิ่งที่เขาเคยให้สัญญามาโดยตลอด นั่นก็คือ ถ้ามีโอกาสเขาจะปฎิรูประบบการปกครองและให้อำนาจกับประชาชนมากขึ้น
แต่โจทย์ที่ยากคือ การปกครองที่อำนาจอยู่ในมือประชาชนมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร?
ไม่มีใครเคยเห็นการปกครองแบบนั้นมาก่อน
1
ไม่มีใครรู้ว่าประชาชนที่ไม่มีความรู้จะปกครองตัวเองได้จริงหรือเปล่า
ไคลส์ธีนีสจึงต้อง สร้างระบอบการปกครองขึ้นมาใหม่
5.
การปฏิรูปที่ไคลส์ธินีสทำ มีรายละเอียดเล็กน้อยที่เยอะมาก แต่ในภาพใหญ่คือ เขาสลายอำนาจท้องถิ่นของชนชั้นปกครองเดิมลง แล้วทำให้ประชาชนรู้สึกถึงความเป็นชาวเอเธนส์ร่วมกันมากขึ้น ความรู้สึกที่เคยเป็น 3 ก๊ก ของชาวเอเธนส์จึงสลายไป
จากนั้นก็แบ่งการปกครองใหม่ โดยให้ตัวแทนจากแต่ละภูมิภาค (ซึ่งเคยเป็นคนละก๊ก)ได้มีโอกาสมาทำงานร่วมกันในกลุ่มที่เรียกว่า tribes โดยคนแต่ละ tribes จะมีการประชุมร่วมกัน และออกรบร่วมกัน ทำให้เกิดความกลมเกลียวระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่คนละภูมิภาคมากขึ้น
คนในแต่ละ tribes ยังมีสิทธิ์ออกเสียงเพื่อเลือกผู้นำกองทัพ และตัวแทนที่จะไปทำงานบริหารนครรัฐ หรือพูดง่ายๆว่า เขาเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตัวแทนที่จะไปทำงานปกครอง ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกผู้นำทหาร
ในภาพใหญ่ การปกครองที่เขาคิดขึ้นนี้จึงเป็นการปกครองที่กระจายอำนาจลงไปสู่ประชาชนอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก
6.
ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าทำไม แต่หลังจากปฏิรูปเสร็จ
ชื่อของไคลส์ธีนีสก็หายไปจากประวัติศาสตร์ของเอเธนส์
เขาแทบจะไม่ถูกพูดถึงอีก
เราไม่รู้ว่าเขาเสียชีวิต ก้าวลงจากอำนาจ
หรือหมดบทบาทสำคัญ
ชาวเอเธนส์เหมือจะไม่ให้ความสำคัญกับเขามากนัก ไม่มีการเขียนถึง ไม่มีการสร้างอนุสาวรีย์ระลึกถึง
1
อย่างไรก็ตามเพราะการปฏิรูปของเขาที่ให้อำนาจแก่ประชาชนอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ปัจจุบันนี้เมื่อเรามองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์
เราจึงนิยมยกย่องให้ ไคลส์ธีนีส เป็นบิดาของ การปกครองแบบประชาธิปไตย
2
ก็จบแล้วนะครับ สำหรับการสรุปประเด็นสำคัญจาก podcast ที่เล่าถึง บิดาของประชาธิปไตยอย่าง ไคลส์ธินีส แบบสั้นๆ
ก็หวังว่าจะช่วยให้พอเห็นภาพมากขึ้นนะครับว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยที่เราใช้กันอยู่นี มีเรื่องราวมายังไง
ถ้าใครสนใจจะฟังเวอร์ชั่นเต็มที่มีรายละเอียดมากกว่านี้ ก็สามารถไปตามฟังกันต่อได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ
แล้วถ้าใครไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีคลิปและบทความใหม่ ๆ
สามารถ Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่าง ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
🐱ภาพประกอบโดย แอดมินฝ้าย
โฆษณา