14 พ.ย. 2020 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
15 มีนาคม : วันสยอง...ของสองผู้นำ
“ระวัง วันไอเดส เดือนมีนาคม”
(Beware the Ides of March)--บทละคร จูเลียส ซีซาร์, องก์ 1, ฉาก 2
ประโยคอมตะในบทละครของเช็กสเปียร์ข้างต้น ทำให้เราทราบว่า วัน
Ides of March หรือวันที่ 15 เดือนมีนาคม นั้น มีความสำคัญต่อชีวิตของ
จูเลียส ซีซาร์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น ผู้ใช้อำนาจเผด็จการตลอดชีพ ในช่วงปลายสมัยสาธารณรัฐโรมัน
ถ้าเชื่อตามตำนาน ก็แสดงว่ามีคนเตือนซีซาร์ถึงแผนการของกลุ่มวุฒิสมาชิกที่ไม่พอใจการบริหารงานของเขา
แม้ซีซาร์จะประสบความสำเร็จและกุมอำนาจทางทหารจนท้าทายอำนาจของสภา
ด้วยการยกกำลังข้ามแม่น้ำรูบิคอนอันเป็นเสมือนการเปิดหน้าสู้กับกลุ่มผู้มีอิทธิพล
ในกรุงโรม จนทำให้เกิดสงครามกลางเมืองตามมาและท้ายที่สุด ซีซาร์ก็กลายเป็น
ฝ่ายชนะ เขามีฐานะอำนาจและอิทธิพลโดยไร้คู่แข่ง
1
จากั้น ซีซาร์ก็เริ่มโครงการปฏิรูปสังคมและรัฐบาล รวมทั้งการสถาปนาปฏิทินจูเลียน (ซึ่งเป็นเครื่องมือในการปฏิรูประบบการเก็บภาษีและระบบข่าวสารของรัฐบาล) เขารวมระบบข้าราชการประจำของสาธารณรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางและสุดท้ายก็ได้เป็น
'ผู้เผด็จการตลอดชีพ' ทำให้เขายิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองยังก่อตัวอยู่เหมือนคลื่นใต้น้ำ ในที่สุด กลุ่มวุฒิสมาชิกนำโดย มาร์กุส ยูนิอุส บรูตุส,ผู้ลูก (Marcus Junius Brutus) ผู้เป็นคนสนิทและลูกศิษย์ของซีซาร์ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นเจ้าของนามสุดท้ายที่ซีซาร์เอ่ยออกมาจากปากว่า
Et tu Brute! (เจ้าเองหรือ บรูตุส!) ระหว่างถูกกลุ่มวุฒิสมาชิกลอบสังหารจนเสียชีวิตในสภากรุงโรม ในวันที่ 15 มีนาคม ปี 44 ก่อนคริสต์ศักราช
เหตุการณ์การเสียชีวิตของซีซาร์ เป็นที่มาการล่มสลายของรัฐบาลสาธารณรัฐอันมีรัฐธรรมนูญซึ่งไม่เคยถูกฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกันออกตาวิอุส (Octavius)
ทายาทบุญธรรมของซีซาร์ ซึ่งเมื่อพิชิตศัตรูในสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นหลัง
เหตุการณ์มรณกรรมของซีซาร์แล้ว ก็ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า จักรพรรดิเอา
กุสตุส (Augustus) เมื่อปี 27 ก่อนคริสต์ศักราช อันเป็นจุดเริ่มของสมัยจักรวรรดิ
โรมัน
นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังถือกันว่าเป็น 'แผนการลับ' หรือ 'การสมคบคิด'
(consipracy) ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อีกด้วย
แต่ใครไปคิดว่าอีกกว่า 19 ศตวรรษต่อมา วันที่ 15 มีนาคม ก็ยังเป็นวันที่สั่นสะเทือนบัลลังก์ราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองรัสเซียมานับศตวรรษ
เรากำลังพูดถึง สมเด็จพระจักรพรรดิ (ซาร์) นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (Tsar Nicolas II of Russia) ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1894 แต่หลังจากความวุ่นวายทั้งทางการเมือง การสงครามภายในและภายนอกประเทศกว่า 2
ทศวรรษ จุดท้ายที่สุดการชุมนุมครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นจากการขาดแคลนขนมปัง รวมถึงความไม่พอใจท่ามกลางชาวรัสเซียต่อความพ่ายแพ้ ตลอดจนการสูญเสียชีวิตทหารและพลเรือนนับล้านคนในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
4
พระองค์จนถูกคณะปฏิวัติบอลเชวิกบังคับให้สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ.1917 จากนั้นทรงถูกจำคุกที่พระราชวังพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ก่อนจะ
ย้ายไปที่จวนผู้ว่าราชการในโตบอลสค์ (Tobolsk) สุดท้ายที่บ้านอีปาตีฟในเยคา
เตรินบุร์ก (Ekaterinburg) อันเป็นที่ที่ถูกปลงพระชนม์อย่างทารุณ พร้อมด้วย
พระอัครมเหสี พระราชธิดา พระราชโอรสและข้าราชบริพารใกล้ชิดอีกจำนวนหนึ่ง
ภายในห้องเดียวกันเมื่อคืนวันที่ 16 ต่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1918
วันไอเดส เดือนมีนาคม จึงเป็นวันที่ต้อง 'ระวัง' เป็นสองเท่า ด้วยเหตุนี้
หมายเหตุเพิ่มเติม
ตามปฏิทินโรมัน วัน Ides (อ่านว่า อิเดส) จะตรงกับวันที่ 15 ในเดือนมีนาคม
พฤษภาคม กรกฎาคมและตุลาคม ส่วนเดือนอื่นที่เหลือ วัน Ides จะตรงกับวันที่ 13
ของเดือนนั้น ๆ
เรื่อง : ชัยจักร ทวยุทธานนท์
ภาพประกอบ : ชุติมณฑน์ ปทาน
อ้างอิง
Farquhar, M. (2015). Bad Days in History. Washinton, D.C.: National Geographic.
Sass, E. and Wiegand, S. (2009). The Mental Floss : History of the World. NY: Harper.
โฆษณา