13 พ.ย. 2020 เวลา 09:52 • ธุรกิจ
พรีเซนต์อย่างไรให้ถูกใจผู้บริหารระดับสูง: สรุปบทความจาก Harvard Business Review
การพรีเซนต์ผู้บริหารระดับสูงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในคราวเดียวกัน ที่ต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะเล่าและความชำนาญในการอ่านใจของผู้บริหาร
บทความจาก Havard Business Review โดย Grant T.Harris CEO ของ Connect Frontier ซึ่งเคยทำงานในทำเนียบขาว และ Brief เรื่องราวต่างๆ ให้ประธานาธิบดีสหรัฐ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงมากมายแทบทุกวัน ได้แชร์เคล็ดลับในการพรีเซนต์ให้ถูกใจผู้บริหารระดับสูงไว้ดังนี้ครับ
ก่อนเข้าไปในห้อง brief
1. หา”คนสำคัญ”ให้เจอ
“คนสำคัญ” นี้คือคนหรือกลุ่มคนที่ CEO หรือ ผู้บริหารให้การ trust, ยอมรับ และถามความเห็น
ถ้าคนนี้ไม่เห็นด้วย ก็ยากที่จะ convince ถ้าเป็นไปได้ ไปหา”คนสำคัญ” ให้เจอ และ convince ล่วงหน้าไว้ก่อนเลย อย่างน้อยถ้า “คนสำคัญ” ไม่เห็นด้วยกับเรา จะได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้ก่อน
2. รู้ใจผู้บริหาร
รู้ใจเจ้านายให้ได้ ว่า body language หรือ sign แบบไหน ที่บอกว่าเห็นด้วย ให้เราผ่านตรงนี้ไปเร็วๆ หรือให้เราลง detail ลึกหน่อยเรื่องนี้
ถ้าไม่รู้ ก็ให้ปรึกษาคนที่รู้จะได้รับมือได้ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง negative signal ที่รู้ว่า เริ่มอารมณ์ไม่ดีแล้ว
3. รับมือผู้บริหารให้ถูกวิธี
เปรียบได้กับการตีโต้เทนนิส บางคนกลัวการถูก challenge มากเกิน ก็กลายเป็น yes man ส่วนบางคนที่สู้แหลก defend อย่างเดียว ก็กลายเป็น closed mind + หัวหน้าไม่ชอบ
ถ้าอยากได้ respect จากหัวหน้า เราก็ต้องตีโต้ให้ถูก มีทั้ง yes และ push back บ้างโดย ต้องมั่นใจในจุดยืนของตัวเอง
ทั้งนี้จะทำได้ สิ่งสำคัญ ก็ต้องรู้จังหวะและ style ของผู้บริหาร ดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 ด้วย
4. รับมือกับผลลัพธ์ และหาทางหนีทีไล่
อย่าไปคิดว่าการไป brief ผู้บริหารมีผลลัพธ์แค่สองอย่างคือผ่านกับไม่ผ่าน แต่ให้มั่นใจในจุดยืนว่าเราต้องการไปนำเสนออะไร พร้อมแผนสำรองทั้งกรณีที่ผ่านและไม่ผ่าน
ถ้าโชคดี ผ่าน ก็อาจหา idea อื่นๆไว้ต่อยอด หรือหาทางทำให้งานที่ได้รับการ approve ทำได้เร็วขึ้น
ถ้าโชคไม่ดี ไม่ผ่าน ก็หาทางถอยมาก้าวหนึ่งเพื่อมี option อื่นๆ ดังที่ในบทความใช้คำว่า หา limited victory ดีกว่า complete failure
ระหว่าง Brief
1. อ่าน(ใจ)ผู้ฟัง ไม่ใช่อ่านโพยที่เตรียมมา
ดู body language และ sign ต่างๆ จะได้พร้อมรับมือ ปรับเปรียบแนวทางการพรีเซนต์ได้อย่างทันท่วงที ถ้าเป็นไปได้ ให้หาคนช่วยจด note ให้แทน
2. อย่าหลุด focus ในงานของเรา
ระหว่าง brief ล้วนเต็มไปด้วยความกดดัน ทั้งเวลา อารมณ์ และเหตุไม่คาดคิด ต้องพยายามอย่าให้เรื่องของเราหลุด focus
ถ้าการสนทนาเริ่มหลุดประเด็น ให้หาทางกลับมา อย่ายกประเด็นที่ไม่เกี่ยวหรือ detail เกินไปที่จะทำให้หลุดประเด็น ก่อนที่ใจความสำคัญของเราจะถูกกล่าวถึง
3. ฝึกปรือการ”เงียบ”
หลังเสนอไอเดียไปเสร็จแล้ว ผู้บริหารบางคนอาจคิดออกมาเสียงดัง หรือต้องการฟังความคิดเห็นคนอื่น เพื่อการ discussion ต้องปล่อยให้ความคิดในห้องลื่นไหลไปบ้าง นอกจากว่าถ้าการสนทนากลับมาที่เรื่องของเรา ก็ต้องมีจังหวะจะโคนในการกลับเข้าไปอย่างพอดี
ในบทความแนะนำว่า “Not speaking at the wrong time is just as important as saying the right thing at the right time”
เตรียมรับมือสิ่งที่ไม่คาดคิดให้ดี รวมไปถึงเตรียมตัวให้พร้อม เช่นไปรู้อารมณ์ของหัวหน้าก่อนที่จะมาคุยกับเรา จะช่วยให้เราสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าเราจะ brief ให้กับผู้นำระดับสูง CEO หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดีก็ตามครับ
โฆษณา