18 พ.ย. 2020 เวลา 09:08 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
TAIWAN DOCUMENTARY FILM FESTIVEL IN THAILAND 2020
จบไปอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับเทศกาลสารคดีหนังไต้หวัน 2020 หรือ #taiwandff2020 หลังจากได้เริ่มฉายที่กรุงเทพและต่างจังหวัด ในปีนี้แม้จะมีวิกฤตการณ์ที่สร้างความลำบากมากมาย แต่กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน, สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (TECO Thailand), Taiwan Film Institute, Taiwan Docs ร่วมกับ Movies Matter, Documentary Club, Untitled for Film, Lorem Ipsum Space, a.e.y. space, Bookhemian, TCDC Khon Kaen, House Samyan และ Lido Connect ก็ยังสามารถสรรค์สร้างเทศกาลภาพยนตร์สารคดีจากไต้หวันในประเทศไทยซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่สามให้สำเร็จขึ้นมาได้
แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ได้รับความนิยมและเป็นกระแส อีกทั้งยังมีอีกหลายเรื่องที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน น่าเสียดายที่ไม่ได้ชมทุกเรื่อง แต่สำหรับเพจเราได้มีโอกาสรับชมไป 4 เรื่องคือ Unnamed , In This Land We’re Briefly Ghosts , My trips และ The sculpture
*มีสปอยโปรดระมัดระวัง*
เริ่มต้นด้วยที่ "Unnamed" (未命名) เป็นหนังสั้นฟิกชัน ที่กำกับโดย จางจวินหยู, หงเต๋อกาว เรื่องราวว่าด้วยจางหย่าถิงอยากเปลี่ยนชื่อเพราะฟังดูเป็นผู้หญิงเกินไป เธอจึงไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนสนิทอย่าง หงเจียฮ่าว ที่กำลังอยากจบความสัมพันธ์กับคู่นอนของเขา ทั้งสองถกกันถึงอัตลักษณ์และความรักของตน
หนังเริ่มต้นด้วยฉากที่พ่อสอน จางหย่าถิง ขับรถ มันเริ่มต้นด้วยความเรียบง่ายแบบนั้นเลย เราชอบความเรียบง่ายแบบนี้ สักพักดนตรีประกอบก็ดังขึ้นมา แบบเออไต้หวันฉิบหายเลย 55555555555555555555555 ในเนื้อเรื่องมันก็ว่าด้วย จางหย่าถิง หญิงสาวที่อยากจะเปลี่ยนชื่อของตัวเองเพราะชื่อเป็นผู้หญิงมากเกินไป แต่ก็โดนพ่อห้าม แถมยังมีปัญหาทะเลาะกับเพื่อนสนิทอีก ที่ชื่อว่า หงเจียฮ่าว
มีอยู่ซีนหนึ่งที่พ่อไปไหว้ปู่ที่ศาล แล้วจางหย่าถิงก็ไปด้วยแล้วก็ไปนั่งภาวนาถึงปู่บอกอยากเปลี่ยนชื่อ แล้วก็โยนเหรียญแต่พ่อเก็บไปหมด จนเธอถอดรองเท้าแล้วก็โยนเป็นเสี่ยงทาย
ซึ่งในหนังเรื่องนี้มันเอาปัญหาที่อยากจะเปลี่ยนชื่อของจางหย่าถิงมาเป็นตัวเชื่อมของความสัมพันธ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตัวเธอเอง มันทำให้เราเห็นว่า ชื่อ มันเหมือนเป็นกรอบที่มากดความเป็นตัวของจางหย่าถิงไว้ มันไม่สามารถแสดงตัวตนที่แท้จริงของเธอได้ ซึ่งเราสัมผัสได้ว่าเธอรู้สึกเจ็บปวด และอึดอัดแค่ไหน ที่ต้องมาอยู่ในกรอบนี้ กรอบที่พ่อเธอกำหนด กรอบที่เพื่อนของเธอมอง กรอบของสังคมที่กำลังมองเธออยู่
ซึ่งเราจะเห็นความสับสน ความไม่เข้าใจตัวเองอยู่ตลอดเวลาในสีหน้าและแววตาของหย่าถิงที่จริงๆแล้วเธอเองก็ยังไม่ค่อยเข้าใจตัวเองสักเท่าไหร่ ซึ่งหนังเรื่องนี้แอบทำให้เรานึกถึงเรื่อง lady bird ที่ตัวนางเอกก็ไม่ค่อยชอบอะไรที่พ่อแม่หรือสังคมนี้พยายามให้สักเท่าไหร่
สุดท้ายหนังนี้ได้ให้อะไรกับเราเหมือนกันนะ ในเชิงที่ว่าเราอาจจะไม่ได้ทุกอย่างที่เราต้องการ แต่เราสามารถเป็นตัวเองในแบบที่เราจะเป็นได้ เหมือนกับว่าในความไม่เป็นตัวเรามันก็ยังเป็นเราอยู่
มาต่อด้วยเรื่อง “In This Land We’re Briefly Ghosts” ทหารเด็กสองคนหนีการสู้รบบริเวณชายแดนไทย-พม่า (หนังฟิกชัน) ถูกกำกับโดย Chen-Wen Lo สำหรับเรื่องนี้ได้คะแนน IMDb ไปทั้งหมด 6.9 คะแนน
เรื่องนี้บอกเลยว่าทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง สุสานหิ่งห้อย มันมีความหดหู่อยู่ในระดับเดียวกันเลย คือมากถึงมากที่สุด มันถ่ายทอดให้เราเห็นถึงสองพี่น้องที่เป็นทหารเด็กที่พยายามหนีจากการสู้รบ ที่บริเวณไทย พม่า
ในหนังเรื่องนี้ได้ใช้ตั๊กแตน เป็นสัญญะของการมีอยู่และดับไป ในหนังพยายามที่จะเล่าเรื่องออกมาให้ผสมผสานกันอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นซีนที่พี่น้องกำลังทรมาณและซีนที่น้องได้อยู่ในทุ่งหญ้าและในมือมีตั๊กแตนอยู่ ซึ่งมันแบบ เออ ผสมผสานกันออกมาได้เป็นอย่างดี เราชอบมาก
มีซีนหนึ่งที่เราชอบมากคือ ตอนสุดท้ายเลยก่อนจบที่มีทหารเปิดประตูเข้ามาลากเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงออกไป แล้วทหารก็ปิดประตูใส่เรา ทิ้งเรานั่งเคว้งกับความรู้สึกทั้งหมดอยู่ในคอก แบบอะไรวะเนี่ย ใจร้ายชิบเป๋ง
มีไดอะล็อกอยู่ส่วนหนึ่งที่เราทึ่งและรู้สึกอินไปกับมันมาก คือพี่น้องทั้งคู่ทรมาณถึงขั้นที่ว่า “ถ้าพี่และฉัน ตายก็จะได้กลายเป็นผีใช่ไหม ผีก็สามารถเดินทะลุประตูได้ พี่เป็นอะไรไป ทำไมนอนกำมือแน่นแล้วตาเบิกโพลงแบบนั้น จริงๆแล้วเราไม่น่าเกิดมาเลย”
เนื้อหาในไดอาล็อกนี้ก็จะประมาณนี้ จำไม่ได้แทบทั้งหมด แต่มันจุกไปหมด เด็กสองคนที่รู้สึกว่าไม่น่าเกิดมาเลยนี่มันต้องขนาดไหนอะ แล้วคือเรามองว่าเขาอยากตายจะได้กลายเป็นผี เพราะจะได้ไปที่ไหนก็ได้ มีชีวิตหลังความตายอย่างอิสรเสรีภาพ ซึ่งแบบมันดีจริงๆแหละเรื่องนี้
สำหรับเรื่อง “My Little Trip” เด็กชายวางแผนสานสัมพันธ์พ่อแม่ที่ไม่ลงรอยกันทางการเมืองในวันเลือกตั้ง (หนังฟิกชัน)
หนังเรื่องนี้มันเล่าเรื่องการเมืองและครอบครัว ในมุมมองของเด็กคนนึงที่แบบไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่าการทำให้ครอบครัวกลับมาดีเหมือนเดิมเลย เรามองว่าหนังเรื่องพยายามจะสื่อให้เห็นว่าการเมืองมัน ส่งผลต่อครอบครัวยังไง และเด็กคิดยังไงกับการเมืองและครอบครัว
มันเริ่มตั้งแต่ตอนเปิดตัวเลยที่ว่าเด็กถูกทิ้งไว้ที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง เคยมาแจ้งหลายรอบแล้ว แต่ก็ยังหลงอีก นี่เราเห็นได้แล้วว่าพ่อแม่ไม่ได้มีเวลาให้ลูกจริงๆ พอเดินออกมาก็เจอกลุ่มประท้วงยืนเถียงกันอีก เด็กคนนี้ก็ได้เห็นสภาพสังคมด้านนอก ก็เจอคนเถียงกัน พอกลับบ้าน ก็เห็นพ่อกับแม่ทะเลาะกันอีก เขาทำให้เราเห็นว่าเด็กคนนี้ได้เจอแต่ความรุนแรงเต็มไปหมด รุนแรงในแง่ของความคิดและเขาไม่เข้าใจ
เราจะได้เห็นว่าวิธีการที่เด็กคนนึงมันอยากจะ ประนีประนอมครอบครัวมันทำยังไงในแบบของเด็กคนนึง ส่วนตัวชอบนะ เรื่องนี้ ถือว่าเป็นการเปรียบเปรยถึงเรื่องการเมืองในครอบครัวและความขัดแย้งของความสัมพันธ์อันชิดใกล้ได้ดีมากๆอีกหนึ่งเรื่อง
ดังนั้นจึงมาถึงเรื่องสุดท้าย ที่ยังอยู่โหมดของการสะท้อนการเมือง “The Sculpture” ว่าด้วยการตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของประติมากรรมแอฟริกันในพิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสและสำรวจว่าลัทธิอาณานิคมได้ทำลายศิลปะวัฒนธรรมในประเทศที่ตกเป็นเมืองขึ้นอย่างไร ผู้กำกับคือ Musquiqui Chihying
เรื่องนี้ทำให้เรานึกประเทศที่เราไม่เคยจับคู่มันมาก่อนคือ จีนและแอฟริกา ซึ่งถูกด้วยเรื่องราวของศิลปะ ประติมากรรม เล่าเรื่องด้วยการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่าย east และ south ที่พยายามอธิบายสิ่งดีๆให้แก่ตัวเอง
ซึ่งมีการแอบจิกกัดตลอดเวลา มีอยู่ส่วนนึงที่เราค่อนข้างชอบมาก ที่เขาบอกว่า "เออเป็นคนจีนก็ดีเนาะ ได้มีพื้นที่ชมศิลปะของแอฟริกาแบบเต็มรูปแบบเลย ได้สัมผัสความเป็นแอฟริกันแบบของแท้ โดยที่ไม่ต้องบินไปที่แอฟริกาเลย"
เราแบบจุกมาก ขนาดไม่ใช่คนจีนเองนะเนี่ย นั่นแหละ
แต่ตัวสารคดีเรื่องนี้มันตั้งคำถามได้ดีมากเลย อะไรที่เราไม่เคยคิดเราได้คิด อะไรที่เรายังสงสัยมันก็พยายามตอบเราได้ดีมาก
สำหรับเทศกาลสารคดีหนังไต้หวันก็จะเห็นได้ว่าเน้นเป็นเร่ื่องการสะท้อนสังคม สะท้อนตัวตนของผู้ทำหนังให้เราเห็น เราเรียนรู้ และเข้าใจมันได้ผ่านหนังพวกนี้ แอบเสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสดูครบทุกเรื่อง หวังว่าปีหน้าจะได้ดูแบบเต็มๆทุกเรื่อง
ใครที่มีหนังแนวนี้แนะนำหรือสารคดีที่ชอบก็มาคุยกันได้ หรือจะมาช่วยกันแชร์ความรู้สึกจากที่ได้ดูหนังในเทศกาลหนังไต้หวันนี้ ก็เต็มที่ได้เลยยยย
โฆษณา