18 พ.ย. 2020 เวลา 13:08 • ความคิดเห็น
"แม่ง.. อยากลาออกว่ะ"
.
เท่าที่จำได้
เราเริ่มพูดประโยคนี้ครั้งแรกตอนมัธยมปลาย
ตอนนั้นเราทำงานวิชาเรียนหลายวิชาจนแทบไม่ได้พัก
เรียน 8-9 คาบ ต่อวัน ต่อด้วยเรียนพิเศษตอนเย็น
.
ดังนั้นพอเรากลับมาบ้าน เราจะละทิ้งทุกอย่าง ไม่อ่าน ไม่เปิด ไม่แตะหนังสือ ขอแค่ได้นอนโง่ ๆ บนเตียงแล้วเปิดเพลงเบา ๆ ให้หลับสัก 2-3 ชั่วโมงก็พอใจแล้ว พลางในหัวก็เอาแต่คิดว่า แม่งเอ้ย..​อยากลาออกจากมัธยม อยากเรียนมหาลัยแล้ว สบายจังวะ เรียนวันละไม่กี่คาบเอง งานก็ไม่น่าเยอะ
.
และใช่.. เราพูดประโยคนี้อีกหลายต่อหลายครั้งในช่วงชีวิตการเรียนมหาวิทยาลัย แต่เราก็สถบคำนี้ออกมาแค่ช่วงที่งานหนัก งานรุมเร้า โปรเจคไม่ผ่าน หรืองานกลุ่มเยอะ จนมาถึงวัยทำงาน คำนี้ก็ยังคงปรากฎอยู่ในความคิดเรา จนกระทั่ง มันถูกกระทำตามรูปแบบของประโยคจริง ๆ
"ใช่..​เราลาออก"
.
เราได้ลองกลับมาคิดทบทวนว่าทำไม คำ ๆ นี้ถึงได้ถูกฝังอยู่ในหัวเรา และมักจะปรากฎออกมาเฉพาะเวลาที่เราทำงานหนัก เหนื่อย เครียด ไร้สิ้นกำลังใจ ซึ่งบางครั้งเราสามารถกลบคำนี้ให้หายไปด้วยการหันไปสนใจอย่างอื่นแทน แต่มันก็ไม่เคยหายไปอย่างถาวร
.
เราอยากทำมาตลอดใช่ไหม ไอ่การลาออกน่ะ งั้นก็ลาออกมันซะเลยสิ!
พอคิดได้แบบนั้น ความอดทนที่สะสมมาทั้งหมด มันก็สลายหายไป เหลือเพียงแต่ความว่างเปล่า
.
ฉันลาออกจากงานประจำแล้ว แล้วฉันจะทำอะไร? ฉันไม่ได้มีเงินทองมากมายกองรอให้ใช่ซะหน่อย แต่ฉันกลับไม่เสียใจเลยที่ลาออก เพราะฉันได้ทำสำเร็จแล้ว กับสิ่งที่ฝังอยู่ในหัวของฉันมานานเกือบ 10 ปี และฉันได้เรียนรู้ ว่าการลาออกในครั้งนี้ สำหรับฉัน มันคือการเริ่มต้นใหม่ เพื่อหาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิตอีกครั้ง มันคือแรงผลักดันในชีวิต มันคือการให้เวลากับตัวเองมากขึ้น เพื่อทำในสิ่งที่อยากทำ
.
มันทำให้ฉันรู้ว่า แม้ฉันจะลาออกแต่ฉันก็มีเป้าหมายในแบบของฉัน
.
ซึ่งการลาออกจากงานสำหรับแต่ละคน ความหมายมันไม่เหมือนกัน บางคนคือความผิดพลาด บางคนคือความเสียใจ บางคนคือความหลุดพ้น หรือสำหรับบางคนคือการได้กลับไปพักผ่อน ..
.
แล้วเธอล่ะ เคยอยากลาออกเหมือนกันบ้างไหม?
โฆษณา