19 พ.ย. 2020 เวลา 04:37 • ธุรกิจ
10 อย่างที่ผมเรียนรู้ในปี 2020 กับการทำธุรกิจ SME และเรื่อง Human Resources
2
1. การสื่อสารทั้งข่าวร้ายและข่าวดีอย่างต่อเนื่องเป็นผลดีต่อจิตใจของพนักงาน ถึงแม้ในระยะสั้นทีมไม่อยากฟัง แต่ระยะกลางและยาวเขาสามารถปรับตัวและเตรียมการสำหรับแผนชีวิตตัวเองได้
2. การเริ่มเช่าพื้นที่ grade A office และตกแต่งมันช่างง่ายกว่าตอนที่ต้องปิดออฟฟิศและคืนพื้นที่ ค่าใช่จ่ายในการคืนพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการยึด deposit, ซ่อมแซมระบบให้ตึกจนกว่า landlord จะยอมให้ส่งมอบ รวมไปถึงการข้อร้องเรื่องการลดค่าเช่า ต้องเสียน้ำตากับการง้อตึกเพื่อเก็บ cash flow ไว้เพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงาน เรื่องพวกนี้เป็นอะไรที่เจ็บแล้วจำ
3. ความไม่เท่าเทียมของ financial access ที่ SME ไม่สามารถขอ soft loans ได้ถ้าไม่ใช่เป็นลูกค้าแบงค์อยู่แล้ว ส่วนกิจการที่ใหญ่และร่ำรวยอยู่แล้วสามารถขอกู้ในดอกเบี้ยที่ตำ่ได้ และเป็นโอกาสในการขยายกิจการต่อในขณะที่ SME ไม่สามารถ compete ต่อได้ใน resource ที่ limited
4. วิกฤติบ่งบอกว่าพนักงานของเราแต่ละคนเป็นยังไง จากดีกลายเป็นเลว หรือคนที่เด็กที่สุดกลับทุ่มสุดชีวิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดได้
5. บางที leadership ไม่สามารถสร้างในตัวบุคคลได้ ถึงแม้ว่าจะทุ่มเงินให้ training & development ขนาดไหนก็ตาม ไม่ได้อยากโลกสวย ความเป็นจริงคือต้องรู้ว่าจะ spend เวลากับใครที่สามารถ groom ขึ้นมาได้จริงๆ
6. ความแตกต่างของ mindset ของเจ้าของ และลูกจ้างแตกต่างโดยสิ้นเชิง เพราะ entrepreneur ทำทุกอย่างเพื่อให้บริษัทอยู่รอด โดยการหาความรู้ตลอดเวลา ตัดสินใจในการแก้ปัญหาเพื้อการอยู่รอดในระยะส้ันและยาว รับผิดชอบชีวิตพนักงาน หารายได้เพื่อมาจ่ายเงินเดือนพนักงาน ทำให้ความรู้และความสามารถเพิ่มพูนขึ้นเร็วกว่าพนักงานที่ไม่ต้องแบกภาระ และบางทีเอาเปรียบ กินเงินเดือนไปวันๆ แต่ไม่เคยคิดจะพัฒนาตัวเองให้เติบโตต่อไปได้ การมี option และย้ายงานได้เมื่อเจอปัญหา ทำให้เสียโอกาสในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง
7. เจ้าของหรือหัวหน้าต้องยอมรับว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง ต้องให้โอกาสพนักงานในการโชว์ฝีมือ ส่วนถ้าเราได้เปิดโอกาส job opportunities ไปให้พนักงานแล้ว แต่เขาไม่สามารถ deliver ได้ อย่าหวังลมๆแร้งๆว่าเดี๋ยวมันจะดีขึ้น ปัญหาคือถ้าเราไม่ถนัดและไม่มีเวลาลงไปดูเอง เราควร outsource งานนี้ให้คนที่เป็น expert ทำไปเลย
8. ในวันนี้ technology ไปเร็วกว่าความรู้ที่เราเพิ่มให้ตัวเอง คนที่ไม่ขวนขวายจะตกรถขบวน หลายๆองค์กรในวันนี้ต้องพยายามสร้างธุรกิจใหม่ๆ ทำสิ่งใหม่เพื่อความอยู่รอด แต่บางทีเรื่องพวกนี้พนักงานไม่เข้าใจว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงไมทำไม ต้องใช้ effort ในการอธิบาย ถ้าผู้บริหารสื่อสารดี แรง resistance ก็น้อยลงและจะได้ความร่วมมือแต่ว่า ถ้าพนักงานไม่ได้รู้ว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงไปเร็วขนาดไหน และไม่ใช่คนที่ขวนขวาย มันก็เหมือนบริษัทพยายามตบมือข้างเดียว นอกจากต้องทำสิ่งใหม่ๆแล้วยังต้องแบกสิ่งเก่าๆ จะไปต่อก็ไม่เร็ว จะหยุดก็ไม่ได้ เป็นชีวิตที่ต้องวิ่งต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีวันที่ได้พักผ่อนหรือหยุดคิด
9. หน้าเศร้าที่กฏหมายแรงงานประเทศไทยปกป้องพนักงานมากเกินไป ทำให้การไล่คนออกต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อยข้างสูง ทั้งๆที่พนักงานเองไม่ perform แต้ใช้ช่องทางทางกฏหมายที่เอื้ออำนวยในการเป็นภาระให้เพื่อนร่วมงาน พนักงานเองก็เลือกที่จะไม่ต้องพัฒนาตัวเองอะไรมากหรอก เพราะมีกฏหมายคุ้มครอง อยากให้ออกเหรอ? ก็จ่ายมา การที่ต้องจ่ายชดเชยค่อนข้างหนัก กลายเป็นว่าองค์กรต้องอยู่กับพนักงานเดิมๆที่มีทัศนคติเชิงลบ เพราะไม่อยากเสียค่าใช้จ่าย ส่วนคนใหม่ๆไฟแรงๆมาเจอ culture แบบหนืดๆ จะขยับหรือทำอะไรที่ productive ก็ไม่ได้ แล้วเราถามว่าทำไมเด็กๆ millennials ถึงเปลี่ยนงานบ่อย!? หรือไม่อยากทำ corporate แล้ว? นี่แหละครับคือเหตุผล
10. สุดท้ายแล้วทุกอย่างที่แชร์ทั้ง 10 ข้อ มันก็คือความผิดพลาดของผมเองในการเรียนรู้จากการเป็น SME ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน หรือการไล่คนออก ถ้าเรามี performance management ที่ดี มี training & development ที่เป็น standard หรือเคยผิดพลาดหรือเรียนรู้คนที่เคยทำ SME มาก่อน เราคงจะแก้ปํญหาได้เร็วและถูกจุดมากกว่านี้ อย่าลืมว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับคุณวันนี้ มันคือ choice ที่คุณเลือกเอง ไม่มีใครที่คุณควร blame นอกจากตัวคุณเอง ถ้าอยากรวย เป็นเจ้าของ ก็อย่าบ่น ถ้าอยากสบาย เป็นลูกจ้าง ก็เป็นต่อไป ไม่มีผิด ไม่มีถูก ยังไงก็ทำเต็มที่และสู้ๆนะครับ และขอให้ 10 ข้อนี้มีประโยชน์บ้างต่อผู้ประกอบการ SME ท่านอื่นๆ และให้มนุษย์เงินเดือนทุกๆท่านเข้าใจมุมมองของเจ้าของกิจการ และผู้บริหารเองก็ตาม
ถ้าชอบช่วยกด follow, comment, like, and share ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
โฆษณา