19 พ.ย. 2020 เวลา 05:07 • ประวัติศาสตร์
ลูกชาวนากับปัญหาการตากข้าวตามถนน
ผมเป็นลูกหลานชาวนาโดยกำเหนิด(แต่เกิดที่โรงบาล555) สมัยเป็นวัยละอ่อนน้อยๆอายุสัก 5-8 ขวบ บ้านไม่มีไฟฟ้า ถนนเป็นลูกรัง เสื้อผ้าก็ใส่จนขาดปะแล้วปะอีก ขนมนมเนยมีให้กินอย่างมากก็แค่ ลอดช่อง บัวลอย ไข่หวาน กล้วยฉาบ ขนมก้อน (40ปีผ่านมาตอนนี้นะหรือ ทั้งเชเว่น ทั้งทาง4เลน อาหารการกินพรั่งพร้อม ห..าตัวไหนมันว่าประเทศพัฒนาช้าหรือล้าหลัง มันช้าหรือล้าหลังตรงไหน(วะ)
อาชีพหลักของครอบครัวคือทำนาตั้งแต่เดือน 6 -เดือน 2 อาชีพเสริมคือขายขนมของหวาน โดยเฉพาะ ลอดช่องใบเตย สมัยก่อนนี้ทำนาอาศัยแรงงานครอบครัวล้วนๆเลยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขาดทุน ถ้าจะขาดก็แค่ขาดแรงงาน พอถึงฤดูเกี่ยวข้าว เกียวแล้วตากมันบนซังข้าวนั้นแหละ กว่าจะเกี่ยวหมดวัน ข้าวก็แห้งพอดี รุ่งเช้าวันใหม่ก็รีบลุกไปแต่เช้าเพื่อมัดข้าวเพราะไปสายข้าวจะแห้งมัดยาก (จะมามัวเล่นแต่มือถือแบบสมัยนี้ ตายยยย)
พอเกี่ยวเสร็จทั้งแปลง ก็มาทำลานตากข้าวเพื่อนวดข้าวกัน เริ่มต้นจากปรับพื้นที่ในแปลงนาให้ราบเสมอกัน ไปขนขี้ควายมาผสมน้ำให้เปียกๆกวนให้เหนียวพอประมาณแล้วก็ฉาบหรือละเลงไปที่พื้นดินที่เราปรับใว้ก่อนหน้านี้ พอลานตากข้าแห้งเราก็พากันไปขนฟ่อนข้าวมากองรวมกันไว้ แล้วระดมคนมาช่วนกันนวด วันนี้ลานข้า วันหน้าลานเอง สนุกสนาน สาวๆหนุ่มๆหลายคู่มีครอบครัวกันได้ก็เพราะลานนวดข้าวนี้แหละโดยไม่ต้องพึ่งพาเวปหาคู่แต่อย่างได (กรรมวิธีนี้แรกอาจมีกลิ่นบ้างแต่หลังจากนั้นก็ไม่มีกลิ่นละ จมูกปรับสภาพได้ 555) แถมวิธีการดั้งเดิมแบบนี้ ก็ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใครแม้แต่น้อย
กว่าจะเสร็จครบจบกระบวนการทำนาก็ปาเข้าไปถึงเดือนกุมพาพันธ์ ถึงจะเอาข้าวขึ้นเล้าได้
ส่วนชาวนาสมัยนี้นะเหรอ ทำนาเน้นใช้เครื่องทุ่นแรง ทำเร็วเสร็จเร็วสะดวกสบาย ปัญหาเลยมากมายจนกลายเป็นว่าชาวนาเราคือผู้ร้าย ผมเองก็เป็นลูกชาวนาแต่ไม่เห็นด้วยกับที่ชาวนาทำกันแบบทุกวันนี้ทั้ง กระบวนการทำนาตั้งแต่เริ่มแรกจนขั้นตอนสุดท้ายก็มีแต่การจ้างกับจ้าง แล้วมันจะได้อะไรหรือเหลืออะไร
คงได้แต่หนี้และก็หนี้จนเป็นที่มาของปัญหาแบบทุกๆวันนี้
เครดิตภาพ จากอินเตอร์เน็ต
โฆษณา