19 พ.ย. 2020 เวลา 11:07 • ความคิดเห็น
เก็บเงินอย่างไรให้ได้ 10 ล้านแรกในชีวิต เพื่อเกษียณได้สำราญ
วันนี้ หากใครขับรถผ่านบริเวณถนนพระราม 4
อาจมีโอกาสให้เห็นป้ายแคมเปญโฆษณาของ Blockdit
ที่ว่า “เรื่องเงินเรื่องใหญ่ เกษียณยังไงให้สำราญ”
3
เรื่องนี้ก็น่าจะเป็นประเด็นที่หลายคนกำลังวางแผน และหาไอเดียเพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะถึงจุดนั้น
หากเราเป็นหนึ่งในนั้น แล้วตอนนี้เราพร้อมขนาดไหน?
ในการทำแบบทดสอบเงินที่ต้องมีไว้ก่อนเกษียณ
รู้หรือไม่ว่า ถ้าแต่ละคนอยากใช้ชีวิตแบบที่ตัวเองต้องการ
พวกเขาจะต้องมีเงินก่อนเกษียณ เป็นหลักสิบล้านบาท
บทความนี้ลงทุนแมน จะขอเล่าถึงว่า เราจะเก็บเงินอย่างไร
ให้ได้ 10 ล้านแรกในชีวิต เพื่อให้เราจะเกษียณได้อย่างสำราญ
1
ลองมาดูตัวอย่างทางเลือกแบบเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
ทางเลือกแรก คือทำงานและเก็บเงินในธนาคาร
โดยเก็บเงิน 10,000 บาทต่อเดือนไปเรื่อยๆ ในชีวิตนี้เราจะได้เงิน 10 ล้านบาทหรือไม่?
3
คำตอบที่ได้อาจจะทำให้หลายคนแปลกใจคือ “ได้” แต่เราอาจจะต้องเริ่มเก็บเงินตั้งแต่เกิด..
ถ้าให้เราได้ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี เก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท จะใช้เวลาประมาณ 70 ปี เงินเก็บในธนาคารของเราจะเริ่มก้าวเข้าสู่ 10 ล้านแรกในชีวิต..
แล้วมีวิธีไหนที่จะทำให้ถึง 10 ล้านแรกในชีวิตได้เร็วขึ้น?
1
ไม่ว่าจะทำอย่างไร คำตอบที่ได้มีอยู่แค่ 2 ทางเท่านั้นก็คือ..
1. เพิ่มเงินเก็บของเราต่อเดือนให้มากขึ้น
2. เพิ่มผลตอบแทนของเงินเก็บเราให้มากขึ้น
4
ในเรื่องแรกการเพิ่มเงินเก็บต่อเดือน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนที่จะสร้างรายได้ คนที่มีความสามารถ คนขยัน ก็อาจจะมีโอกาสหารายได้ที่มากกว่าคนทั่วไป
1
ยกตัวอย่างถ้าเราเพิ่มการฝากเงินในธนาคาร เป็นเดือนละ 30,000 บาท เราจะลดเวลาจาก 70 ปี เป็น 27 ปี ในการแตะ 10 ล้านแรก
3
ถ้าเราเก็บเดือนละ 50,000 บาท เราจะใช้เวลา 17 ปี
ถ้าเราเก็บเดือนละ 100,000 บาท เราจะใช้เวลาเพียง 9 ปี
แต่หลายคนยังไม่รู้ว่ามีอีกทางหนึ่งที่จะช่วยเร่งสปีดให้เงินเก็บเราแตะ 10 ล้านได้เร็วขึ้น นั่นก็คือการเพิ่มผลตอบแทนของเงินเก็บเรานั่นเอง
วิธีการเพิ่มผลตอบแทนก็คือ
แทนที่เราจะนำเงินไปฝากธนาคาร ก็เปลี่ยนมาเป็นการนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ หรือ หุ้นของบริษัทต่างๆ
6
จากสถิติย้อนหลัง
ผลตอบแทนจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7% ต่อปี แต่มันก็จะมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ
5
ซึ่งถ้าเรากลัวเรื่องความผันผวนของหุ้น เราอาจจะกระจายความเสี่ยงไปหลายสินทรัพย์ และจะทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของหลายสินทรัพย์จะน้อยลง ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี
ยกตัวอย่างถ้าเราทำผลตอบแทนจากเงินเก็บได้ 5% ต่อปี โดยที่เราเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท เราจะลดเวลาจาก 70 ปี เป็น 33 ปี ในการแตะเงิน 10 ล้าน
และถ้าเราเก็บต่อเดือนมากขึ้น โดยที่เราทำผลตอบแทนมากขึ้นด้วย ก็จะเพิ่มความเร็วเป็น 2 เด้ง
ถ้าเราทำผลตอบแทนจากเงินเก็บได้ปีละ 5%
เก็บเดือนละ 30,000 บาท จะใช้เวลา 18 ปี ในการแตะเงิน 10 ล้าน
เก็บเดือนละ 50,000 บาท จะใช้เวลา 13 ปี ในการแตะเงิน 10 ล้าน
เก็บเดือนละ 100,000 บาท จะใช้เวลา 7 ปี ในการแตะเงิน 10 ล้าน
3
ตอนแรกที่เห็นหัวข้อของบทความนี้แล้วดูเหมือนยาก กว่าชีวิตนี้จะไปถึง 10 ล้าน
2
แต่พออ่านจนถึงตอนนี้ ก็น่าจะพอเห็นภาพว่าเรื่องนี้ไม่ได้ยากถึงขนาดเป็นไปไม่ได้
และจริงๆ แล้ว ก็มีหลายคนที่ก้าวข้ามผ่านจุดนั้นมาได้
แล้วทำไมคนที่ข้ามจุดนั้นจะเป็นเราบ้างไม่ได้?
แต่สุดท้าย ไม่ว่าในชีวิตเราจะทำเงินได้แตะ 10 ล้านหรือไม่
ประเด็นสำคัญคงไม่ได้อยู่ตรงนั้นอยู่ดี
ทุกคนเฝ้าหาว่าจะมีความสุขเมื่อมีเงินมากๆ จะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการในตอนเกษียณ
2
แต่จริงๆ แล้ว มีหลายอย่างที่วันนี้เราสามารถทำได้เลยแล้วเรามีความสุขทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสักบาทเดียว
3
ความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อนสนิท คนที่เรารัก สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องรอวันที่มีเงินมากแล้วถึงเริ่ม
เริ่มทันทีตั้งแต่วันนี้
8
เพราะเมื่อถึงวันนั้น วันที่เรามี 10 ล้านแรกในชีวิต
คนเหล่านั้นอาจจะไม่อยู่ให้เราใช้ชีวิตด้วยแล้วก็เป็นได้..
5
โฆษณา