19 พ.ย. 2020 เวลา 12:32 • การศึกษา
#การศึกษาของนักเรียนเดินเรือพาณิชย์
มี 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเดินเรือ และฝ่ายช่างกลเรือ
👉 #ฝ่ายเดินเรือ (Deck Department) ศึกษาเน้นหนักในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ภาษาต่างประเทศ การเดินเรือ การเรือ กฎหมายและข้อบังคับระหว่างประเทศ การบรรทุกและการจัดระวาง อุตุนิยมวิทยา ดาราศาสตร์ อุทกศาสตร์ การสื่อสารสากล การบริหารงานสังคม จิตวิทยาและหลักผู้นำ
👉 #ฝ่ายช่างกลเรือ (Engine Department) ศึกษาเน้นหนักในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ภาษาต่างประเทศ เครื่องยนต์และเครื่องจักรกลเรือ การไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือและการทรงตัวของเรือ การโรงงานและการบริหารงานสังคม จิตวิทยาและหลักผู้นำ
👉 #ความก้าวหน้าในการทำงาน
ฝ่ายเดินเรือจะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบทางด้านการนำ เรือไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย การบรรทุก ขนส่ง ขนถ่ายสินค้าครบและตรงต่อเวลา ตำ แหน่งสูงสุดคือ กัปตันเรือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 ปี บางคนก็เปลี่ยนตัวเองมาทำ งานบนบก (ท่าเรือ, สำ นักงาน ตำ แหน่งระดับผู้บริหารบ้าง)
👉 #ฝ่ายช่างกลเรือ จะทำ งานในหน้าที่รับผิดชอบทางด้านเครื่องยนต์กลไกที่ใช้ขับเคลื่อนภายในเรือทั้งหมด ให้สามารถทำ งานทำ งานได้ดีจนถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ตำ แหน่งสูงสุดคือ ต้นกลเรือ ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 ปี บางคนก็เปลี่ยนตัวเองมาทำ งานบนบก (ท่าเรือ, สำ นักงาน, อู่ต่อเรือ,อูซ่อมเรือ ตำ แหน่งระดับผู้บริหารบ้าง) การทำงานในเรือปริญญาตรีที่ได้รับ ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการกำหนดเงินเดือนและการทำงานบนเรือ ที่สำ คัญคือ ประกาศนียบัตรผู้ทำ การในเรือ (ชาวเรือเรียกว่า “ตั๋ว”) ซึ่งหลักสูตรการศึกษาที่ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีเปิดสอน เป็นหลักสูตรมาตรฐานสากลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO MODEL COURSE) ประกาศนียบัตรที่ได้รับสามารถทำ งานบนเรือได้ทุกประเทศทั่วโลก ถ้าท่านมีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์การทำ งาน มีภาษาที่สองหรือสามหรือภาษาสากลที่ดี สิ่งที่ท่านจะได้รับ คือค่าตอบแทนที่คุ้มค่าและสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ หลายเท่า ดังนั้น คู่แข่งที่แท้จริงคือ ตัวท่านเอง ที่บอกว่า สามารถทำงานได้หรือไม่ คู่แข่งรองลงมาคือ ชาวต่างชาติที่มีภาษาสากลที่ดีกว่า คู่แข่งสุดท้ายคือ คนไทยด้วยกัน
👉 #หน่วยงานที่พร้อมรับเข้าทำงาน
สภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพชาวเรือ จัดเป็นอาชีพพิเศษเฉพาะอีกอาชีพหนึ่ง ซึ่งเมื่อสำ เร็จการศึกษาหลักสูตรนักเรียนเดินเรือพาณิชย์จากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีและได้รับประกาศนียบัตรจากกรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวีแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะประกอบอาชีพในกิจการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางเรือ เช่น
#หน่วยงานราชการ (ตำ แหน่งที่รองรับมีจำ นวนจำ กัด)
#กรมการขนส่งทางนํ้าและพาณิชยนาวี
#กรมศุลกากร
#กรมประมง
#หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ (ตำ แหน่งที่รองรับมีจำ นวนจำ กัด)
#การท่าเรือแห่งประเทศไทย
#การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (ส่วนงานที่เกี่ยวกับเรือ)
#หน่วยงานบริษัทเอกชน (ตำแหน่งงานที่พร้อมรองรับมีจำ นวนมาก)
#บริษัทเรือต่าง ๆ ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศทั่วโลก (ทำงานในระดับนายประจำ เรือ)
#บริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินเรือ
#บริษัทที่เกี่ยวกับแท่นขุดเจาะนํ้ามันกลางทะเล, กิจการขุดแร่ในทะเล
#อู่ต่อเรือและอู่ซ่อมเรือ (ทำ งานในระดับนายช่างกล)
#บริษัทอะไหล่เรือ (ทำ งานในระดับวิศวกร)
👉 #รายได้และสวัสดิการ (เมื่อสำ เร็จการศึกษา)
รายได้ของคนประจำ เรือ เมื่อเทียบกับคนทำ งานบนบกที่มีความรู้เท่าเทียมกัน จะมีรายได้สูงกว่าอย่างน้อยสองถึงสามเท่า (20,000 – 40,000 บาท เมื่อเริ่มต้นทำ งานครั้งแรก) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสายการเดินเรือ โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
👉 #สายนอก หมายถึง สายการเดินเรือของบริษัทนั้นเดินทางรับส่งสินค้าต่าง ๆ ทั่วโลกไปประเทศต่าง ๆ โดยไม่แวะเข้าเทียบท่าที่ประเทศไทย เช่น เดินทางระหว่างญี่ปุ่น–อเมริกา , แอฟริกา–ตะวันออกกลาง–ยุโรป เป็นต้น สำ หรับระยะการทำ งานของแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับสัญญาครั้งแรกที่เข้าทำงานระหว่างบริษัทเรือกับพนักงาน ชาวเรือส่วนใหญ่เรียกว่า Contract (คอน–ทแร็คท) ระยะเวลาหนึ่ง Contract ไม่เท่ากัน อาจจะเป็น 6 เดือน, 8 เดือน, 12 เดือน หรือมากกว่าหนึ่งปี เมื่อหมด Contract แล้วสามารถพักผ่อนได้ประมาณ 1-2 เดือน ในช่วงพักผ่อนนี้สามารถเปลี่ยนบริษัทเรือ หรืออบรมหลักสูตรพิเศษเพื่อเพิ่มวิทยฐานะของตัวเอง หรือกลับเข้าไปทำ งานที่เดิมได้ข้อเสียของสายนอกคือ ไปทำ งานเป็นระยะเวลานาน ๆ ห่างไกลครอบครัว เมื่อหมดสัญญาหรือหมด Contract แล้วถึงจะได้กลับบ้านมาหาครอบครัว
#ข้อดีของสายนอกคือ ค่าตอบแทนสูง โอกาสสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวเร็วได้ท่องเที่ยวและพบเห็นสิ่งใหม่ ๆ ของประเทศต่าง ๆ
👉 #สายใน หมายถึง สายการเดินเรือของบริษัทนั้นเดินทางรับส่งสินค้าต่าง ๆ ไปประเทศในแถบใกล้เคียง และจะต้องแวะเข้าเทียบท่าที่ประเทศไทยอยู่เป็นประจำ เช่น ไทย–สิงคโปร์ , ไทย–ฮ่องกงเป็นต้น สำ หรับระยะการทำ งานของแต่ละคนนั้น ขึ้นอยู่กับสัญญาครั้งแรกที่เข้าทำ งานระหว่างบริษัทเรือกับพนักงาน ชาวเรือส่วนใหญ่เรียกว่า Contract เหมือนกับสายนอก
#ข้อเสียของสายในคือ ค่าตอบแทนตํ่ากว่าสายนอก
ข้อดีของสายในคือ มีโอกาสอยู่ครอบครัวมากกว่าสายนอกสำ หรับสวัสดิการของชาวเรือ มีความจำ เป็นต้องดี ทั้งนี้เพื่อชดเชยกับสภาวะการทำ งานที่ต้องจากบ้านเป็นเวลานาน ทนต่อการตรากตรำ ในทะเล และต้องพบแรงกดดันจากวัฒนธรรมต่าง ๆ ภายในเรือ ซึ่งคนทำ งานในเรือไม่ใช่มีเฉพาะคนไทย เรือลำ หนึ่งอาจต้องมีชาวเรือที่เป็นคนอินเดีย ,พม่า, ฟิลิปปินส์, จีน อื่น ๆ อีกมากมาย การกินอยู่ต่างกัน ภาษาต่างกัน ดังนั้นภาษาที่จะต้องสื่อสารในการทำ งานพื้นฐานคือภาษาอังกฤษ ดังนั้นคนเรือที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษดีย่อมมีค่าตอบแทนการทำงานดีกว่าคนที่พูดได้บ้าง เขียนได้นิดหน่อย นอกเหนือจากที่ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน
📌 #ข้อคิดก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพชาวเรือ (ฝากถึงชาวเรือทุกท่าน)
#อาชีพคนประจำ เรือหรือชาวเรือ เป็นสายงานอาชีพเฉพาะที่มีความพิเศษ สถานที่ประกอบอาชีพส่วนใหญ่ จะอยู่ห่างไกลจากสายตาคนทั่วไป ดังนั้นคนส่วนมากจึงไม่ค่อยจะมีความรู้และความเข้าใจลักษณะการทำ งานของชาวเรือ เพราะจะคุ้นเคยกับการทำ งานหรือใช้ชีวิตบนบกมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยมีความผูกพันกับครอบครัวมาก การเดินทางบ่อย ๆ แต่ละครั้งเป็นเวลานานอาจจะทำ ให้เกิดความว้าเหว่และวิตกกังวลได้ง่าย ดังนั้นผูท้ ำ งานในเรือเป็นเวลานาน ๆ จึงต้องมีความอดทนสูง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะการทำ งานในเรือมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคลื่นลมทะเล ความจำเจ วัฒนธรรมสังคมและภาษาที่หลากหลาย ระดับความรู้ความสามารถของคนประจำ เรือที่ต่างกัน ส่วนหนึ่งที่ทำ ให้วงการคนประจำ เรือยังขาดแคลนบุคลากรอยู่มากคือ เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่งก็จะผันตัวเองไปทำ งานอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ครอบครัว ค่าตอบแทนไม่มาก ทำ ให้คนประจำ เรือหรือชาวเรือยังมีความต้องการอีกมาก ถ้าไม่เลือกงานจนเกินไป ดังนั้น สิ่งที่ควรนำ มาพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพชาวเรือคือ
📌 1. การเมาคลื่น ถือเป็นเรื่องปกติสำ หรับบางคนที่ลงเรือครั้งแรก ๆ แต่ก็มีทางหายหรือคุ้นเคยได้ ถ้ามีความอดทนเพียงพอและมีกำ ลังใจในการต่อสู้เพื่อความเป็นชาวเรือ
📌 2. ภัยอันตราย การคมนาคมทางนํ้าจะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับการคมนาคมทางอื่น อันตรายแทบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่เกิดจากความประมาทเลินเล่อ ในขณะปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เพราะเรือในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีก้าวหน้าจึงทำให้มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ได้กำ หนดมาตรการต่าง ๆ มาควบคุมดูแลด้านความปลอดภัยภายใต้อนุสัญญาต่าง ๆ หลายฉบับ รวมไปถึงมาตรฐานการฝึกอบรมชาวเรือด้วย ซึ่งทั่วโลกจะใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำ ให้มีความเชื่อมั่นได้ในด้านความปลอดภัย
📌 3. ความรู้สึกว้าเหว่ เป็น ความรูสึกที่มีอิทธิพลค่อนข้างสูงสำหรับสังคมไทยซึ่งจะมีความผูกพันกับครอบครัวมาก แต่เมื่อพิจารณาถึงรายได้ที่สูงกว่าอาชีพบนบกในแต่ละระดับเดียวกันประมาณ 2-3 เท่า และการที่มีโอกาสไปเยือนดินแดนของประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางที่เรือแวะเข้าจอดเทียบท่า ทำ ให้ได้เห็นโลกกว้างอันสวยงาม จึงเป็นอาชีพที่ท้าทาย การเริ่มต้นทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย และไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินไป จะสามารถมีเงินเหลือมากพอที่จะตั้งตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากนั้นอาจเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นที่ชอบหรือมีความต้องการได้
ที่มา : ศูนย์ฝึกพาณิชยนาวี
โฆษณา