Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tools สะเด็ด
•
ติดตาม
19 พ.ย. 2020 เวลา 15:28 • การศึกษา
--- Mind map (แผนภูมิแขนงความคิด) ---
เครื่องมือแรกที่ขอนำเสนอวันนี้ก็คือ Mind map ค่ะ
โพสต์นี้ต่อเนื่องจากเมื่อวาน #careerseries ที่พูดถึงการตอบคำถามสัมภาษณ์อย่างชัดเจน คนฟังสามารถเห็นภาพตามได้ค่ะ
จริงๆ แล้วเราว่าหลายๆคนรู้จักเครื่องมือนี้อยู่แล้วล่ะค่ะ มันเป็นเครื่องมือเบสิคที่ไม่ค่อยได้รับการกระตุ้นให้ใช้มาก ในประสบการณ์ทำงานหรือเรียน น้อยครั้งที่จะมีคนชวนหรือแสดงตัวอย่างการใช้งานและประโยชน์ที่ลึกซึ้งของเครื่องมือนี้
สำหรับเราแล้ว แผนภูมินี้เป็นเครื่องมือหลัก ที่เวลาคิดอะไรไม่ออกจะพึ่งพามันก่อนเสมอ อย่างน้อยก็ตอนเด็กๆเวลามีเขียนเรียงความ คุณแม่จะสอนให้แตกความคิดออกมาให้ดีก่อน เวลาร้อยมันเป็นไอเดียเราใหม่จะได้เรียงง่ายๆ ที่โรงเรียนก็เหมือนจะมีการให้เอาแผนภูมิมาประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานบูรณาการ (ใครเกิดทันสมัยนี้บ้าง 555+) ตอนทำงานก็ใช้มันบ่อยเวลาต้องการระดมสมอง (brainstorm)กับเพื่อนร่วมงาน เจ้าแผนภูมินี้แม้จะดูเรียบง่ายแต่จะบอกว่า ถ้าใช้มันดีๆแล้วจะช่วยให้เราชัดเจนในความคิด และอารมณ์ตัวเองตอนนั้นได้มากค่ะ
การสัมภาษณ์งานคือโอกาสสำคัญที่เรามีเวลาจำกัดในการพูดถึงตัวตน ทักษะ จุดมุ่งหมายของเรา รวมไปถึงความรอบรู้เกี่ยวกับบริษัทค่ะ เรียกว่าเป็นช็อทสำคัญที่เราควรจะมีซีน ล้อเล่นๆ หมายถึงควรจะพรีเซนท์ตัวเองให้เต็มที่ค่ะ มาๆ มาดูกันค่ะว่าตัวอย่างการเชื่อมโยงคำตอบแบบนี้มีฐานคิดยังไง
ปล. การเชื่อมโยงไม่มีหลักตายตัวแล้วแต่กรณี แล้วแต่ผู้ใช้เห็นสมควรค่ะ เพราะฉะนั้นเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ นำไปปรับใช้ได้ตามสบายเลยค่ะ
การเชื่อมโยงเพื่อสร้างคำตอบสัมภาษณ์ที่เป็นตัวคุณเองและช่วยให้ผู้สัมภาษณ์เห็นภาพทักษะที่เรามีมากที่สุด คำอธิบาย Mind map ที่ว่านี้อยู่ด้านล่างค่ะ
อันดับแรกที่เราจะต้องนึกถึงเวลาสร้างแผนภูมิเพื่อแตกความคิดของเราออกมาแบบนี้ก็คือ ความจริงใจในการตอบตัวเองในแต่ละหัวข้อที่เราสร้างมาให้ได้ ต้องไม่โกหก ไม่ตอบสวยหรูจนไม่มีตัวตนของเราอยู่ แต่ก็ห้ามซื่อเกินน้า
อันที่สอง เราต้องมีหัวข้อหลักใหญ่ที่แตกไปหาสิ่งอื่นๆได้ เช่น ตัวเราต้องรู้ตัวเองก่อนว่ามีเป้าหมายระยะสั้น ระยะยาวอย่างไร มองเห็นตัวเองอีก 5ปีข้างหน้าแบบไหน passionที่เกี่ยวกับเราคืออะไร(จริงๆไม่จำเป็นต้องมี) อีกหัวข้อที่แตกออกมาย่อยๆได้ก็คือสิ่งที่เกี่ยวกับบริษัททั้งหลายแหล่
เอาล่ะ ก่อนที่จะมาเริ่มแตกความคิดกัน หลักสำคัญอีกอย่างที่ต้องคิดไว้เสมอ คือการตอบให้ทุกอย่างไปทางเดียวกัน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า alignment ตัวอย่างเช่น เรามองเห็นตัวเองอีก 5 ปีข้างหน้า(สมมติว่านี่เป็นงานแรก) ว่าจะเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่เก่ง สามารถคุมทีมและรันงานระดับเล็กๆเองได้ เราก็ต้องเสนอกับคนสัมภาษณ์ให้เค้าเห็นภาพให้ได้ว่าเรามีศักยภาพที่จะไปถึงตรงนั้นได้ไง แล้วทักษะที่เรามีปัจจุบันมันตอบโจทย์ตำแหน่งนี้ยังไง ถ้าไม่มีประสบการณ์ เรามีอะไรมาทดแทนได้ ถ้ามีความเข้าใจเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการติหรือชมก็สามารถพูดถึงได้ (อันนี้ทำเพื่อโชว์ว่าเราเข้าใจว่าเค้าทำแบบนี้เพราะอะไร กลุ่มลูกค้าเป็นใคร) ถ้าติ แนะนำให้มีไอเดียที่จะโปรโมทสินค้าและบริการในแบบที่เราคิดด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นการติชมต้องอยู่บนหลักการและบริบทที่บริษัทเผชิญอยู่
อันสุดท้าย เวลาแตกทักษะออกมา อย่าแตกความคิดออกมาเป็นชื่อทักษะอย่างเดียวค่ะ คิดไปให้ถึงสถานการณ์/ประสบการณ์ตรงที่แสดงถึงทักษะต่างๆนั้นด้วย ประสบการณ์นั้นควรจะเกิดขึ้นไม่เกิน 2-3ปี จะเป็นกิจกรรมนอกหลักสูตร ชีวิตประจำวัน ประสบการณ์จากการไปเที่ยว อะไรที่คิดว่าโชว์ได้เขียนมันลงไปก่อนค่ะ แนะนำให้ระดมความคิดลงไปในแผนภูมิก่อน แล้วจะเคลื่อนย้ายกลุ่ม เชื่อมโยงใหม่ก็ได้ ไม่มีผิดไม่มีถูก ทำในกระดาน white board ก็สะดวก ปรับแก้ง่ายดีค่ะ
สุดท้าย ขอเสริมอีกนิดว่ากระบวนการทำ Mind map ไม่จำเป็นต้องทำคนเดียว คุณพ่อคุณแม่ คุณครูแนะแนว สามารถเอาตัวอย่างนี้ไปช่วยคนที่กำลังหางานแตกความคิดได้ โดยเริ่มจากการคุยกันก่อนโดยเอาหัวข้อหลักต่างๆเป็นไกด์ไลน์ ฟังน้องปล่อยความคิดชั้นแรกแบบยังไม่กรอง แล้วค่อยๆช่วยน้องสรุปจากที่คุยเป็น Mind map ก็ได้ค่ะ
ถ้าสนใจอยากให้เพิ่มข้อมูลตรงไหน คอมเม้นท์มาด้านล่างได้เลยค่ะ
เจอกันใหม่อาทิตย์หน้าค่ะ
2 บันทึก
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย