23 พ.ย. 2020 เวลา 09:28
เตรียมพร้อม สำหรับภาษีเงินได้ปี 2563
#2 เกณฑ์ยื่นแบบฯ และ เกณฑ์ชำระภาษี
หลายคนอาจสับสนหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าตัวเองต้องยื่นแบบแสดงภาษีหรือไม่ บางคนลองคำนวณแล้วไม่มีภาษีต้องชำระหรือขอคืน ก็เลยไม่ยื่นแบบแสดงภาษี รวมทั้งหลายคนอาจเข้าใจว่าตัวเองถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องยื่นแบบแสดงภาษีประจำปีอีก บทความตอนนี้อาจช่วยแก้ความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่มีอยู่ครับ
2.1 เกณฑ์ยื่นแบบฯ และ เกณฑ์เสียภาษี
เกณฑ์ยื่นแบบฯ และ เกณฑ์เสียภาษี ไม่เหมือนกันครับ แม้เราไม่ต้องเสียภาษีแต่เราต้องยื่นแบบแสดงภาษีฯ ถ้าเรามีรายได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดว่าต้องยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้ฯ ดังนี้
คนโสด :
ถ้ามีเฉพาะเงินได้จากการจ้างงาน (เงินได้ประเภทที่ 1) คือ เงินเดือน 120,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษี (ยื่นแบบนะครับ ไม่ใช่เสียภาษี) แต่ถ้ามีเงินได้ประเภทอื่นร่วมด้วย หรือมีรายได้ประเภทอื่น (เงินได้ประเภทที่ 2 - 8) รวม 60,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษี
คนมีคู่ :
ถ้ามีเฉพาะเงินได้จากการจ้างงาน (เงินได้ประเภทที่ 1) เพียงประเภทเดียว ต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาท แต่ถ้ามีเงินได้ประเภทอื่นร่วมด้วย หรือมีรายได้ประเภทอื่น (เงินได้ประเภทที่ 2 - 8) รวม 120,000 บาท
2.2 มีรายได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำ แต่ไม่ยื่นแบบฯ จะเป็นอย่างไร
การไม่ยื่นแบบแสดงรายได้จะมีความผิดตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (ขอลดค่าปรับได้นะครับ)
ที่ผ่านมาคนที่ไม่ยื่นสักปีก็อาจมีเพียงบางคนที่โดนค่าปรับนะครับ แต่ในอนาคตอาจเข้มงวดมากขึ้น เพราะปัจจุบันกรมสรรพากรนำข้อมูลเข้าระบบคอมฯ ได้มากทำให้สามารถตรวจสอบและติดตามได้ดีกว่าเดิม ไม่แน่ว่าอาจจะเกิดการเรียกตรวจขึ้นสักวันก็ได้ครับ เพื่อความสบายใจของเราก็ควรจะยื่นให้ถูกต้อง ยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็สะดวกดีครับ และหลายคนอาจไม่ทราบว่าตนเองสามารถขอคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนได้ด้วย
2.3 อัตราภาษีเงินได้บุคคล ประจำปี 2563
อัตราภาษีที่กรมสรรพากรใช้คำนวณเงินภาษีเงินได้ในปี 2563 คือ
จะเห็นได้ว่า เราจะเริ่มเสียภาษีเงินได้ เมื่อเรามีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไป ซึ่งเงินได้สุทธินี้เป็นเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลและค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว ซึ่งจากค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนที่เรามีสิทธินำมาคำนวณจะทำให้ทราบว่าหากเงินได้พึงประเมินของเราอยู่ในประเภท 1 ไม่เกินปีละ 310,000 บาท หรือเฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 25,833.33 บาท ก็จะเป็นการยื่นแบบแต่ไม่ต้องเสียภาษี (คำนวณเฉพาะการหัก ค่าใช้จ่าย 50% และค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท)
และถ้าเป็นกรณีมีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ และกรณีมีบุตร รายได้ที่ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็จะเพิ่มขึ้นตามค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายที่มีสิทธินำมาคำนวณอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันได้มีการลดภาระภาษีเงินได้บุคคลฯ โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งส่วนตัวและครอบครัว รวมถึงบุพการี มาดูกันครับว่าแต่ละระดับขั้นของรายได้มีภาษีที่ต้องชำระมากน้อยแค่ไหน และภาษีที่เปลี่ยนไปเมื่อมีค่าลดหย่อนเพิ่มเข้ามาในการคำนวณจะเป็นอย่างไร
ได้เห็นผลของค่าลดหย่อนหลักแล้ว บทความต่อไปจะขอพูดถึงเรื่องค่าลดหย่อนประเภทต่างๆครับ
สามารถอ่านบทความในซีรีย์นี้ ที่ https://www.blockdit.com/series/5fba2fa29115840cad27932
#1 เงินได้ประเภทต่างๆ
#2 เกณฑ์ยื่นแบบและเกณฑ์ภาษี
#3 ค่าลดหย่อนประจำปี 2563
#4 การวางแผนภาษี
#5 การเครดิตภาษี
ก่อนจบบทความนี้ ขอเพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องแบบแสดงรายได้ที่ใช้สำหรับเงินได้แต่ละประเภท สั้นดังนี้ครับ
หากมีเฉพาะรายได้ประเภทที่ 1 (รายได้ตามมาตรา 40 (1)) ก็ให้เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 แต่ถ้ามีรายได้ประเภทอื่นๆ ให้ยื่นรายได้ทุกประเภทรวมกันด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 เนื่องจากเป็นแบบที่สามารถกรอกรายละเอียดตามประเภทเงินได้ทุกประเภทครับ สำหรับ ภงด 90 ผมแนะนำให้ยื่นแบบออนไลน์จะสะดวกกว่าเพราะระบบจะเลือกเฉพาะรายการที่เราต้องกรอกเพื่อลดความสับสนครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา