23 พ.ย. 2020 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
อาหารกันตายยามสงครามของชาวเลนินกราด
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างที่เยอรมนีและชาติพันธมิตรกำลังปิดล้อม
เมืองเลนินกราด (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ของโซเวียตตั้งแต่ปี 1941
เพียงไม่กี่เดือนเสบียงที่ตุนไว้ในเมืองซึ่งมีประชากรนับล้านก็ร่อยหลอลง
แม้กองทัพโซเวียตจะพยายามตีฝ่าเพื่อส่งเสบียงให้ชาวเมืองหลายครั้ง แต่ก็ไร้ผล
ชาวเมืองเลนินกราดที่หิวโหยต้องรับปันส่วนอาหารที่น้อยลงเรื่อยๆ
จนเหลือแต่ขนมปัง ภาวะทุพโภชนาการแผ่ขยายไปทั่ว และเมื่ออาหารปันส่วนเริ่ม
หมดลง ขนมปังจึงกลายเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าเพชรพลอย
ผู้คนต่างนำของที่เคยมีค่ามาแลกกับอาหารที่คนอื่นยังพอเหลืออยู่
3
เมื่อการปิดล้อมลากยาวข้ามปีจนถึงฤดูหนาว อาหารก็ยิ่งขาดแคลนหนักขึ้น
ชาวเมืองจำใจต้องนำวัสดุรอบตัวมาทำเป็นอาหารแทนขี้เลื่อยจากเฟอร์นิเจอร์ถูก
บดผสมในขนมปัง อาหารสัตว์เริ่มกลายเป็นอาหารคน หนังสัตว์ถูกนำมาเคี่ยว
ในซุปจนเปื่อยแล้วแบ่งกันกิน บางคนหันมากินกระดาษกันตาย ผนังวอลเปเปอร์
ถูกลอกเพื่อนำไปต้มซุป ยังมีรายงานเกี่ยวกับผู้ที่หันไปเลาะเนื้อจากซากศพ
และมนุษย์กินคนออกอาละวาด
3
ภาพที่เห็นนี้คือ 'ขนมปัง' แบบหยาบๆ ที่ทำจากเมล็ดพืชบดผสมกับเปลือกธัญพืช
แล้วนำมาทอดในน้ำมันเครื่องยนต์ คาดว่ากลิ่นหรืออาการข้างเคียงทำให้เจ้าของ
ขนมปังทอดนี้กินไม่หมดแม้จะหิวโซมากแค่ไหนก็ตาม
1
หลังการปิดล้อมยืดเยื้อเวลานานราว 900 วันเมื่อต้นปี 1944 กองทัพโซเวียตก็
สามารถขับไล่ผู้รุกรานออกไปจากรอบเมืองสำเร็จ ตัวเมืองที่เคยรุ่งเรืองและเป็น
แหล่งอุตสาหกรรมหลักถูกทำลายจนพังพินาศ ความทรงจำอันเลวร้ายของผู้รอดชีวิตยังถูกแปรออกเป็นงานเขียนและดนตรีมากมายเพื่อเล่าขานประสบการณ์ให้คนรุ่น
ต่อไปได้ฟัง และยังมีเรื่องเล่าชวนขนหัวลุกมากมายที่เหลือรอดมาจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น.
2
เครดิตภาพ
โฆษณา