23 พ.ย. 2020 เวลา 05:05 • การศึกษา
บันทึกสั้นๆ จากอ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่มาบรรยายให้เราฟังค่ะ เป็นช่วงเวลาที่ตรึงให้นักการเมืองนั่งฟังอย่างสงบ
ราชาธิปไตย เราเป็นราชาธิปไตยมั้ย พูดแบบนี้บางคนไม่กล้าตอบ
ความจริงเราก็คือระบอบการปกครองแบบ "ราชาธิปไตย" แต่ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราช เราเป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญควบคุม เราเรียกระบอบการปกครองของเราว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เราเรียกประเทศของเราว่า "ราชอาณาจักรไทย" ( Kingdom )
เวลาฑูตไทยแนะนำตัว จะพูดว่ามาจากราชอาณาจักรไทย ไม่ได้พูดว่ามาจากประเทศไทย ราชอาณาจักร คือ "อาณาจักรของราชา" ทหารยึดอำนาจมา จะแต่งตั้งตัวเองก็ไม่ได้ ต้องรอในหลวงโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีเลือกตั้งมาแล้วก็ปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ได้ ต้องรอเข้าเฝ้าถวายสัตย์ต่อพระพักตร์ ในหลวงโปรดเกล้าฯก่อนอยู่ดี รัฐสภาจะเปิดประชุม ต้องมีพระราชกฤษฏีกาเปิดสมัยประชุม ประธานสภาจะเปิดเองไม่ได้ จะปิดสมัยประชุมก็ต้องมีพระราชกฤษฏีกาปิด ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระดับ ๑๐,๑๑ หรือนายพล ก็ต้องรอโปรดเกล้าฯ ศาลเองตัดสินคดีก็ต้องในพระปรมาภิไธย กฏหมายในสภาก็เป็นพระราชบัญญัติ ในครม.ก็พระราชกำหนด .. เราเป็นราชาธิปไตย แน่นอน แต่เป็นราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญควบคุม พระเจ้าแผ่นดินก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญนี้เช่นกัน
บางครั้งประเทศของเราก็ขาดประชาธิปไตย บางครั้งก็ไม่มีรัฐธรรมนูญ บางทีทหารก็หายหน้าไป แต่ไม่เคยมีแม้แต่วินาทีเดียวที่เราขาดพระเจ้าแผ่นดิน
รัฐบาลอาจไม่ต่อเนื่อง
แต่พระเจ้าอยู่หัวอยู่กับเราต่อเนื่อง บ้านเมืองเราจึงสงบ ร่มเย็น มั่นคงมาโดยตลอด
 
แล้วอะไรสำคัญกว่าอะไร ...
ในหลวงทรงงาน งานเพื่อบ้านเมือง เพื่อแผ่นดิน เพื่อคนไทย ลูกหลานไทย
รัฐบาลทำงานการเมือง พัฒนาชาติ ดูแลประชาชนในระดับของรัฐบาล นี่คือความฉลาดของระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยไทย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในอัตลักษณ์ ( Identity ) เฉพาะของเราเอง พระราชอำนาจถูกจำกัด Limited ด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ด้วยธรรมราชา ด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ อันปราศจากข้อจำกัดใดๆของพระเจ้าแผ่นดิน ประชาชนและพระราชาจึงเดินร่วมทางด้วยกันตลอดมาในลักษณะ ราชประชาสมาศัย ( พึ่งพาอาศัยกันอย่างเท่าเทียม ) สถาบันกษัตริย์ของเราไม่ได้ทำแต่แค่พิธีกรรมเท่านั้น กี่ครั้งกี่หนแล้วที่ได้เข้าช่วยคลี่คลายแก้ไขปัญหาชาติ บ้านเมือง ชนิดจับต้องได้ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ภัยคุกคามยุคคอมมิวนิสต์ เหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ , ๖ ตุลา ๑๙ พฤษภาทมิฬ และอีกมากมาย สมัย ร. ๑๐ ท่านก็ทรงลงมา กรณีพรรคไทยรักษาชาติ จนถึงภัยโควิด
 
ในหลวงไทยท่านทำมากกว่า King ในยุโรป ท่านทำมากกว่า จักรพรรดิ ของญี่ปุ่น โครงการในพระราชดำริ ป่าชายเลน ผลไม้เมืองหนาว ชาวเขาปลูกฝิ่น ผู้คนเลี้ยงปลานิล เขื่อน ฯลฯ สมเด็จพระขนิษฐาฯ ทรงทำเรื่องโรงเรียนตชด. สมเด็จย่า เรื่องพอสว. แพทย์ชนบท จนมาถึงอสม.ที่โด่งดัง
เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีลูกแล้ว เราจึงเข้าใจพ่อแม่ จากคอนซีเควนซ์ มาเป็นอินเทนชั่น ระบอบการปกครองนี้เป็นอัตลักษณ์ไทย เราสร้างขึ้นมาด้วยกัน มาพร้อมๆกัน ยังไงๆก็ต้องฟังกันระหว่างประชาชนและพระมหากษัตริย์ และจะแยกขาดจากกันไม่ได้
1
เรารับพระราชทานปริญญา พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเองกับพระหัตถ์ มือเราจับกระดาษแผ่นเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน ณ ห้วงเวลาสั้นๆนั้น เราได้ยินเสียงหัวใจของเราเอง นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในชาติของเรานับได้กี่แสนกี่ล้านคน พระองค์ท่านก็ทรงทำด้วยความอุตสาหะหวังให้ลูกไทย หลานไทย ภาคภูมิใจในความสำเร็จและตั้งใจเป็นคนดีให้ชาติบ้านเมือง ให้แผ่นดินของเรา นั่นคือสิ่งเดียวจริงๆที่ทรงต้องการ และอยากเห็น King ของไทยคนละความหมายกับ King ของฝรั่ง ท่านไม่ได้นั่งบนหัวเรา ท่าน Served the people ในหลวง ร.๙ ทรงแสดงเป็นประจักษ์ คนคนหนึ่งต้องทำงานหนัก ในวัยขนาดนั้น นั่นคือพระราชาในหัวใจประชาชน
เราคนไทย เราเป็นทั้งพลเมือง และเป็นทั้งพสกนิกร นี่คือของดีที่เป็น Treaditional ที่ต้องรักษา บางคนอยากเป็น Modern form แบบอเมริกา แบบยุโรป เป็นแบบนั้นแล้วเราจะดีมั้ย ลองคิดดู เราจะผสมมันยังไงให้มันดี ให้มันลงตัวจนเหมาะกับเรา ทำไมต้องเอาแบบเขามา เราเป็นแบบของเราไม่ได้หรือ ... ลองคิดดู
 
เราจะทำอย่างไรดี ถึงเวลาแล้วใช่มั้ยที่สถาบันกษัตริย์ไทยจะต้องสิ้นบุญลง ลูกหลานของเราอยากได้ระบอบการปกครองแบบใหม่ พวกเขาอนุญาตให้สถาบันกษัตริย์เป็นได้เพียงตำนานแบบฝรั่งเศสก็พอ ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงประเทศจะได้ดีขึ้น กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ กลายเป็นปัญหาของชาติ นักการเมืองก็ร่วมเห็นดีเห็นงามไปด้วย เพราะหวังผลบางประการ ระหว่างนักการเมืองเลวๆ กับสถาบันกษัตริย์ไทย อะไรดีกว่าอะไร ... อะไรกันแน่ที่เป็นปัญหาของชาติ และเราควรบอกลูกหลานของเราว่าควรจะจัดการสิ่งใดก่อนดี ... ??
โฆษณา