"ฟังเขามา"
.
ภรรยาผมชอบดูรายการในยูทูปที่มีคนมานั่งกินอะไรเยอะๆให้ดู ดูเสร็จแล้วก็จะหิว มีความอยากกินตามเขาบ้าง โดยเฉาพะดูรีวิวอาหารทั้งจากยูทูปและทวิตเตอร์ยิ่งตัวดี
.
บางทีเธอจะบอกผมว่า อยากกินอันนี้จังเลย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเฉพาะเจาะจงมาก จะทำให้ผมรู้ได้ทันทีว่าเธอต้องไปดูอะไรมาแน่ๆ
.
อีกทางนึง หากเรากำลังจะไปกินข้าวนอกบ้าน แล้วร้านไหนที่เธอเคยเห็นรีวิว เห็นกระแสว่าหลายคนไม่ชอบ เธอก็จะไปชอบ และสร้างอัคติขึ้นมาเลย ไม่ใช่แค่ภรรยาผมนะ ผมหรือคนอื่นๆอีกหลายคนก็เป็น
.
เราเชื่อในสิ่งที่ได้ยินจากคนอื่นมาง่ายเหลือเกิน เพราะมันทำให้รู้ว่า นอกจากเราแล้ว คนอื่นๆ ไม่รู้ว่าเยอะแค่ไหน มีความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ด้านเดียวกัน เวลาที่เราแนะนำให้เพื่อนซื้อสินค้าอะไร เพื่อนจึงค่อนข้างเปิดใจ เพราะรู้ว่าเราไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากการแนะนำ แถมเรายังมีประสบการณ์ในการใช้จริง แล้วถ้ามันไม่ดีจริงก็คงไม่มาแนะนำเพื่อนให้ใช้แน่ๆ
.
วิธีนี้ใช้ได้ผลในเชิงจิตวิทยาในการเพิ่มความน่าเชื่อถือด้วย เช่นเวลาวิทยากรกำลังจะขึ้นพูด มักจะมีพิธีกรผู้ดำเนินวาระแนะนำชื่อเสียงของวิทยากรผู้นั่นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ฟังมากขึ้น ผู้ฟังจะเกิดความเชื่อใจ และตั้งใจฟัง คล้อยตาม กับคำพูดของวิทยากรมากขึ้น ลองคิดดูว่าหากวิทยากรที่กำลังจะขึ้นพูดแนะนำความเจ๋งของตัวเอง มันคงจะฟังดูหลงตัวเองไปหน่อยนะครับ
.
แต่สำหรับภรรยาแล้วไม่เวิร์ค เพราะผมคือสามี ไม่ใช่คนอื่น การที่จะมาฟังผมรีวิว หรือพูดอะไร กลับไม่ได้มีความน่าเชื่อถือเท่าไหร่ ครั้งหน้า ถ้าผมความคิดไม่ตรงกับภรรยา จะลองให้เพื่อนของเธอ แนะนำเธอแล้วกัน น่าจะทำให้เธอคล้อยตามได้มากกว่า
.
คนเราจะชอบอะไรก็เพราะฟังเขามา จะไม่ชอบอะไรก็เพราะฟังเขามาเหมือนกัน ถ้าฟังเรื่องดีๆบ่อยกว่าเรื่องไม่ดี ก็จะมีเรื่องที่ชอบมากกว่าเรื่องที่ไม่ชอบ ชีวิตก็คงจะมีความสุขกว่า