27 พ.ย. 2020 เวลา 22:53 • ประวัติศาสตร์
ประวัติความเป็นมาของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แบบย่อยง่าย (เครดิตหลัก จั๊ด ซัดทุกความจริง ช่องone +ถามตรงๆกับจอมขวัญ )
จะขอเกริ่นไว้นิดครับ บทความนี้เป็นบทความที่จะเหมือนเอามาเล่าต่อ เพราะคุณจั๊ด ทำได้เข้าใจง่าย ผมจะเอาในส่วนที่คุณจั๊ด และรวมกับรายการถามตรงๆกับจอมขวัญ ซึ่งถ้าใครสนใจเรื่องนี้แนะนำให้ไปดูสองรายการนี้คุณจะได้ความเข้าใจและตัดสินกันเองว่าคุณคิดอย่างไร แต่ผมจะพยายามเสริมเพื่อให้สมบูรณ์(ในส่วนที่เสริมจะทำ**ไว้ใครที่สนใจแต่เนื้อเรื่องทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ข้ามได้เลย) เพราะประวัติของเรื่องนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2475 เราจะได้เห็นวิวัฒนาการของการเมือง ของกลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆ และเรื่องของสถาบันกับการเมืิิิิองไทย ส่วนคำราชาศัพท์ผมจะใช้น้อยๆมากเพื่อความเข้าใจง่าย
จุดเริ่มต้นเริ่มต้น ร.3 สงครามกับต่างประเทศรอบข้างเบาบางลง ท่านได้เริ่มหาเงินเข้าประเทศ แต่งเรือออกไปค้าขายในที่ต่างๆและจะเก็บเงินใส่ในถุงแดงไว้ใกล้ที่นอน และใส่ตู้ไว้ใกล้ที่นอน จึงเกิดพระคลังข้างที่ขึ้นมา
ต่อมาในรัชสมัย ร.5(พ.ศ.2433) หลังจากเสียดินแดนไปบ้างส่วนจากการพิพาทกับทัพเรือฝรั่งเศส ได้มีการแยกทรัพย์ส่วนแผ่นดิน กับทรัพย์สินส่วนพระองค์
~กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดูแลทรัพย์สินส่วนแผ่นดิน
~กรมพระคลังข้างที่ ดูแลในส่วนของทรัพย์สินส่วนพระองค์
1
เครดิตรูปภาพ crown property.or.th
พ.ศ.2475 สมัยนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในสมัย รัชกาลที่ 7
มีการปฏิวัติโดยกลุ่มคณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังไม่มี พ.ร.บ.เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แต่มีการลดจากกรมเปลี่ยนเป็น สำนักงานพระคลังข้างที่ อำนาจกำกับดูแลโดยนายกรัฐมนตรี
***จะเห็นได้ว่าในปลายร.6 เริ่มมีการวางเหลี่ยมพยายามขจัดเสี้ยนหนามทางการเมืองของกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กลับกลุ่มคณะราษฎร มีการออกผ่านกฎมณเฑียรบาลสยาม พ.ศ.2467 ซึ่งจากการศึกษาเชื่อว่า การออกข้อยกเว้นการสืบสันติวงศ์เพื่อเป็นการกีดกันพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ซึ่งพ่อของท่านเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถซึ่งมีเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆทางการทหาร ถ้าพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ครองราชย์น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิวัติ ในช่วงเวลาหลังจากมีการปฏิวัติอำนาจฝ่ายต่างๆยังไม่ลงตัวยังมีความเห็นต่างกันแม้แต่ในกลุ่มคณะราษฎรเอง จากการศึกษามีทั้งกลุ่มที่เพียงต้องการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองหรือการอภิวัฒน์การปกครอง และกลุ่มหัวรุนแรงที่ต้องการล้มล้างระบอบกษัตริย์
***ปฏิวัติเพียง 1ปี หลังจากที่มีการรัฐประการและพระยามโนปกรณ์ลากออก พระยาพหลพลพยุหเสนาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีเหตุการณ์สำคัญคือกบฏบวรเดช หรือคณะกู้บ้านกู้เมืองต้องการที่จะสู้กับกลุ่มคณะราษฎรเพื่อนำระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับคืน แต่ต้องแพ้ให้กำลังทหารกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งมีคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญคือ พันโทหลวงพิบูลสงคราม(จอมพลป.) ตามที่ อ.ส.ศิวรักษ์ได้เล่าถึงจอมพล ป. ขอแทนท่านว่าท่านแปลก ท่านแปลกมีแนวคิดหัวรุนแรงต่อกษัตริย์อย่างรุนแรง และมีอนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบกษัตริย์อย่างชัดเจน
2
เครดิตรูปจาก thepeople.co
พ.ศ.2479 สมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 8
ได้มีการจัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์โดยเกิด พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้รับรูปแบบการจัดการโดยเลียนแบบจากสหราชอาณาจักร (crown estate)
สร้าง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีฐานะเป็นกรมอยู่ภายการดูของกระทรวงการคลัง
แยกทรัพย์สินเป็น 2ส่วน
~ทรัพย์สินส่วนพระองค์
~ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พ.ศ.2491 สมัยควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัชกาลที่ 9
เป็นรูปแบบเดิมแต่เป็นลักษณะเหมือนแก้ไขเพิ่มเติม ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นนิติบุคคลพิเศษ ดูแลโดย "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์"
มีรูปแบบโครงสร้างที่แยกชัดเจนอ่านตามเอกสาร พ.ร.บ ซึ่ง ณ ปัจจุบันเป็นโครงสร้างที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่คือตรงนี้ครับ
แยกทรัพย์สินเป็น 2ส่วน
~ทรัพย์สินส่วนพระองค์ การดูแลรักษาจัดหาผลประโยชน์เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (ส่วนนี้ต้องเสียภาษี)
~ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดูแลโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นอกเหนือจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และอีกส่วนนึงคือทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ (ส่วนนี้ไม่ต้องเสียภาษี)
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างจะแยกกันอย่างชัดเจน ในการบริหารจัดการทรัพย์สิน
***อยากพูดถึงสภาพการเมืองในช่วงยุคนั้น น่าจะเป็นยุคที่วุ่นวายมากที่สุดครับ หลังจากที่ ร.7 สละราชสมบัติ และเป็นช่วงจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางฝ่ายคณะราษฎรหลังจากวางรากฐานกำจัดอุปสรรคทางอำนาจของตัวเอง ก็เชิญ ร.8 ขึ้นครองราชย์ และแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะนั้นนายปรีดี เป็นผู้มีอำนาจและกำลังวางรากฐานเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจหลังยุคสงครามก็เกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มคณะราษฎรซึ่งแตกกันเอง ช่วงนั้นสถาบันกษัตริย์อ่อนแอมาก จนถึงขั้นการสูญเสีย ร.8 ถูกลอบปลงพระชนม์ เพื่ออำนาจทางการเมืองของฝ่ายปฏิปักษ์ของนายปรีดี จนมาถึงการเข้าสู่อำนาจอันยาวนาน จอมพล ป. หรือนายแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งมีอำนาจล้นเหลืองมากในยุคนั้น อย่างที่เราได้ยินจาก ผศ.ดร.อานนท์พูดในรายการคุณจอมขวัญ "ในหลวง ร.9 ในต้นรัชสมัยถ้าในหลวงจะเสด็จไปที่ใด ต้องขออนุมัติรถจากจอมพล ป." ซึ่งผมจะเขียนต่อไปในเรื่อง จอมพล ป.ปฏิปักษ์กับเจ้าในหัวข้อต่อไป
3
เครดิต THE101.world,thaienews.blogspot.com
พ.ศ.2560~2561 ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ออกกฏหมายโดย สนช.ในสมัย ร.10
กฎหมายปัจจุบันคือ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561
สาระสำคัญเปลี่ยนหน่วยงานเป็นสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์~มีหน้าที่ดูแลรักษาจัดหาผลประโยชน์อื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่ได้รับมอบหมาย
*** โดยโครงสร้างเดิมกลับโครงสร้างใหม่ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายครับ
จากโครงสร้างจะเห็นได้ว่าไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก
มาสรุปประเด็นในข้อกฏหมายครับ
**จากที่เห็นโครงต่างคณะกรรมการไม่ต่างกันมาก โดยส่วนตัวแล้วไม่ว่าจะมี รมต.คลังหรืิอไม่มีคงไม่ต่าง แต่ถ้ามี รมต.คลัง แล้วทุกฝ่ายเห็นว่าสบายใจก็หาฉันทามติร่วมกันครับ ว่าจะเอาแบบไหน
**ประเด็นที่เป็นข้อต่อแย้งกันนะปัจจุบันที่รุนแรง คือการควบรวมกันของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เดิมที่เป็นสาธารณะประโยชน์ กับทรัพย์สินส่วนพระองค์ ท่ามองแบบมองย้อนประวัติศาสตร์จะเข้าใจ รากฐานของรูปแบบจุดเริ่มต้นของกฎหมาย กฏหมายจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ยุคของคณะราษฎรมีไว้เพื่อต้องการเข้าไปแทรกแทรงอำนาจการบริหารทรัพย์สินกษัตริย์อยู่แล้ว โดยในยุคนั้นอาจจะแทรกแซงผ่านการเลือกคณะกรรมการ แทรกแซงผ่านผู้สำเร็จราชการ แต่ในช่วงปลายรัชสมัย ร.9 ระบอบสถาบันกษัตริย์เข้มแข็ง การเลือกคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำได้ตามพระราชอัธยาศัยจริงๆ จึงไม่มีเหตุผลที่จะแยกออกจากกัน ซึ่งทั้ง กม.2491 กับ 2561เจตนารมณ์เดียวกันคือให้กษัตริย์แต่งตั้งคณะกรรมการเอง
**ประเด็น save king อยากให้ดูรูปข้างล่างก่อนครับ
1
***ในประเด็น save king กลัวว่าการที่ทรัพย์ฯเป็นชื่อในหลวง ยกตัวอย่างเวลาจะทำให้เวลาประชุมผู้ถือหุ้นไม่สามารถอภิปรายตัวท่านได้ ระบบก็ยังคงเดิมครับคือมีผู้จัดการทรัพย์สิน ตามที่ระบุว่าทรัพย์ฯต่างๆมีผู้จัดการก็คือเดิมเป็นรูปแบบคณะกรรมการทรัพย์สินเป็นแบบเดิม ฉะนั้นการอภิปรายต่างๆจึงเป็นการอภิปรายกับผู้จัดการไม่ใช่ตัวท่าน ส่วนในเรื่องที่ทรัพย์เป็นชื่อพระนามท่านโดยตรง ผมก็ยังไม่เห็นว่าสมควร ในส่วนที่เดิมเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็ควรใช้ตามสำนักงานใหม่ คือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
** ได้ประโยชน์จากการเก็บภาษีเพิ่มอีกส่วน ถ้าท่านยังใช้รูปแบบเดิมจะเป็นประโยชน์ต่อในหลวงท่านมากกว่าเพราะเสียภาษีเพียงครึ่งเดียว แต่ใช้โครงสร้างใหม่ ต้องเสียภาษีเพิ่มในส่วนที่เป็นทรัพย์สินส่วนเพราะมหากษัตริย์้เก่าที่ถูกยกเว้นภาษี
โดยสรุปครับ ประเด็นนี้ไม่น่าจะเอามาขัดแย้งกัน อยากให้ทบทวนในรายละเอียดกันดีๆ สิ่งที่ต้องแก้ไขไม่เยอะครับ อย่าทะเลาะกันเพราะประเด็นนี้เลย มีอีกหลายอย่างที่ต้องแก้ไข ลำดับความสำคัญดีๆ เป็นกำลังใจให้น้องๆที่ไปชุมนุมครับ
2
โฆษณา