27 พ.ย. 2020 เวลา 05:15 • หนังสือ
"กุญแจที่จะช่วยฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี"
ในหลายๆสถานการณ์ที่เราต้องเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด การเป็นผู้รับฟังที่ดีก็อาจจะซื้อใจใครบางคนได้โดยไม่รู้ตัว หลังจากที่หนุนอ่านหนังสือ The Book of Ichigo Ichie ก็มาเจอกับตอนนึงที่พูดถึงการเป็นผู้ฟังที่ดี 5 ข้อ อ่านดูแล้วก็เหมือนเรื่องง่ายๆที่น่จะทำกันได้ แต่ลองมองย้อนกลับไปดูตัวเองกันอีกสักรอบ เราทำอย่างนั้นได้จริงรึเปล่า ไม่ว่าจะในฐานะพ่อแม่ เพื่อน พี่น้อง ที่บ้านหรือที่ทำงาน ลองอ่านบทความที่หนุนแปลมาจากหนังสือภาษาอังกฤษแล้วย้อนดูตัวเองกันอีกสักรอบ....
ไม่ว่าเรากำลังฝึกพิธีชงชาญี่ปุ่น (ชาโนะยุ 茶の湯 chanoyu) หรือพิธีการเฉลิมฉลองอื่นๆ หรือกิจกรรมใดๆก็ตามที่เราทำร่วมกันกับคู่หู สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาศักยภาพในการรับฟังให้กับเราได้ไม่ต่างกัน
1. “หาสถานที่ดีๆสำหรับการสนทนาเรื่องที่สำคัญ”
ออฟฟิศที่เต็มไปด้วยเสียงคนอื้ออึงและเสียงโทรศัพท์ดังอยู่ตลอดไม่ใช่บรรยากาศที่ดีสำหรับการสื่อสารที่มีคุณภาพสักเท่าไหร่ สภาพห้องนั่งเล่นที่มีเสียงทีวีหรือเสียงเพลงดังๆก็ไม่ต่างกัน ขั้นแรกของการรับฟังที่ดี คือ การหลีกเลี่ยงทุกสิ่งอย่างที่เป็นมลพิษทางเสียง
2. “สบตากับผู้ที่เรากำลังสนทนาด้วย”
การสบตากับผู้ที่เรากำลังสนทนาด้วยเป็นการบ่งบอกให้เขารับรู้ว่าเรากำลังสนใจฟังเขาพูดอยู่ และพวกเรากำลังอยู่ตรงหน้ากันจริงๆไม่ได้จิตใจล่องลอยไปไหน อย่างไรก็ตามการสบตาไม่ควรเป็นการจ้องมองราวกับจะกลืนกินจนอีกฝ่ายตัวเกร็งแข็งทื่อ เราควรใส่ใจกับภาษาร่างกายที่ฝ่ายตรงข้ามแสดงออก และเว้นระยะห่างพอสมควรให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจไม่เกิดความอึดอัด การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราสามารถปรับตัวเข้าหากันได้
3. “หยุดคิดเรื่องที่จะมาทำให้เกิดความวิตกกังวล”
อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนต้นของบทนี้ว่า... (ก่อนหน้าบทความชิ้นนี้ในหนังสือ) แต่ละคนมีแนวโน้มที่จะจัดกลุ่มตัวเองและคนที่เราจะพูดด้วยแตกต่างกันออกไปตามธรรมชาติของแต่ละคน กุญแจสำคัญคือการไม่ด่วนตัดสินไปซะก่อน ถ้าเราจำกัดตัวเองในเรื่องนี้ได้ เวลาเรารับฟังสิ่งใครบางคนกำลังจะพูดออกมา เราก็จะได้รับข้อความที่เขาต้องการสื่อสารออกมาเต็มๆ เขาก็จะรู้สึกว่ามีคนรับฟังอยู่จริงๆ การจะฝึกเรื่องแบบนี้ได้เราต้องกันจิตใจเราเองไม่ให้คิดไปไกลก่อน และฝึกจิตใจให้จดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
4. “ถามคำถามโดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวน”
การตัดบทคนอื่นขณะพูดเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะมันจะทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด สิ่งที่ผู้พูดจะรู้สึกว่าการพูดของเขานั้นมีคุณค่า คือการที่เขาถูกตั้งคำถามด้วยคำถามที่แสดงให้เห็นว่าเรากำลังฟังอยู่ การที่เราตั้งคำถามกลับไปยังช่วยให้เราได้ข้อมูลในสิ่งที่เขากำลังพูดอยู่เพิ่มขึ้นไปอีก หรือเขาก็เข้าใจได้ว่าเราคิดตามในสิ่งที่เขากำลังพูดรู้เรื่อง (ไม่งงหรือหลุดวงโคจร) เราสามารถตั้งคำถามกลับไปเช่น “คุณกำลังบอกว่า....ใช่มั้ย” การฟังที่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้พูดก็เป็นเสมือนของขวัญที่ผู้พูดได้รับกลับไป
5. “อย่าให้คำแนะนำที่เขาไม่อยากได้”
เมื่อใครสักคนเล่าปัญหาของเขาให้เราฟัง บางครั้งมันก็ยากที่เราจะอดใจไม่เสนอวิธีแก้ไขกลับไปให้ แต่สิ่งที่เขาอยากได้มากที่สุดในตอนนั้น คือใครสักคนที่จะรับฟังปัญหาของเขา ไม่ได้มาบอกเขาว่าเขาควรทำยังไงต่อ ถ้าเราคิดว่าเรามีคำแนะนำที่ดีที่อยากจะแชร์ให้กับเขาในตอนนั้น เราอาจจะพูดว่า “เราข้อแนะนำอะไรหน่อยได้มั้ย” หรือเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับเขาแบบอ้อมๆโดยบอกว่า “แน่นอนหละ ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าเธอหรอกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด แต่ถ้าฉันเป็นเธอในตอนนั้น ฉันอาจจะ....”
ถ้าเราเข้าถึงการสนทนากับผู้อื่นด้วยความเคารพและแสดงออกว่าเราตั้งใจฟังเขาจริงๆ ก็เป็นไปได้ว่าการสนทนาในครั้งนั้นมันจะช่วยสานต่อความสัมพันธ์ไปให้ไกลได้อีกและเป็นที่น่าจดจำ
“Some Keys to Being a Better Listener” (Original version from the book)
Whether we are practicing chanoyu or some other celebration, or just want to get along better with our partner, family members, friends, or coworkers, these simple steps can improve the quality of our listening, as well as that of others:
1. “Find the right place for important conversations.” An office with loud voices and ringing phones isn’t the best atmosphere for quality communication, and neither is a living room with television or music at full volume. The first step toward good listening is to do all you can to avoid any source of noise pollution.
2. “Look your interlocutor in the eye.” With direct eye contact, we can let our interlocutor know that they matter to us and that we are completely present. However, this eye contact shouldn’t be intimidating. We should pay attention to the other person’s verbal language and make sure they feel comfortable with the amount of physical space between us. This information is valuable and will allow us to make adjustments.
3. “Turn off interfering thoughts.” As we mentioned at the beginning of this chapter, we all have a natural tendency to place filters between ourselves and those we speak to. The key is not to judge. If we limit ourselves to listening to what someone else has to say, we’ll able to absorb their whole message, and the person will feel heard. For this happen, we need to prevent our mind from wandering and maintain the discipline of being present.
4. “Ask questions without interrupting.” It’s important not to cut people off, since this can cause frustration. What they will value is being asked questions that demonstrate we are listening. These can be to find out more about what they’re telling us or just to let them know we haven’t lost track of what they’re saying. To do so, we can interject by saying things like, “So you’re saying that . . .” This kind of active listening will be a true gift to those we speak to.
5. “Don’t give unsolicited advice.” When someone share a problem, it can be difficult not to offer a solution, but what the other people need most is to be listened to, not to told what to do. If we think we have something valuable to offer regarding their situation, we can ask, “Can I give you some advice?” or offer a solution indirectly: “Of course, only you can know the right thing to do, but if I were in your position, I would . . .”
If we approach our conversation respectfully, giving them our full attention, the possibility will increase that each encounter, in addition to deepening our connections, will end up being unforgettable.
Reference:
G. Héctor and M. Francesc (2019). The Book of Ichigo Ichie. Penguin Books.
#engkanoon #ภาษาอังกฤษติดตัว #สอนพิเศษ #แปลงาน #contentwriter #bilingualmc #พิธีกรสองภาษา #เลี้ยงลูกสองภาษา
โฆษณา