ภาษาลู จะนำคำมาแยกออกทั้งพยัญชนะและเสียงแล้วนำมาสลับกับคำว่าลูโดยให้คำว่าลูเป็นตัวเริ่มต้น และการผสมคำนั้นจะให้ความสำคัญกับเสียงของคำที่ต้องการก่อนพยัญชนะที่ต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะพูดว่า ไป ภาษาลูก็จะพูดว่า ไลปู (มาจาก ลูไป แล้วผวน) ซึ่งต้องเติมคำว่า “ลู” ลงไปลงไปข้างหน้าทุกพยางค์
อีกทั้งเวลาผวน ต้องคงรูปของสระเสียงสั้นเสียงยาวรวมทั้งเสียงของวรรณยุกต์ไว้ด้วย
เช่นคำว่า เช่น แต่ว่า (คงความสั้นยาวของสระและเสียงวรรณยุกต์ไว้)
ซึ่งเวลาเติม ลู ลงไปในคำว่า “แต่-ว่า” ก็จะได้คำว่า “ลูแต่-ลูว่า” แล้วผวนคำว่า “แหล่ตู่-หล้าวู่” นั่นเอง
แต่ถ้าพยางค์นั้นมีตัวสะกดให้คงตัวสะกดนั้นด้วย
เช่นคำว่า กินข้าว เมื่อเติม ลู ลงไปแล้วผวนแบบคงตัวสะกดเอาไว้ ภาษาลู ก็จะได้ว่า “รินกูนร่าวคูว”
ในกรณีที่พยางค์นั้นมีสระเป็น อุ หรือ อู ให้ใช้ “ลี” วางหน้าพยางค์แล้วผวน
เช่นคำว่า อยู่ไหม ภาษาลู เมื่อเปลี่ยนจาก สระ อุ หรือ อู เป็น ลี แล้วผวนก็จะว่า “หลู่หยี่ไหลหมู”
ในกรณีถ้าพยางค์นั้นมีตัวสะกดที่เป็นวรรณยุกต์ และตัว “ร” และ “ล” จะเป็นเสียงสูงและต่ำ เวลาผวนจะต้องเปลี่ยนวรรณยุกต์ตรง “ลู” เป็น “ซู”
เช่น ร้อนแรง ตามหลักที่มีตัว ร ภาษาลู ก็จะเปลี่ยนจากที่นำหน้าด้วย ลู เป็น ซู เมื่อผวนแล้วก็จะได้คำว่า “ซ้อนรู้นแซงรูง”