3 ธ.ค. 2020 เวลา 23:30 • การศึกษา
"ชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำได้จริงเหรอ"
ก่อนอื่นช่วงนี้คงไม่มีกระแสไหนแรงเท่า การแต่งกายไปโรงเรียน ของเด็กนักเรียนอีกแล้ว
ก่อนหน้านี้เพจ Facebook นักเรียนเลว ได้โพสต์ข้อความเชิญชวนนักเรียนแต่งการในชุดไปรเวทรับวันเปิดเทอมวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา พร้อมกับติด Hastag #1ธันวาบอกลาชุดนักเรียน
ทำให้มีการแบ่งความคิดเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นด้วย อีกฝ่ายหนึ่งเห็นต่าง
ประเด็นของคนที่เห็นต่างที่เป็นประเด็นหลักเลยคือ ความเหลื่อมล้ำ
.....ถ้าคุณบอกว่า การแต่งชุดนักเรียน ทำให้ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องของฐานะ.....
จริงอยู่นะครับ ชุดนักเรียนจะช่วยในเรื่องของความเท่าเทียมของนักเรียน ไม่ให้เกิด
การแบ่งฐานะว่าใครรวยใครจน แต่สุดท้ายแล้ว ก็ทำได้แค่ภายในโรงเรียน นึกง่ายๆ
ถ้าคุณมีลูก ส่งลูกเรียนโรงเรียนระดับกลางๆ กับป้าคนข้างบ้าน ส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติที่ค่าเทอม 6 หลัก แค่นี้ก็มีการเหลื่อมล้ำในฐานะกันแล้ว
1
อย่างไรก็ตาม ภายในโรงเรียนเดียวกัน ก็สามารถเกิดปัญหาการเหลื่อมล้ำทางฐานะได้เช่นกัน ส่วนมากมักจะเกิดกับโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนมัธยมดังๆของรัฐ ที่พ่อและแม่ส่วนใหญ่อยากให้ลูกสอบเข้าได้ เพราะเป็นเรื่องความภาคภูมิใจที่ว่า ลูกฉันสอบเข้าโรงเรียนรัฐดังๆได้
แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อลูกคุณเข้าไปเรียน ก็ต้องเกิดความเหลื่อมล้ำกันแน่นอน ต่อให้ลูกของคุณ จะใส่ชุดนักเรียนเหมือนลูกคนอื่นๆก็ตาม
อะไรบ้างที่สามารถทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้ แม้อยู่ในสถาบันเดียวกัน แต่งชุดนักเรียนก็เหมือนกัน หรืออาจจะคนละสถาบันก็แล้วแต่
1. ชุดนักเรียน
ใช่ครับ แค่ชุดนักเรียนก็เกิดความเหลื่อมล้ำกันแล้ว ทั้งเรื่องของยีห้อชุดที่ใส่ ราคา เพราะเดี๋ยวนี้แบรนด์เครื่องแบบนักเรียนออกมาตีตลาดหลายแบรนด์มาก ยิ่งช่วงเวลาใกล้เปิดเทอมจะเห็นเอามาวางขายในห้างเต็มไปหมด
2. กระเป๋า
บางโรงเรียน อย่างโรงเรียนที่ผมเคยเรียนสมัยมัธยม เขามีกฎระเบียบว่านักเรียนทุกคนต้องใช้กระเป๋าของโรงเรียนเท่านั้น ซึ่งก็เป็นข้อดีที่ว่า จะได้ไม่ต้องไปเลือกซื้อกระเป๋าที่อื่น และที่โรงเรียน จะขายในราคาเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้าโรงเรียนไม่มีกฎระเบียบนี้ ให้ใช้กระเป๋าใบไหนก็ได้ ก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำได้อีกเช่นกัน บางคนซื้อตามห้างราคาหลักพัน บางคนซื้อตามตลาดนัดราคา 300-400 บาท
3. อุปกรณ์การเรียน
แน่นอนว่า นี่จะเป็นสิ่งที่บอกความเหลื่อมล้ำได้เป็นอย่างดี และจะเห็นได้ค่อนข้าง​ชัดเจน บางคนมี บางคนไม่มี บางคนใช้ยีห้อราคาถูก บางคนใช้ยีห้อราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นกล่องดินสอ สีไม้ ดินสอกด ปากกา ฯลฯ
4. การเดินทาง​มายังโรงเรียน​ และการเดินทางกลับบ้าน
บางคน พ่อกับแม่ขับรถหรูมารับมาส่ง บางคน พ่อแม่ขับมอเตอร์ไซค์​มารับมาส่ง บางคน ต้องนั่งรถเมล์​มาเองกลับเอง บางคน ต้องเดินมาโรงเรียน​เอง เลิกเรียนก็เดินกลับบ้าน
5. การเรียนเสริม เรียนกวดวิชาเพิ่มเติม​
พ่อแม่บางคน ยอมควักกระเป๋า​จ่ายเงินเพื่อให้ลูกได้เรียนกวดวิชาจากอาจารย์​ติวเตอร์​ดังๆ ซึ่งส่วนมากก็เป็นผลมากจาก อาจารย์​ในโรงเรียน​สอนไม่เข้าใจ อธิบาย​ไม่ชัดเจน เลยต้องไปพึ่งโรงเรียน​กวดวิชา แล้วถ้าพ่อแม่​คนไหนที่เขาไม่มีเงินให้ลูกไปเรียนกวดวิชาละ จริงๆ​ถ้าเป็นแบบนี้การสอนของอาจารย์​ภายในโรงเรียนก็มีส่วนนะครับ
6. อาหารกลางวัน
เด็กบางคน เลือกที่จะห่อข้าวจากบ้านมารับประทานเอง เพื่อจะได้ประหยัดเงิน แต่เด็กพวกนี้ มันจะถูกบูลลี่อยู่เสมอว่าบ้านไม่มีตังค์ถึงต้องห่อข้าวมา ซึ่งเป็นค่านิยมที่เกิดขึ้นในหลายๆที่ และเกิดขึ้นกับเด็กที่ยังหารายได้ด้วยตนเองไม่ได้ด้วยซ้ำ
7. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อนี้จะคล้ายๆข้อ 3 ซึ่งบางคนมี บางคนไม่มี บางคนใช้ราคาถูก บางคนใช้ราคาแพง เห็นได้ชัดเลยจาก โทรศัพท์มือถือ
สุดท้ายแล้วเรื่องของความเหลื่อมล้ำ มันเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบ เพียงแต่จะมากจะน้อย และปัจจัย​หลักที่ทำให้เกิดปัญหา​นี้ไม่ใช่สิ่งของ​ ไม่ใช่วัตถุ​ ไม่ใช่สถานที่ แต่เกิดจากบุคคล
ถ้าตราบใดที่บริษัท​บางที่ยังรับคนเข้าทำงานโดยดูที่สถาบัน แบบนี้ความเหลื่อม​ล้ำก็ไม่มีทางหมด
ถ้าตราบใดที่ยังมองว่า คนที่เรียนหมอ วิศวะ คือคนเก่ง คณะอื่น คือคนหัวกลางๆ แบบนี้ความเหลื่อมล้ำก็ไม่มีทางหมด
ถ้าตราบใดที่ยังมีการมองว่า คนที่เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยคือคนจน แบบนี้ความเหลื่อมล้ำก็ไม่มีวันหมด
ฉะนั้นปัญหา​ความเหลื่อมล้ำ วิธีแก้ที่ดีที่สุด ควรจะแก้ที่ทัศนคติ​ของแต่ละบุคคล​ก่อนจะดีที่สุด
สามารถ​อ่านบทความ​อื่นของผมได้ที่นี่
ฝากติดตามและเป็นกำ​ลัง​ใจให้ผมด้วยนะครับ 😊​
นึกอะไรก็เขียน By Aof
โฆษณา