Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้ในอดีต
•
ติดตาม
4 ธ.ค. 2020 เวลา 09:05 • ประวัติศาสตร์
"วันนี้ในอดีต" วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - สิ้น "แม่ชู" ดาวตลกขวัญใจชาวไทย
#ชูศรี_มีสมมนต์ #แม่ชู #ตลกหญิง #วันนี้ในอดีต
ประวัติของ "แม่ชู" หรือ ชูศรี มีสมมนต์ มีข้อมูลเล่าว่า เธอเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนนาฏศิลป์ จากนั้นก็มาเรียนต่อชั้น ม. 6 ที่โรงเรียนขัตติยานีผดุง โดยระหว่างที่เรียนทางบ้านต้องการให้ชูศรีเรียนต่อในวิชาชีพพยาบาล แต่เจ้าตัวกลับมีความสนใจในการเป็นนักแสดง พูดง่ายๆ ว่าใจร่ำร้องอยากจะยึดอาชีพในแสงสี หรือที่หลายคนเรียกว่า “เต้นกินรำกิน”
แน่นอนส่วนหนึ่งเพราะเธอเรียนมาทางนาฏศิลป์ จึงชื่นชอบและมีความถนัดในการแสดงอยู่มากมาย จนกระทั่ง ตัดสินใจที่จะทำตามความฝัน ปฎิเสธคำขอของทางบ้าน
มีข้อมูลเล่าว่า ช่วงนั้น อาจารย์ลัดดา สารตายนต์ แห่งโรงเรียนนาฏศิลป์ สมัยนั้น ได้ตั้งคณะละครชายจริงหญิงแท้ขึ้น และเปิดการแสดงที่โรงละครแห่งชาติ ประเดิมด้วยเรื่อง “ผกาวลี” โดยมี “อุโฆษ จันทร์เรือง” เป็นพระเอก โดยฝ่ายของ “ชูศรี มีสมมนต์” ก็ได้มีโอกาสแสดงร่วมในละครเรื่องนี้ด้วย หากว่ากันว่า อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการตลกก็คือ “อบ บุญติค”
สำหรับบทบาทของชูศรีหนีไม่พ้นบทตลก ด้วยบุคลิกของเธออยู่แล้ว โดยในละครเรื่องนี้เธอรับบทเป็นเพื่อนนางเอก และยังมีการได้ร้องเพลงสลับหน้าเวทีอีกด้วย
http://164.115.22.43/library/mylib/bookdetail.php?book_id=5741
ต่อมา อาจารย์ลัดดา ก็ใช้ชื่อคณะละครตนเองว่า “ผกาวลี” ซึ่งตอกย้ำว่า ผลการแสดงเรื่องแรกนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และนั่นยังแปลว่า ชีวิตในเส้นทางการแสดงของชูศรีได้เปิดฉากขึ้นแล้ว ที่สุด ชูศรีใช้ชีวิตในเส้นทางแห่งความฝันที่เธอรัก เป็นศิลปินอิสระรับงานมากมายกับคณะละครหลายคณะ เช่น คณะเทพศิลป์การละคร คณะศิวารมณ์, คณะอัศวินการละคร, คณะวิจิตรเกษม, คณะชื่นชุมนุมศิลปิน, และคณะลูกไทย เป็นต้น
หากละครที่สร้างชื่อเสียงให้กับชูศรีมากที่สุดก็คือเรื่อง “ขุนเหล็ก” ซึ่งเธอแสดงคู่กับ “ดอกดิน กัญญามาลย์”
อาจารย์ลัดดา สารตายนต์
ทั้งนี้ ชูศรีตเล่นละครเวทีตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 มาจนถึงปี 2497 จากนั้นวงการละครเวทีก็ซบเซาลง โดยว่ากันว่า ครั้งสุดท้ายก่อนปิดฉากละครเวทียุคนั้น ส.อาสนจินดาได้รวบรวมนักแสดงทั้งหมดที่เกิดในวงการละครรวมทั้งชูศรี เล่นละครเรื่อง “อภัยทศพเนจร” แสดงที่โรงภาพยนตร์ศรีอยุธยา แต่ในที่สุดหลังจากนั้น ทุกคนก็แตกกระจายแยกย้ายกันไปตามทางของตน โดยชูศรีได้ไปสมัครร้องเพลงสลับหน้าม่านกับ “พยงค์ มุกดา” และ “เชาว์ แคล่วคล่อง” โดยเพลง "อัดซีบาบา คือเพลงแรกของชูศรีที่ร้อง
เส้นทางมืออาชีพ ไม่มีดับง่ายๆ ที่สุด ชูศรีได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ โดยผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของชูศรีคือเรื่อง “ยอดรักคนยาก” ของ ส.อาสนจินดา ขณะที่ตนเองยังเคยมีผลงานการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกกับเขาเหมือนกัน นั่นก็คือเรื่อง "แม่ค้าหาบเร่" นำแสดงโดย “เติม โมรากุล” กับ “กรองจิต เตมีย์ศิลปิน” โดยเข้าฉายที่เฉลิมกรุง ได้กำไรมา 1 หมื่นบาท
ภาพจาก http://th.thaibunterng.wikia.com/
จากนั้นเธอได้ทิ้งช่วงไปพักนึง ก็กลับมาอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “ในฝูงหงส์” แต่เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ชูศรีเลยต้องหันมาเล่นหนังอย่างเดียวอยู่นานหลายปี ที่สุดไม่ยอมแพ้ ลุกขึ้นมาสร้างหนังอีกเรื่องคือ “สามเกลอเจอล่องหน” โดยครั้งนี้ ได้ดาราแม่เหล็กระดับ “มิตร-เพชรา” มารับบทนำ แต่ก็น่าแปลกใจเพราะเรื่องนี้ก็เจ๊ง
แน่นอนผลจากหนังทั้งสองเรื่องไม่ประสบควมสำเร็จ ทำให้ชูศรีมีหนี้สินมากมาย แถมยังมีปัญหาชีวิตคู่ตามมาติดๆ คือ "เชิด โรจนประดิษฐ์" บุคคลในวงการละครวิทยุและภาพยนตร์ ผู้เป็นสามีที่เธอพบรักตั้งแต่อายุ 17 ได้มาหย่าร้างกันไป ชูศรีเลยต้องก้มหน้าดำเนินชีวิตต่อไปที่เหลือ โดยรับเป็นนักแสดงมาตลอดจนปี 2524 ชูศรีได้ล้มป่วย ต้องเข้าออกโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ และแล้ววันที่ 4 ธันวาคม 2535 แม่ชูได้เสียชวิตลงอย่างสงบด้วยอาการหัวใจล้มเหลวในวัย 63 ปี
อย่างไรก็ดี ต้องนับว่าชูศรี มีสมมนต์นับเป็นดาราตลกชั้นครู ที่มีความสามารถหลากหลาย ทั้งร้อง เต้น รำ เล่นละคร ได้หมด ชนิดที่หาไม่ได้ฝ่ายๆ ในยุคสมัยนี้ โดยเธอเป็นดาราตลกหญิงอาวุโส ที่มีชื่อเสียงรุ่นเดียวกับ ล้อต๊อก, ดอกดิน กัญญามาลย์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ท้วม ทรนง, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, มาลี เวชประเสริฐ, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต และ จุรี โอศิริ
ผลงานเด่นของแม่ชู เช่น "ช้อย" ใน สี่แผ่นดิน (2505), รายการทีวีชูศรีโชว์, โฆษณาแฟลตปลาทอง, อาหมวย ใน เงินเงินเงิน (2508), กิ่งแก้ว ใน ดาวพระศุกร์ (2509), สายคำ ใน แหวนทองเหลือง (2516), แม่พิณ ใน เคหาสน์สีแดง (2523), มาลี ใน เงินปากผี (2524), ทองจันทร์ ใน อาญารัก (2526), ยายจันทร์ ใน เจ้าจอม (2535)
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย