9 ธ.ค. 2020 เวลา 03:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อถนนทุกสายกำลังจะวิ่งไปรวมกันที่ “ตลาดเกิดใหม่”
1
การขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน (อย่างไม่เป็นทางการนั้น) ทำให้นักวิเคราะห์ทั่งโลกเห็นตรงกันในเรื่องหนึ่งก็คือ เราน่าจะเห็นการค้าโลกทยอยกลับมาดูดีขึ้น จากนโยบายต่างประเทศที่น่าจะเปลี่ยนท่าทีไปจากทำเนียบขาวชุดเดิมภายใต้การบริหารของนายโดนัล ทรัมป์
7
ทั้งนี้ เรายังคงเห็นคุณทรัมป์พยายามจะเซ็ตโทนในแง่ของนโยบายต่างประเทศ ให้เป็นงานที่ยากลำบากของตุณโจ ไบเดนมากขึ้น จากการที่ล่าสุด มีข่าวจากทำเนียบขาวว่า สหรัฐฯเตรียมแบนบริษัทจีนเพิ่ม อีก 4 บริษัทที่ดูมีสายสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกองกำลังปลดปล่อยประชาชน และรัฐบาลจีน โดย 2 ใน 4 คือ SMIC ผู้ผลิต semiconductor เจ้าใหญ่ และ CNOOC บริษัทผู้ผลิตน้ำมัน (นอกจีน) รายใหญ่ ทำให้ล่าสุด Blacklist ของทางการสหรัฐฯ แบนบริษัททั้งเล็กและใหญ่สัญชาตจีนไปแล้ว 35 บริษัทด้วยกัน
4
การแบน หรือ ขึ้นบัญชีดำบริษัทสัญญชาติจีนแบบนี้ สหรัฐฯ ต้องการอะไร?
เหตุผลที่คุณทรัมป์ ใช้ในการโจมตีจีนครั้งนี้ ก็เพราะ มองว่า จีนกำลังใช้ประโยชน์จากเงินทุนของสหรัฐฯมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการหาทรัพยากร และ พัฒนาระบบการทหาร หน่วยข่าวกรอง รวมถึงเครื่องมือรัการกษาความปลอดภัยอื่น ๆ ให้ทันสมัย ซึ่งในอนาคต จะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้จีนมีโอกาสคุกคามสหรัฐฯ และกองกำลังของสหรัฐอเมริกาในต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
4
นั่นคือ เหตุผลที่สหรัฐฯบอกเรา
เหตุผลที่เขาไม่ได้บอก แต่เราทุกคนรู้ก็คือ ถ้าสหรัฐฯไม่พยายามเตะตัดขาจีนให้เยอะกว่านี้ ในอีก 15 ปีข้างหน้า จีนจะขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ด้วยการมีขนาด GDP ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจีนตั้งเป้า ขอมี GDP Growth โตปีละ 4.7% นับจากนี้เป็นต้นไป ก็จะไปถึงเป้าหมาย ขนาดใหญ่ขึ้น 2 เท่าในอีก 15 ปีข้างหน้าได้
5
สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำของโลกนับตั้งแต่หลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหรือจะยอมให้เกิดสิ่งนี้ง่ายๆ? มันเลยเป็นเหตุผลที่เราทุกคนรู้อยู่แล้วครับว่า เกมส์การชิงอำนาจนี้ จะดำเนินต่อไปในอีก 15 ปีข้างหน้าแน่ๆ
2
แปลว่า การแข่งขันครั้งนี้ ไม่ใช่การวิ่งแข่ง 100 เมตร แต่เป็นการวิ่งมาราธอนระยะยาว ซึ่งใครนำอยู่ตอนนี้ ก็ยังตอบไม่ได้ว่า เขาจะกลายเป็นผู้ชนะในตอนจบ
ถึงจะเห็นแบบนั้น โลกก็ดูออกว่า ทำเนียบขาวภายใต้การนำของนายโจ ไบเดน จะไม่ได้ใช้กลยุทธ์เดียวกับคุณทรัมป์ในการจัดการกับจีน
แต่น่าจะออกมาในรูปแบบของการกลับเข้าสู่การเจรจาแบบพหุภาคี ขยายอิทธิพลสู่ประเทศพันธมิตร กลับมาเป็นพี่ใหญ่ของสังคมโลกอีกครั้ง หลังจากหายไป 4 ปีเต็มๆ
5
ในยุคของโจ ไบเดน จีนเป็นคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวของสหรัฐฯเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเติมคือ วิธีการต้องเปลี่ยนไป
4
สิ่งหนึ่งที่เป็นหลักฐานว่าเปลี่ยนแน่ๆคือ ถ้อยคำสัมภาษณ์ที่เขาให้ไว้กับ Foreign Affairs Magazine ก่อนการเลือกตั้งว่า
1
“เพื่อให้สหรัฐฯชนะการแข่งขันกับจีนหรือใครก็ตามในอนาคต สหรัฐฯจำเป็นต้องเพิ่มความคมชัด ด้านนวัตกรรม และแสวงหาการร่วมมือกัน และการรวมพลังทางเศรษฐกิจของระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก ทั้งนี้ก็เพื่อต่อต้านแนวทางการดำเนินนโยบายทางเศรฐกิจที่ไม่เหมาะสม และเพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันอย่างที่เป็นอยู่”
4
และไม่ต้องเดาว่าพหุภาคี ที่สหรัฐฯมองหา หลังจากทราบผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการนั้นอยู่ที่ไหน นักวิเคราะห์ และนักเศรษฐศาสตร์ต่างบอกไปในทางเดียวกันว่า การที่สหรัฐฯต้องกลับไปเจรจาข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับตลาดเกิดใหม่ (โดยเฉพาะประเทศในเอเชียแปซิฟิก) จะช่วยให้สหรัฐฯยืนยันความเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้อีกครั้ง และยังช่วยต่อต้านการครอบงำของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในเวทีโลก
2
ล่าสุด จีนก็เดินเกมส์รุกมากขึ้นทันทีด้วยการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค (Regional Comprehensive Partnership Agreement - RCEP) ซึ่งประกอบไปด้วย 10 ชาติอาเซียน บวกกับจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีประชากรรวมกันราว 2,200 ล้านคน และคิดเป็น GDP รวมกันถึง 30% ของโลก และจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังจากนี้
เป้าหมายที่สหรัฐฯต้องทำ ก็คือ การกลับมามองความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership - TPP) ที่ริเริ่มในสมัยนายบารัค โอบาม่า อีกครั้ง ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า CPTPP หรือมีชื่อเต็มว่า Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership
2
ซึ่งจีนเอง ก็รู้เรื่องนี้อีก สื่อในจีนได้มีการเปิดเผยเมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมาว่า ประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง แสดงตวามสนใจที่จะเข้าร่วมข้อตกลงการค้า CPTPP ด้วยเช่นกัน
2
CPTPP ตอนนี้ประกอบไปด้วยชาติสมาชิก 11 ชาติ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร์ และเวียดนาม ไม่ว่า ชาติที่ 12 จะเป็นสหรัฐฯ หรือ จีน จะทำให้ CPTPP จะกลายเป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุด แซงหน้า RCEP ทันที
3
เรากำลังเข้าสู่ยุคการต่อสู้ของ 2 มหาอำนาจ ด้วยการกลับขยายอำนาจและอิทธิพลทางเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯและจีน และเกมส์ที่ทั้งคู่จะเล่นแน่ๆในอีก 15 ปีข้างหน้า ก็คือ การแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นๆในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลก
ทำไมต้องตลาดเกิดใหม่?
1
1. จากการคาดการณ์ของ IMF หลังจากนี้ไป การเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะมาจากตลาดเกิดใหม่เป็นหลัก โดย Growth Rate จะสูงกว่าตลาดพัฒนาแล้วถึง 2 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้าทีเดียว
1
2. ตลาดเกิดใหม่มีสัดส่วนเกิน 60% ของ GDP ของโลกและยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันส่วนแบ่งของตลาดพัฒนาแล้วใน GDP โลกได้ลดลงเหลือ 40% และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง
3
3. โครงสร้างประชากรที่สนับสุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยประเทศในตลาดเกิดใหม่หลายประเทศมีแรงงานที่อายุน้อย กำลังเติบโตและมีการศึกษาดีมากขึ้น พร้อมๆกับชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประมาณ 90% ของประชากรโลกที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี อาศัยอยู่ในตลาดเกิดใหม่ทั้งสิ้น
3
4. ตลาดเกิดใหม่อยู่ในแถวแนวหน้าของ Technology Disruption โดยมีบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่กุมอำนาจหลายแห่ง เช่น Huawei, Samsung, TSMC และ Tencent ที่ถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีนวัตกรรมและมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลกโดยได้รับแรงหนุนจากชนชั้นแรงงาน ชนชั้นกลาง ที่มีอำนาจการจับจ่ายดีขึ้นเรื่อยๆ
ในแง่ของการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ เราต้องยอมรับว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กระแส Fund Flow ไหลกลับเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
หลักๆก็คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Apple, Amazon, Google หรือ แม้กระทั่งหุ้นอย่าง Tesla ที่น่าจะกลายเป็นผู้นำในเทรนด์รถยนต์พลังงานไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้
ทิ้งให้การลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ดูหายไปจากเรดาร์ของนักกลยุทธ์ในการจัดทำ Asset Allocation วางพอร์ตระยะยาวมาอย่างยาวนาน
แม้แต่หุ้นไทยเราเอง ก็ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้มา 3 ปีแล้ว ส่วนหนึ่ง ก็เพราะเรื่องของการขาดนวัตกรรมทำให้ดึงดูงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติไม่ได้มาตลอด
1
แต่ตอนนี้ เราเริ่มเห็นกระแสเงินลงทุนไหลกลับทิศ จาก Growth Play สู่ Value Play , จาก Technology สู่ Real Sector , จาก Recession Fear สู่ Reflation Theme
3
และที่น่าสนใจหลังจากนี้ จากที่เขียนมาทั้งหมดว่าจะเกิดขึ้นไหมก็คือ จาก Developed Markets สู่ Emerging Markets
เราคงต้องมาดูกัน
Mr.Messenger รายงาน
โฆษณา