9 ธ.ค. 2020 เวลา 03:55 • การตลาด
มนตราแห่งแบรนด์ (Brand Mantra) Blog 2/2
ในการออกแบบมนตราของแบรนด์นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ Emotional Modifier (ส่วนขยายด้านอารมณ์), Descriptive Modifier (ส่วนขยายคำอธิบาย) และ Brand Function (หน้าที่ของแบรนด์) ยกตัวอย่าง แมคโดนัลด์มีสโลแกนว่า “I’m lovin’ It” แต่มีมนต์เสน่ห์แห่งแบรนด์ คือ “Fun Family Food” เพื่อสื่อถึงแก่นแท้ของแบรนด์ว่า “ เป็นการรับประทานอาหารกับครอบครัวด้วยกันอย่างสนุกสนาน” โดยมี Emotional เป็น Fun, Descriptive เป็น Family และ Function คือ Food
2
ดังนั้น การค้นหาคำสามคำ คือ Message ที่จะนำมาสื่อสารคุณค่าของแบรนด์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้สร้างข้อความต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความหมายอย่างแท้จริงถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย จึงต้องวิเคราะห์ถึงคุณค่าอย่างแท้จริงของแบรนด์ เพื่อให้เกิดคำพูดที่ตรงกับคุณค่าที่ต้องการสื่อให้แก่ลูกค้ารับรู้และเข้าใจมากที่สุด แต่สิ่งที่น่าสังเกต คือ มนตราของแบรนด์จะเน้นการสื่อสารคุณค่าเชิงอารมณ์ (Emotional Value) ในขณะที่คำขวัญหรือสโลแกนเน้นการสื่อสารคุณค่าเชิงหน้าที่ (Functional Value) ของสินค้าหรือบริการมากกว่า
1
อย่างไรก็ตาม ทั้งมนตราของแบรนด์และสโลแกนก็ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน คือ สื่อสารแบรนด์ แต่ต้องตอกย้ำให้ลูกค้าได้เห็นหรือได้ยินบ่อยๆ ด้วยเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่สามารถเจาะเข้าไปในสมองผ่านส่วนการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้งห้า (Sensory Marketing) ของลูกค้าเพื่อสร้างการจดจำถี่ๆ บ่อยๆ เช่น 7-11 ตอกย้ำการรับรู้เชิงหน้าที่ด้วย สโลแกนว่า “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” แต่สร้างมนต์เสน่ห์แห่งแบรนด์ใหม่ว่า “อิ่มสะดวก” เพื่อสะกดให้ลูกค้าอยู่กับตำแหน่งในการบริการใหม่ของ 7-11 จากร้านค้าสะดวกซื้อกลายมาเป็นร้านค้าผลิตภัณฑ์ที่รับประทานง่ายๆ ให้แก่ลูกค้าได้อิ่มอย่างสะดวก
1
บางผลิตภัณฑ์ก็ใช้เสียงเพลงที่เปิดบ่อยๆ เพื่อ Recall (ผู้บริโภคนึกออก) และ Recognize (ผู้บริโภคจำได้) เพียงแค่ได้ยิน Jingle 3 พยางค์ของเพลง “ตือ ดื๊อ ดึ่ด” ก็ระลึกได้ทันทีเลยว่าเป็น “Walls” ทั้งๆ ที่ลูกค้ามองไม่เห็น แต่จากความคุ้นเคยที่ได้ยินบ่อยๆ จึงได้ยินกันจนน้ำลายไหลเรียบร้อยโรงเรียน Walls เลยทีเดียว
1
7-11 Jingle ที่เราได้ยินมนต์สะกดอยู่จนชินหู
โฆษณา