13 ธ.ค. 2020 เวลา 01:52 • ปรัชญา
"คู่กรรม" มีความเชื่อว่า เป็นคู่ที่เคยทำกรรมร่วมกันมา อาจจะเคยสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจ ให้กับคู่ของคุณเองหรือคนรอบข้าง อาจจะเคยเป็นศัตรูคู่แค้นตามกันมาตั้งแต่ชาติปางกัน ลักษณะของคู่กรรมมีดังนี้
1. มีศีลต่างกัน คนหนึ่งอาจจะอยู่ในศีล แต่อีกคนหนึ่งจะไม่รักษาศีล และเมื่อเห็นว่าอีกฝ่ายไม่รักษาศีลตนก็จะไม่รักษาศีลบ้างเช่นกัน
2. ได้พบได้เจอ ได้อยู่ด้วยกัน เจอหน้ากันครั้งแรกจะมีแต่แรงเสน่หาปรารถนาจะร่วมเพศต่อกัน พึงพอใจในกามรมณ์จนอาจจะแต่งงานหรือไม่แต่งงานก็ได้
3. มีความชอบ ไม่เหมือนกันคนหนึ่งชอบอย่าง อีกคนชอบอีกอย่าง มักจะขัดแย้งกัน แต่ก็หนีกันไม่ได้ หนีไม่พ้น ต้องพบต้องเจอสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กัน
4. ไม่จุนเจือเกื้อหนุนกัน ต่างคนต่างอยู่ คอยแต่จะเอาชนะกัน มีความโกรธเกลียด อาฆาตต่อกัน แม้ว่าจะเป็นสามีภรรยากันก็ตาม รู้สึกไม่ถูกชะตา
5. ด่าทอ ทุบตี ต่อสู้แย่งชิงกัน สุดท้ายจะดีกันเพราะกามรมณ์ เลิกลากันไม่ได้เพราะยังไม่หมดกรรม
6. นอกใจ นอกกายเมื่อมีโอกาสไม่ว่าจะชายหรือหญิง หาเรื่องเดือดร้อนเข้ามาให้อีกฝ่ายเสมอๆ
7. ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างมีกิจกรรมของตนเอง ไม่ได้มองถึงความสุขในครอบครัวมองแต่ความสุขตนเองเป็นหลัก
8. ไม่ช่วยทำมาหากิน บางทีก็ล้างผลาญ หาเงินได้มามุ่งไปแต่อบายมุขและความสุขส่วนตัว
9. ทอดทิ้งในยามทุกข์ยาก ต่างคนต่างอยู่ ไม่ดูดำดูดี
10. อาจจะได้อยู่ด้วยกันจนคนหนึ่งตายจากไป หรืออาจจะหย่าร้างกันไปก่อนตายจากแบบนี้จึงเรียกว่า “หมดกรรม”
สำหรับใครที่อยู่ในสภาวะคู่กรรมแบบนี้ แนะนำให้ใช้ธรรมะในการครองเรือนมาใช้ในบ้าน เทคนิคการใช้ชีวิตคู่ให้มีความสุข คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ให้ความเมตตา วางเฉยบ้างเมื่อเวลามีความทุกข์ ข้อสำคัญคือ เกรงกลัวต่อความชั่วละลายต่อบาป หาเวลาสร้างบุญใหม่เพื่อชีวิตคู่จะดีขึ้น
ธรรมะสวัสดี
#เห็นทุกข์เห็นธรรม
โฆษณา