Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Oil the explorer
•
ติดตาม
15 ธ.ค. 2020 เวลา 07:56 • ประวัติศาสตร์
นางกวัก แมวกวัก
สิ่งมงคล ความเชื่อ ความศรัทธาของคนค้าขาย
นางกวัก เป็นเทพีแห่งโชคลาภตามคติไทย ถือเป็นของขลังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ทำเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับอย่างธรรมเนียม
ไทย นั่งพับเพียบ มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหา[1] เชื่อว่าเทพีองค์นี้จะกวักมือเรียกทรัพย์ เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าแม่ขายชาวไทยเพราะถือว่าเทพีองค์นี้จะเรียกลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าในร้าน
สันนิษฐานจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถระบุได้ว่าความเชื่อในเรื่องนาง
กวักของประเทศไทยนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากสามารถค้นพบหลัก
ฐานรูปปั้นหรือรูปสลักของนางกวักได้ต้้งแต่ยุคดังกล่าว และหลังจากนั้นก็พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่อยมา วัสดุที่ใช้ในการสร้างนางกวักในยุคโบราณนั้นมีทั้ง
จากงาช้าง โลหะ ไม้และหิน
Cr:thaprachan.com
เพราะตั้งแต่จำความได้ก็เห็นภาพพ่อค้าแม่ค้า พากันกราบไหว้บูชารูปปั้นนางกวัก ที่ตั้งอยู่บนหิ้งหรือตามมุมต่างๆ ในร้านค้า ด้วยน้ำแดงและพวงมาลัย ตั้งแต่ร้านขาย
ของเล็กๆ ไปจนถึงกิจการขนาดใหญ่ จนเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คุ้นชินตาไปเสียแล้ว...
.
แม้จะเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าลองถามย้อนกลับไปถึงต้นตอความเป็นมาและความเชื่อ หลายคนน่าจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าจริงๆ แล้วตำนาน “นาง
กวัก” มีแหล่งกำเนิดมาจากความเชื่อท้องถิ่นของชนชาติไทย ซึ่งปรากฏอยู่ในความ
เชื่อดั้งเดิมของชนกลุ่มไท-กะได ว่าเธอผู้นี้เป็นเสมือนผีที่คอยเรียกเงินเรียกทอง
.
แต่ถ้าย้อนกลับไปอ้างอิงตามความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ตำนานกล่าวไว้ว่านางกวักเดิมนางชื่อ “สุภาวดี” มีบิดาเป็นพ่อค้า มีนิสัยจิตใจดี ชอบทำมาค้าขาย ชอบฟังเทศน์ฟังธรรม นางสุภาวดี ได้รับพรจากพระอรหันต์ถึงสององค์ว่า คือ “พระกัสสป-เถระเจ้า" และ “พระสิวลีเถระเจ้า" ในเรื่องการค้าขายเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ส่งผลให้บิดาของนางค้าขายได้กำไรตลอดไม่มีขาดทุน เมื่อนางสิ้นชีวิตชาวบ้านจึงปั้นรูปแม่นางสุภาวดีไว้บูชา ความเชื่อนี้ได้แพร่หลายเข้ามายังดินแดน
สุวรรณภูมิ จากการเผยแพร่ของพราหมณ์ สืบมาจนถึงทุกวันนี้
http://xn--k3cpjt9d6a4e.net/
แมวกวัก หรือ maneki neko เป็นสิ่งมงคล นำโชคลาภมาให้ ตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่น
มีอยู่หลายตำนานที่อธิบายความเชื่อในตัวแมวกวัก แต่มีตำนานหนึ่งที่มักถูกกล่าวถึงคือ "ที่ วัด Gotokuji ในเขต Setagaya ของกรุงโตเกียว คืนวันหนึ่งมีซามูไรท่าน
หนึ่งเดินผ่านหน้าของวัด มีแมวนั่งอยู่และร้องเรียกให้ซามูไรท่านนั้นเข้าไปพักผ่อนภายในวัดก่อน ปรากฎว่าในคืนนั้นเองเกิดขึ้นพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก จนถึงรุ่งเช้าซามูไรจึงรู้สึกขอบคุณที่แมวได้เรียกให้เขาเข้าไปพักภายในวัด จึงบริจาคทรัพย์
เป็นจำนวนมากเพื่อเป็นการทำนุบำรุงวัด นี่จึงเป็นที่มาของตำนานแมวกวักของชาว
ญี่ปุ่น
นี่คือรูปปั้น maneki neko จำนวนมากมายที่วัด Gotokuji
Cr: wikipedia
แต่สิ่งหนึ่งที่แมวกวักของญี่ปุ่นต่างจากนางกวักของไทยก็คือ รูปแบบของแมวกวัก
นั้นมีหลากหลายและแต่ละแบบก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป
แมวกวักที่ยกเท้าซ้ายจะให้โชคเรื่องความสัมพันธ์กับผู้คน การติดต่อคบค้า ดังนั้น
แมวที่ยกเท้าซ้ายขึ้นจึงเหมาะกับร้านที่ต้องการเรียกลูกค้าให้เข้าร้านมากๆ
Cr:insidejapantour
แมวกวักที่ยกเท้าขวาจะให้โชคเรื่องการเงิน
Cr: Allabout-japan
ตำแหน่งการวางแมวกวักที่ถูกต้อง จะวางโดยคำนึงถึงพื้นฐาน 3 ข้อ ดังนี้
ตั้งไว้ในตำแหน่งที่โดดเด่นสะดุดตา ผู้คนมองเห็นง่าย
ตั้งไว้ให้สูงกว่าระดับสายตา
ตั้งให้แมวกวักหันหน้าออกไปนอกร้าน
หากจะตั้งคู่กันทั้งสองตัว ต้องจัดวางให้ด้านที่ยกเท้าไว้อยู่ด้านนอกเสมอ
Cr:medium.com
ในปัจจุบันด้วยความนิยมของเรื่องฮวงจุ้ย จึงมีการผลิตแมวกวักสีต่างๆออกมาวางขาย แต่ตามปกติแล้วแมวกวักจะต้องเป็นแมวสามสี ได้แก่ สีดำ สีน้ำตาลและสีขาว
Cr:th.anngle.org
สุดท้ายนี้ แม้ว่าเราจะมีความเชื่อความศรัทธาไม่ว่าจะเป็นในแมวกวักหรือนางกวักก็ตาม หากธุรกิจร้านค้าดำเนินกิจกาารอย่างซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและขยันขันแข็ง อย่างไรเสียสักวันลูกค้าก็ต้องมองเห็นอย่างแน่นอน ตรงกันข้ามแม้จะมีนางกวักหรือ
แมวกวักสักสิบยี่สิบตัวแต่ทำมาค้าขายด้วยความเห็นแก่ได้ ก็คงไม่มีวันเจริญรุ่งเรืองเป็นแน่แท้
อ้างอิง
meow360.com
dhamma.mthai.com
vsaji.fr
thaprachan.com
th.anngle.org
สิ่งมงคลญี่ปุ่น เรื่องและภาพโดย ชิเอโกะ ฮิโรตะ แปลโดย กิ่งดาว ไตรยสุนันท์
ภาพประกอบนางกวัก อาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย