16 ธ.ค. 2020 เวลา 19:05 • การเมือง
เมื่อพลเมืองสำคัญไม่เท่ากัน
ในมุมมองของรัฐ
เหตุการณ์การณ์แย่งกันการแย่งกันใช้จากโครงการ -คนละครึ่ง- เมื่อช่วงเวลาที่ผ่านมา สะท้อนความยากไร้ในหลากหลายมิติของประเทศ ทั้งความยากไร้ทางเศรษฐกิจของพลเมือง และความยากไร้ของการจัดการของรัฐ
ก่อนอื่นบอกก่อนเลยว่าผมเป็นคนนึ่งที่เข้าร่วมโครงการนี้ เนื่องความความจำเป็นทางเศรษฐกิจในสภาวะฝืดเคืองในปัจจุบัน แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าจำนวนเงินที่ให้นั้น คือ แนวคิดพื้นฐานของโครงการและลักษณะของกิจกรรมที่รัฐพยายามนำเสนอ
หากเทียบการกระตุ้นเศรษฐกิจตามรายได้ประชาชาติ (GDP) ทุกตัวได้รับผลกระทบทั้งหมดจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการจัดการในภาพใหญ่ของประเทศ ฉะนั้นตัวเดียวที่จะพอกระตุ้นได้ คือ การบริโภคภายในประเทศ (Consumption)
จึงเป็นที่มาของโครงการ -คนละครึ่ง- -เราเที่ยวด้วยกัน- ช้อปดีมีคืน- ที่ช่วยส่งเสริมการใช้จ่ายภายในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นการหมุนเวียนเงินในระบบ เมื่อพิจารณาที่ผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจ อาจจะถกเถียงได้ว่ากระตุ้นได้ดีจริงไหมอย่างไร แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นของเรื่องราววันนี้
ความท้าทายสำคัญของตัวโครงการ คือ ความเท่าเทียม
เมื่อให้ความสำคัญเชิงตัวเลขทางเศรษฐกิจมาก ๆ ย่อมละเลยรายละเอียดเชิงคุณภาพ มิติความเป็นมนุษย์ มิติทางสังคม หน้าตาทางสังคม และรวมถึงคุณภาพชีวิต (เหมือนกับคนที่ทำงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพที่ชอบตีกันนั่นแหละ)
เมื่อรัฐไม่ได้มองพลเมืองเป็นมนุษย์ แต่กลับมองพลเมืองเป็นสินค้าของรัฐ ใครมีความสามารถในเข้าถึงทรัพยากรมากกว่า ถือเป็นสินค้าคุณภาพสูง ก็จะได้รับโอกาสต่าง ๆ จากรัฐมากกว่าคนที่ไม่มีอะไรเลย ที่ถือเป็นสินค้าด้อยคุณภาพของรัฐ ประมาณว่าอ่อนแอก็แพ้ไป รัฐจึงมีลักษณะในการจัดลำดับชั้นต่ำสูง
ซึ่งไม่ต่างจากการแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ที่เป็นพื้นที่สำหรับคนที่พร้อมกว่าเท่านั้น คนที่ไม่พร้อมไม่มีสิทธิ ที่ต้องมาแย่งชิงกันในพื้นที่ที่ถูกรัฐจัดการและกำหนด ไม่ได้เปิดเสรีในการเข้าถึงให้กับทุกคน
เมื่อรัฐไม่ได้มองพลเมืองเป็นมนุษย์ การจัดหาหรือจัดสรรสวัสดิการจึงไม่ได้เป็นรูปแบบแบบสวัสดิการถ้วนหน้า ที่ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับอย่างเท่าเทียม เสมอหน้าอย่างพร้อมเพียงกันทุกคน รัฐจึงจัดสวัสดิการแบบสงเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
คนที่ไม่มีโอกาสในการใช้สิทธินี้ ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมในการใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ความพร้อมของค่าใช้จ่ายด้านเครือข่าย ทักษะการใช้งานดิจิทัล จึงไม่ใช่สาระสำคัญของการพิจาณาในตัวกรอบของโครงการ เพราะเป้าหมายไม่ได้จะสร้างความเท่าเทียมในสังคม แต่เป็นเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
จึงแตกต่างจากลักษณะของโครงการ -บัตรทอง- ที่พลเมืองทุกคนมีสิทธิได้รับ แต่หากคุณมีความสามารถในการจ่ายมากกว่า คุณมีสิทธิที่เลือกใช้บัตรทองหรือไม่ นั่นคือสิทธิของพลเมืองที่มีโอกาศเลือก ซึ่งถือเป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ไม่ใช่รูปแบบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างปัจจุบัน
ฉะนั้น พอจะวิพากษ์วิจารย์ตัวโครงการที่เกิดขึ้น จึงเป็นได้เพียงโครงการที่กระทำเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไร้ซึ่งการเคารพศักดิ์ศรีความเท่าเทียมของการเป็นมนุษย์
เมื่อเป็นเช่นนั้น รัฐจึงถูกตั้งคำถามอีกครั้งถึงความชอบธรรมของการดำรงอยู่ของตนเอง ในฐานะตัวกลางในการสร้างความเท่าเทียมให้กับสังคม
รัฐทำได้จริง ๆ อย่างนั้นหรือ ?
facebook :
#แค่อยากจะเล่าให้คุณฟัง
Pic: thairath online
อ้างอิง/แนวคิด
social justice
government welfare
โฆษณา