Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Oil the explorer
•
ติดตาม
17 ธ.ค. 2020 เวลา 05:32 • อาหาร
แรกมี ความเป็นมาของ "สตรอเบอร์รี่" ในเมืองไทย
Cr:laidbackgardener.blog
เมื่อลมหนาวเริ่มมาเยือนในทุกปี ส่งสัญญาณว่าถึงช่วงการออกผลผลิตของผลไม้ที่ทั้งอร่อยและสวยในคราวเดียวกันอย่าง "สตรอเบอร์รี่"
ก่อนจะกล่าวถึงแรกมีของสตอร์เบอร์รี่ในบ้านเรา ขอพูดถึงความเป็นมาของผลไม้สี
แดงชนิดแต่พอสังเขป มนุษย์รู้จักและบริโภคมันตั้งแต่สมัยที่พบมันเมื่อตอนตั้งถิ่น
ฐานทั้งในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย ในยุคนั้นมนุษย์มิได้บริโภคสตรอเบอร์รี่เป็น
ผลไม้เพียงอย่างเดียวหากแต่ใช้เป็นยาด้วย และสตรอเบอร์รี่ที่พวกเขารับประทานก็
เป็นชนิดที่เรียกกันว่า woodland strawbery (ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Fragaria vesca )หรือสตรอเบอร์รี่ป่า อาจจะมีหน้าตาคล้ายๆกับที่เรารับประทานกันในปัจจุบันแต่มี
ขนาดเล็กกว่ามากและมีกลิ่นที่แรงกว่า
Cr:calscape.org
ในสมัยโรมัน เริ่มมีการปลูกสตอเบอร์รี่เพื่อใช้เป็นยาและประดับตกแต่งบ้าน ทว่าเมื่อโรมันล่มสลายก็ไม่ปรากฎว่ามีการปลูกสตรอเบอร์รี่อีกเลย ล่วงเลยมาจนถึงศตวรรษที่ 14 ชาวยุโรปจึงได้กลับมาปลูกสตรอเบอร์รี่กันอีกครั้งในยุคสมัยของพระเจ้าชาลส์-ที่ 5 กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส(ค.ศ. 1364-1380) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาการเพาะปลูกสตรอ-
เบอร์รี่ก็แพร่หลายออกไปในยุโรป มีการปรับปรุงพันธุ์กันเรื่อยมากจวบจนปัจจุบัน
Cr:Lizzieharper.co.uk
สตรอเบอร์รี่ที่เรารับประทานกันในปัจจุบันเรียกกันว่า garden strawberry มีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า Fragaria × ananassa
แรกมีของสตรอเบอร์รี่ในประเทศไทย จากการสืบค้น ในหนังสือเรื่อง "เด็กบ้าน-
สวน"ของ พ.เนตรรังษี ได้มีการกล่าวถึงสตรอเบอร์รี่เอาไว้ว่า "ท่านเจ้าพระยาผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงกลาโหมในยุคนั้น ท่านผู้นี้เมื่อกลับจากกระทรวงตอนเย็นๆ ท่านว่างท่านมักมาทำสวน ท่านชอบปลูกต้นไม้ทั้งไทยฝรั่ง ท่านปลูกแม้สตรอเบอ-ร์รี่ ลูกของมันสีแดง ลูกเล็กๆ รสเปรี้ยว ...." จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า สตรอเบอร์รี่มีปรากฎในแผ่นดินไทยของเรามาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๖ (พ.เนตรรังษีเป็นนามปากกาของ พัฒน์ เนตรรังษี หนึ่งในนักเขียนคณะสุภาพบุรุษอันโด่งดังในอดีต) เพราะนักเขียนท่านนี้มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๑๙ จึงอนุมานได้ว่าสตรอเบอร์รี่เข้ามาในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันก็กว่า 114 ปีมาแล้ว
จวบจนกระทั่งในรัชสมัยของ "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุล-ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร " หรือในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระองค์ท่านเป็นผู้ริเริ่ม
นำสตรอเบอร์รี่มาทดลองเพาะปลูกในพื้นที่โครงการส่วนพระองค์หรือโครงการหลวง เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ได้เริ่มดำเนินการมาระหว่างปี พ.ศ.2517-2522 โดยเริ่มนำสตรอว์เบอร์รี่จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวด-
ล้อมบนภูเขาสูงในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย โดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในไทยตอนนี้ ประกอบด้วย
Cr:kasetNaNa
1. พันธุ์พระราชทาน 16 (พันธุ์ Tioga)
เป็นพันธุ์ที่มาจากสหรัฐอเมริกา แต่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่าง
กว้างขวาง ผลขนาดปานกลางถึงใหญ่ มีจำนวนผลต่อช่อมาก ผลแข็ง สีแดง ค่อน
ข้างทนต่อสภาพอุณหภูมิสูง ทนทานต่อการขนส่ง แต่มีรสชาติออกเปรี้ยว จึงเหมาะสำหรับการแปรรูปมากกว่าการกินผลสด
Cr:Flower Power
2. เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่นชื่อ Toyonoka
นำมาทดลองเพาะปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอินทนน์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นสตรอ
เบอร์รี่พันธุ์เบาแต่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ผลขนาดใหญ่มีรูปร่างเป็นทรงกรวยหรือ
กลม สีแดงสดแต่ไม่สม่ำเสมอ มีกลิ่นหอม ฉ่ำและรสค่อนข้างหวาน เนื้อและผิวแข็ง
เหมาะต่อการขนส่งและเก็บรักษา ชื่อพันธุ์พระราชทานมีที่มาจากเป็นวาระที่ตรงกัน
กับที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เจริญพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา
Cr:Research.net
3. พันธุ์พระราชทาน 72
เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ชื่อ "Tochiotome" ถูกนำมาปลูกใน
แปลงทดลองของสถานีเกษตรหลวงดอยปุยและอ่างขาง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๔ ลักษณะผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ถึงใหญ่มาก เนื้อด้านในมีสีขาวเมื่อสุกเต็มที่ผลจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น แต่มีรสชาติหวานน้อย และเช่นเดียวกันที่มาของชื่อพระราชทาน 72 มาจากวาระที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เจริญพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา
Cr:Nippon.com
4. พันธุ์พระราชทาน 60
สตรอเบอร์รี่ลูกผสมสายพันธุ์แรกอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ซึ่งกรมวิชา
การเกษตรได้ออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชไว้เมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2549 สตรอเบอ-รีพันธุ์ พระราชทาน 60 หรือ รหัส 003-00 ได้ถูกคัดเลือกครั้งแรกใน ฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. 2544/2545 ที่แปลงทดลองของสถานีวิจัยดอยปุย (พิกัดที่ตั้ง 18° 48’ 39’’ N, 98° 53’ 5’’ E สังกัดสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบนิเวศเกษตร มหาวิทยาลัย-
เกษตรศาสตร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการผสมข้ามระหว่างพันธุ์
Rosa Linda และ Tochiotome
มีขนาดผลที่ใหญ่ รสชาติหวาน เนื้อในผลสีแดงสด ผิวแดงจัดเป็นเงามัน รูปทรง
กรวยคล้ายหัวใจ กลิ่นหอม และผลผลิตต่อต้นค่อนข้างสูง
Cr:ichigosemi.circlecamp.com
5. พันธุ์พระราชทาน 80
ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยใช้เมล็ดลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่น มาทดลองปลูกที่สถานีเกษตรหลวงดอยปุยและอ่างขาง แล้วใช้เวลาในการ
วิจัยอย่างต่อเนื่องถึง 6 ปี จึงสามารถปรับปรุงพันธุ์ให้เพาะปลูกได้ในเชิงพาณิชย์
มีจุดเด่นที่ต้นมีขนาดใหญ่ แข็งแรงให้ผลดก ผลขนาดใหญ่รูปทรงสวยงามเนื้อสีแดงสดใส รสชาติก็ดีมากคือหวานและมีกลิ่นหอม
Cr:food.mthai.com
6. พันธุ์พระราชทาน 88
พันธุ์ใหม่ล่าสุดเกิดจากการนำพันธุ์พระราชทาน 60 มาผสมกับพันธุ์พระราชทาน 80 มีจุดเด่นอยู่ที่ขนาดของผลค่อนข้างสม่ำเสมอ สีส้มแดงถึงแดงสด เนื้อละเอียดแน่น มีรสหวานกว่าพันธุ์อื่น และโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยกลิ่นที่หอมกว่าพันธุ์อื่นๆ
Cr:thairathonline
ตอนนีสตรอเบอร์รี่จากภาคเหนือเริ่มออกสู่ตลาดแล้ว และจะทะยอยออกมาเรื่อยๆ
และมีมากที่สุดในช่วงกลางเดือนมกราคมไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เป็น
โอกาสที่ดีที่เราจะได้บริโภคสตรอเบอร์รี่สดๆ รับประทานได้ทั้งผลสด ทำขนม น้ำปั่น แปรรูปเป็นแยมหรือน้ำเชื่อม ได้ในราคาที่เป็นมิตรกับกระเป่าสตางค์ของคนไทย
สตรอเบอร์รี่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการมากมาย วิตะมินซีสูง ไฟเบอร์สูง
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช้าอยู่ใย รีบพุ่งไปตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตจัดกันคนละ
สักแพ็คสองแพ็คเป็นไร
Cr:lovefit
อ้างอิง
laidbackgardener.blog
uvm.edu
.
topspicks.tops.co.th
rdi.ku.ac.th
เด็กบ้านสวน :พ.เนตรรังษี ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2531
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย