18 ธ.ค. 2020 เวลา 09:30 • สุขภาพ
คำไทยวันนี้ พาโธโลจิสต์ หรือ พยาธิแพทย์
(ซึ่งไม่ได้แปลว่า หมอตรวจพยาธิ หรือ พะ ยาด)
วันนี้ขอกล่าวถึงคำที่ไม่คุ้นเคยกันนัก เป็นคำเรียกแพทย์เฉพาะทางสาขาเฉพาะหนึ่ง คือ พยาธิแพทย์
ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/users/peggy_marco-1553824/
พยาธิแพทย์ทำอะไรบ้าง
พยาธิแพทย์ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Pathologist ภาษาไทยสะกดว่า หมอพาโธโลจิสต์ แต่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า หมอปาโถ(เพราะบางครั้งฝรั่งเค้าออกเสียงคำว่า pathologist โดยใช้ป-ปลา) หรือจะเรียกหมอพาโถ ก็ได้
นิยมใช้เรียกทั้งที่ขึ้นต้นด้วย พ-พาน หรือ ป-ปลา ค่ะ
งานหลักของหมอพยาธิแพทย์หรือ พาโธโลจิสต์คือ งานอ่านสไลด์ชิ้นเนื้อ
หมอพาโถ(ไปเที่ยว)หรือปาโถ(ให้แตก)นี้
มีภารกิจหลักคือ ทำงานพิสูจน์หรือตรวจสอบชิ้นเนื้อจากก้อนทูม หรือก้อนเนื้อที่เกิดงอกเกินกว่าปกติจากเนื้อเยื่อของคนเรา
อะไรเอ่ย ภาพสงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้ำถ้าไม่ได้ขออนุญาตค่ะ
หรือตรวจเนื้อเยื่อที่ตัดมาเป็นตัวอย่างจากอวัยวะ
บางคราวก็ตรวจกันทั้งอวัยวะที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาออกมาจากร่างกาย ตรวจโดยใช้วิชาการความรู้ที่เป็น Basis of disease ไม่ใช่ Basic of disease นะคะ มันต่างกันอยู่นิดหนึ่ง แต่ก็คล้ายกันมาก
..
การทำงานของหมอพาโถนี้จึงเหมือนนักวิทยาศาสตร์ มากกว่า ไม่ค่อยเหมือนหมอสักเท่าไรในบริบทที่ ไม่ได้เป็นผู้สั่งยาเหมือนแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม กุมารเวชกรรม วิสัญญีแพทย์ สูตินรีเวชกรรมหรืออื่น ๆ
ไม่ได้ลงมือผ่าตัดเหมือนศัลยแพทย์ หรือวางแผนการรักษาให้คนไข้โดยตรง
1
แต่พยาธิแพทย์ก็มีส่วนสำคัญในการให้คำวินิจฉัยที่แน่นอนและสุดท้ายว่าเนื้อเยื่อ(หรือสารน้ำ หรือสิ่งเจาะดูดจากร่างกายคนไข้)นั้น ๆ เป็นโรคอะไร กันแน่
ซึ่งเท่ากับว่า พยาธิแพทย์มีส่วนในการวางแผนการรักษาของแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางทุกสาขา
ดังนี้ค่ะ
พยาธิวิทยา (อังกฤษ: Pathology) เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ)
นอกจากนั้นแล้วยังมีหมอบางคนที่เรียนควบมันทั้งสองสาขาเลยแต่อาจจะไม่ลึกนัก เราเรียกว่า พยาธิวิทยาทั่วไป
ป้าพาเองเป็นหมอสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคดังนั้นจะขอพูดเกี่ยวกับหน้าที่ หลักของสาขานี้ก่อนน่ะครับ ส่วนสาขาพยาธิคลินิกนั้นไม่ค่อยรู้เท่าไหร่งานทางด้านพยาธิวิทยากายวิภาค นั้นแบ่งได้เป็นสามอย่าง
1.งานทางด้านศัลยพยาธิวิทยา (surgical pathology) แทบจะถือว่าเป็นงานหลักเลยครับ เป็นงานตรวจชิ้นเนื้อที่ส่งมาจากคนไข้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดชิ้นเล็ก ผ่าก้อนออกมา หรือว่าตัดออกมาทั้งอวัยวะ อวัยวะทุกชิ้นที่ออกจากตัวคนไข้ต้องส่งปาโถ
งานก็คือต้องตรวจชิ้นเนื้อทุกชิ้นด้วยตาเปล่าก่อนครับ
ชิ้นเนื้อเล็กๆก็วัดขนาดดูสี ตรวจว่าตรวจกับใบที่หมอคนส่งส่งมาหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นชิ้นเนื้อใหญ่เช่นตัดออกมาทั้งอวัยวะเช่น มดลูกนั้นต้องตรวจกันล่ะเอียดโดยเฉพาะกรณีที่เป็นโรคมะเร็งนั้น ต้องวัดขนาดทุกส่วน หลังจากนั้นก็ต้องเลือกเอาบางส่วนไปทำเป็นสไลด์แก้วเพื่อตรวจทางกล้อง จุลทรรศน์โดยใช้มีดนี้แหละตัดเลือกชิ้นเนื้อ
เนื่องจากว่าแป๊บสเมียร์มักจะมีผลเป็นปกติและมีจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงที่มี การรณรงค์ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข นักเซลล์วิทยานั้นจะช่วยในการคัดกรอง ถ้าพบเคสที่ผิดปกติจึงส่งให้พยาธิแพทย์ตรวจซ้ำซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระ ของพยาธิแพทย์ได้
3.งานตรวจศพ (autopsy) งานนี้แหละที่ทำให้ใครๆคิดว่าหมอปาโถนั้นคือหมอพรทิพย์หรือบางคนยังไม่รู้ เลยว่าหมอปาโถต้องตรวจศพ
งานตรวจศพของพยาธิวิทยานั้นจะต่างกับทางนิติเวชนั้นมักจะทำเพื่อการศึกษา เท่านั้นมักไม่เกี่ยวกับคดีต่างๆ
ส่วนใหญ่คือคนไข้ที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล แล้วตรวจหาสาเหตุการตาย หรือในกลุ่ม เด็ก เสียชีวิตในท้องหรือคลอดออกมาแล้วเสียชีวิตโดยเฉพาะในขณะนี้มีนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุข(นโยบายลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย)ทำให้ต้องมีการตรวจศพผู้ ป่วยเด็กที่เสียชีวิตระหว่างคลอด
🌿ถ้าเพื่อน ๆ ชอบบทความนี้ กรุณากดไลค์เป็นกำลังใจหน่อยค่ะ
💝 ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องชีวประวัติของ
ครูแพทย์บุคคลสำคัญ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดา
แห่งสาขาวิชาพยาธิวิทยา มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
🍊มีภาพที่ตั้งใจใส่เพิ่ม ขอยกยอดไปเป็นตอนที่ สอง สาม สี่ ห้า..
ตามแต่มือ(ที่ป่วยอยู่) จะอำนวยนะคะ
คิดถึง ทุกท่านค่ะ
โฆษณา