18 ธ.ค. 2020 เวลา 01:03 • ธุรกิจ
สารพัดปัจจัยที่บ่งชี้ว่า ตอนนี้เป็นปลายวัฏจักรของสหรัฐ
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ผมหยิบมาจาก The Changing World Order บทที่ 5 ตอนที่ 2 ที่ Ray Dalio ได้เล่าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐเป็นประเทศผู้นำของโลก ที่แม้จะถูกท้าทายจากอีกขั้วอำนาจหรือวิกฤตเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็ยังผ่านพ้นมาได้
1
แต่ในท่อนสรุปสุดท้ายของบทนี้ Ray กลับลงความเห็นว่า เขาคิดว่าตอนนี้วงจรแห่งความรุ่งโรจน์ของสหรัฐน่าจะเดินทางมาถึงช่วงปลายแล้ว ซึ่งวันนี้คุณจะได้ทำความ
เข้าใจกลไกต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนวัฏจักรดังกล่าว เพื่อให้คุณได้พิจารณาด้วยวิจารณ
ญาณของตัวคุณเอง
ก่อนจะไปลงรายละเอียดนั้น ผมต้องขอเล่าให้คุณเห็นภาพก่อนว่า ในสมัยที่สหรัฐยังไม่ได้ขึ้นมาเป็นเจ้าโลกนั้น ประเทศที่ครองตำแหน่งจักรวรรดิคือสหราชอาณาจักร
(ที่ผมขออนุญาตเรียกว่า “อังกฤษ” เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ) ซึ่งอังกฤษไม่ได้เสียตำ
แหน่งนี้ให้กับสหรัฐในรูปแบบการแพ้สงคราม แต่เป็นรูปแบบของน้ำซึมบ่อทรายที่
อังกฤษค่อย ๆ เสื่อมลงในขณะที่สหรัฐเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
กลไกสำคัญนั้นคือการ “ส่งออก” โดยในระหว่างสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งนั้นยอดการส่งออกของอังกฤษลดลงสวนทางกับการส่งออกของสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้น เพราะอย่างที่
ทราบกันครับว่าเศรษฐกิจสหรัฐเติบโตอย่างมากจากการส่งออกอาวุธและเทคโนโลยีต่าง ๆ ในช่วงนั้น ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ยากจนลงจากภาวะสงคราม ส่งผลให้สหรัฐกลายเป็นเจ้าโลกในที่สุด
1
แต่ในภายหลังตั้งแต่ปี 1970 นั้นสหรัฐก็กลายเป็นประเทศที่นำเข้ามากกว่าส่งออก
(ขาดดุลการค้า) เนื่องจากประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน มีการพัฒนาอุตสาห
กรรมการผลิตให้สามารถแข่งขันกับสหรัฐได้
1
ปัญหามันมาหนักขึ้นหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1990 ที่ทำให้
โลกทั้งใบเชื่อมถึงกันหรือที่เรียกว่า “โลกาภิวัตน์” ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรม
ต่าง ๆ หลั่งไหลไปสู่ประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่า
โดยเฉพาะ “จีน” ประเทศที่ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นไม่มีใครเหลียวแลและยัง
เต็มไปด้วยปัญหาทางการเมือง มีการปฏิวัติกันวุ่นวาย แต่การเข้ามาของโลกาภิวัตน์นั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้จีนมีความมั่นคั่งและการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างรวด
เร็ว
Ray ได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ของอังกฤษ/สหรัฐเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วว่ามีความคล้ายกับสถานการณ์ของสหรัฐ/จีนในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ที่ความมั่งคั่งเคลื่อนย้ายจาก
ประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง
สหรัฐกำลังประสบปัญหาหลายอย่างที่มีต้นตอมาจาก Productivity ที่ต่ำกว่าคู่แข่งทำให้การสูญเสียอำนาจในการแข่งขัน ส่งผลให้การส่งออกลดลง เมื่อการส่งออกลดลงการว่างงานก็สูงขึ้น ประชาชนจึงมีรายได้ลดลง
พอประชาชนมีรายได้ลดลง เศรษฐกิจก็ฝืดเคือง จนทำให้ธนาคารกลางต้องลดดอก
เบี้ยเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่เงินเหล่านั้นกลับเข้าไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ มากกว่าการนำไปลงทุนให้เกิดผลผลิตมากขึ้น จนในที่สุดดอกเบี้ยก็ลงมาถึง 0% ทำให้
ธนาคารกลางไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการพิมพ์เงินผ่านทั้งมาตรการ QE และทฤษฎี MMT
1
Ray บอกว่าเหตุการณ์นี้ก็เกิดขึ้นตอนปี 1930 ที่ตอนนั้นดอกเบี้ยก็ลงมาแตะ 0%
ก่อนจะเกิดการพิมพ์เงินมหาศาล (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งถือเป็นช่วงการ
เปลี่ยนผ่านของวัฏจักรไปสู่ระเบียบโลกใหม่ในปี 1945
1
นอกจากนี้การพิมพ์เงินยังเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น เนื่องจากความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงเงินที่คนรวยมีมากกว่าคนจน ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำยิ่งสูง
ขึ้นไปอีก ซึ่งในต้นฉบับนั้น Ray ได้แสดงกราฟที่ชี้ให้เห็นว่าความเหลื่อมล้ำในสหรัฐตอนนี้พุ่งสูงขึ้นมากพอ ๆ กับช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
อีกประเด็นสำคัญคือเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศที่แม้ปัจจุบันสหรัฐจะยังคงเป็น
ประเทศที่ถือทองคำมากที่สุดในโลกก็ตาม แต่ปริมาณทองคำนั้นกลับถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐในตอนนี้
1
ในขณะที่จีนกลายเป็นประเทศที่มีทุนสำรองมากที่สุดในโลก และหากย้อนไปเมื่อบทความก่อนที่ผมเขียนถึง 3 ปัจจัยที่ทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งแกร่งนั้นจะพบว่าทั้ง 3
ปัจจัยในได้เสื่อมถอยลงแล้วในปัจจุบัน
1
1. อาวุธ - นิวเคลียร์ของรัสเซียที่พัฒนาในสมัยโซเวียตนั้นไม่ได้หายไปไหนและเมื่อ
รวมกับนิวเคลียร์ของทางจีนแล้วก็ถือว่าเป็นปริมาณที่คานอำนาจสหรัฐได้พอสมควร
2. ทองคำที่มาก - สหรัฐไม่ได้มีทุนสำรองที่มากมายเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจอีกต่อไป (พูดง่าย ๆ ว่าไม่ได้รวยเหมือนแต่ก่อน)
3. พันธมิตรที่ส่งเสริมการส่งออก – หลังจากที่ประเทศในยุโรปและเอเชียพัฒนาอุต
สาหกรรมการผลิตก็ทำให้สหรัฐไม่ได้ประโยชน์เรื่องการส่งออกอีกต่อไป แต่กลับส่งผลให้สหรัฐขาดดุลมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกานั้นยังคงมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจอยู่มาก
เนื่องจากดอลลาร์ยังคงเป็นสกุลเงินสำรอง ทำให้สหรัฐก็ไม่จำเป็นต้องมีทุนสำรอง
เยอะ เพราะมีอำนาจในการพิมพ์เงินออกมาเท่าไหร่ก็ได้
1
Ray จึงได้สรุปสถานะของสหรัฐตอนนี้ว่า สหรัฐมีอำนาจมากเพราะสามารถพิมพ์เงินของโลกได้ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมาก หากสูญเสียสถานะสกุลเงินสำรอง
ส่วนทางออกของสหรัฐนั้น Ray ให้ความเห็นว่ามันก็พอจะเป็นไปได้ในทางทฤษฎี
แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปได้ยากมาก เปรียบดั่งวัฏจักรของสรรพสิ่งที่จะไม่เดินย้อนกลับ
(ทางออกคือประชาชนทุกคนต้องขยันมากขึ้น ประหยัดมากขึ้น ฉลาดขึ้นพร้อม ๆ
กัน)
1
สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ และข้อมูลที่เป็นกราฟ เดี๋ยวจะทำเป็นคลิปสรุปให้อีกทีนะ
ครับ บทนี้เป็นบทที่ข้อมูลแน่นและยาวมาก ๆ อาจจะใช้เวลานานหน่อย รอติดตาม
กันนะครับ
.
แอดปุง
โฆษณา