20 ธ.ค. 2020 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
เศรษฐกิจตกต่ำ จะเป็นโอกาส ของคนทำธุรกิจ ได้อย่างไร?
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ดูจะเป็นฝันร้ายในการทำธุรกิจ
แต่ทำไมหลายธุรกิจกลับสามารถสร้างการเติบโตได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
เราลองมาดู ตัวอย่างในเรื่องนี้ ของ Kyocera บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก
ย้อนกลับไปในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจากผลกระทบจากวิกฤติน้ำมันปี 1973
ขณะนั้น บริษัท Kyocera ของคุณอินาโมริ คาซึโอะ ทำธุรกิจเครื่องจักรทอผ้า
แน่นอนว่า ธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จนไม่สามารถขายเครื่องจักรทอผ้าได้เลยสักเครื่อง
หากใครอยู่ในสถานการณ์เช่นนั้น คงต้องท้อแท้สิ้นหวัง
แต่สำหรับคุณอินาโมริ คาซึโอะ กลับใช้วิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาส
โดยการสร้างสรรค์สินค้าใหม่เรียกว่า “วงแหวนไกด์เซรามิก” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับเบ็ดตกปลา เป็นครั้งแรกของโลก
คุณอินาโมริ คาซึโอะ มองเห็นโอกาสอะไร ที่ซ่อนอยู่ในช่วงเวลาเศรษฐกิจตกต่ำขณะนั้น ?
1
1. ความลำบากจะสร้างทีมงานที่แข่งแกร่ง
เศรษฐกิจตกต่ำ คือช่วงเวลาทองในการสร้าง Teamwork ให้เกิดขึ้นในองค์กร
เพราะความยากลำบากจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทำให้ทีมงานมีแรงฮึดสู้ เพื่อนำพาองค์กรให้อยู่รอด
3
แน่นอนว่า ไม่เพียงแต่ผู้บริหารจะได้เห็น “พลังที่แท้จริง” ของทีมงาน
แต่ทีมงานก็จะได้เห็น “วิสัยทัศน์ที่แท้จริง” ของผู้บริหาร เช่นกัน
ซึ่งการมองเห็นความจริงของกันและกันเช่นนี้ ยังช่วยให้ง่ายต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร อีกด้วย
2. รู้จักการลดค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจ
การลดค่าใช้จ่าย ดูจะเป็นวิธีการแรกๆ ที่ธุรกิจเลือกทำเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
แต่สำหรับคุณอินาโมริ นอกจากเพื่อความอยู่รอดแล้ว เขายังมองว่า ความจำเป็นที่จะต้องลดค่าใช้จ่ายยังเป็น "โอกาส" ที่ในช่วงเวลาปกติแล้วคงจะไม่ได้ทำสิ่งเหล่านี้
2
เช่น
-ได้ทบทวนประสิทธิภาพขบวนการผลิต ภายใต้งบที่มีอย่างจำกัด
-ได้ควบรวมหน่วยงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งจะช่วยสร้างศักยภาพให้กับองค์กร
-ได้วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานแบบเจาะลึก เพื่อลดระยะเวลาการผลิต
1
มุมมองของคุณอินาโมริ ต่อเรื่องนี้คือ “การลดค่าใช้จ่าย” ไม่ใช่ “การตัดค่าใช้จ่าย” ลงเพียงเท่านั้น
แต่ยังเป็นการ “การใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ” ซึ่งช่วยให้เกิดการวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจอย่างละเอียดขึ้นด้วย
3. ปลุกวิญญาณนักขายให้กับพนักงานทุกคน
ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่ควรจะมีแต่ “พนักงานฝ่ายขาย” ที่จะหารายได้เข้าองค์กร
แต่องค์กรควรเปิดโอกาสให้ “ทีมงานทุกคน” สร้างรายได้เข้าสู่องค์กรได้ด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่า พนักงานฝ่ายผลิตที่ไม่เคยมีประสบการณ์การขาย จะปิดการขายได้อย่างไร?
คำตอบคือ แม้เขาจะไม่สามารถสร้างยอดขายได้ในขณะนั้น
แต่เมื่อพนักงานฝ่ายผลิตได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกค้า จะเกิดความเข้าใจในความต้องการแท้จริงของลูกค้า
จึงนำมาซึ่งการพัฒนาสินค้าเพื่อสร้างยอดขายในอนาคตได้ นั่นเอง
4. พัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ตรงตามความต้องการตลาด
2
ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นช่วงเวลาที่องค์กรจะได้กลับมาพิจารณาสินค้าตนเองได้ดีที่สุด
เพราะความต้องการแท้จริงของตลาดมักจะปรากฏออกมา ซึ่งนั่นคือโอกาสทองในการสร้างสินค้าใหม่ๆ
ยกตัวอย่างจากเรื่องนี้คือ
ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากผลกระทบจากวิกฤติน้ำมันปี 1973
ที่ทำให้ธุรกิจเครื่องจักรทอผ้าของ คุณอินาโมริ คาซึโอะ ไม่สามารถขายได้
1
องค์กรของเขาจึงจำเป็นต้องมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อความอยู่รอด
ซึ่งในขณะนั้น วงแหวนไกด์ สำหรับคันเบ็ดตกปลา มักจะเป็นโลหะ
เมื่อเกิดการเสียดสีจนเส้นเอ็นสึกหรอ จึงทำให้เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาดได้ง่าย
1
เขาจึงมองย้อนกลับไปที่ “อุปกรณ์เซรามิก” ในเครื่องจักรทอผ้า ที่เป็นสินค้าชิ้นเอกของบริษัท ซึ่งมีเส้นด้ายวิ่งด้วยความเร็วสูงตลอดเวลา
เขาจึงเกิดไอเดียประยุกต์ใช้เซรามิกมาเป็นอุปกรณ์สำหรับเส้นเอ็น
จึงเกิดเป็นสินค้าใหม่ที่มีชื่อว่า “วงแหวนไกด์เซรามิกอุปกรณ์ตกปลา” ครั้งแรกในโลก
2
ความสำเร็จนี้ สามารถสร้างยอดขายหลายล้านชิ้นต่อเดือน และยังกลายเป็นสินค้าที่ส่งขายตลาดทั่วโลกในช่วงนั้นได้อีกด้วย
มาถึงตรงนี้จะเห็นว่า แม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
แต่ถ้าผู้บริหาร และ พนักงาน มี Mindset ที่ดีในการพาองค์กรไปข้างหน้า
สถานการณ์ยากลำบากที่องค์กรต้องเผชิญ อาจกลายเป็นแรงผลักดัน
ให้เกิดการทบทวน ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นได้
1
และสถานการณ์ที่ยากลำบาก อาจบีบให้เราต้องดิ้นรน จนเกิดการสร้างสิ่งใหม่
อย่างเช่น คุณอินาโมริ คาซึโอะ ที่ค้นพบ “วงแหวนไกด์เซรามิกอุปกรณ์ตกปลา” และกลายมาเป็นสินค้าที่ขายดีได้ในที่สุด..
References
-หนังสือ A Fighting Spirit
โฆษณา