21 ธ.ค. 2020 เวลา 12:28 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนรอย 4 เหตุการณ์ “ปลั๊กหลุด” ของตลาดหุ้นไทย (และวิธีรับมือ)
ย้อนกลับไปสมัยตอนที่เรายังเป็นเด็ก ทุกท่านเคยเป็นกันไหมครับ กับอาการ “หัวร้อน” เมื่อต้องเจอกับปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อกับเซอเวอร์ของเกมส์ที่เล่นอยู่ จนแทบอยากจะเขวี้ยงเม้าส์ทิ้ง โดยไม่เคยคิดเลย ว่าปัญหานี้จะตามมาถึงในช่วงวัยทำงาน … เพราะปัจจุบันต้องยอมรับว่าปัญหาการ “ปลั๊กหลุด” ถือเป็นเรื่องที่คู่กับตลาดหุ้นไทย ดังนั้น ในวันนี้เราจะขอพาทุกคนย้อนกลับไปดู 4 เหตุการณ์สำคัญ ดังนี้
เหตุการณ์ที่ 1 จุดเริ่มต้นของการปลั๊กหลุด (26 ก.ย. 2554)
เหตุการณ์นี้ถือเป็นปฐมบทแห่งตำนาน “ปลั๊กหลุด” ของตลาดหุ้นไทย โดยหากใครจำได้ในวันนั้นดัชนี SET ได้มีการปรับตัวลดลงตามสถานการณ์รอบบ้าน เพียงแต่ของไทยมีการ Panic ที่รุนแรงกว่า
โดยทุกคนต่างก็ลุ้นและแอบหวังว่าจะได้เห็นการ “Circuit Breaker” จนแทบจะ Count Down นับถอยหลังกันเลยทีเดียว แต่แล้ว! เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เพราะอยู่ ๆ ในขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้ารอตัวเลขดัชนี SET ที่ -10% อยู่นั้น ตัวเลขกลับดันไปค้างที่ -9.42% แล้วก็หยุดทำการซื้อขายดื้อๆ
ทำให้เทรดเดอร์ทุกคนต่างมึนงง จนเกิดเสียงอุทานขึ้นในสังคม Social ว่า “ใครเตะปลั๊กวะ” ซึ่งในตอนนั้นหลายคนต่างเข้าใจว่า นี่คือการ CB และคิดว่าต้องพักการซื้อขาย 30 นาทีตามกฎ จึงพักรบโดยบางคนก็ลุกออกจากโต๊ะเพื่อทำธุระส่วนตัว …
แต่แล้วทันใดนั้นเพียงไม่กี่อึดใจต่อมา ตลาดกลับทำมางานต่ออย่างหน้าตาเฉย !! พร้อมกับมี “มือที่มองไม่เห็น” ลากหุ้นขึ้นไปกว่า 50 จุด จนปิดตลาดเพียงแค่ -4%
2
ทำให้รายย่อยอย่างเราทำได้แต่นั่งตาค้างช็อคกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในตอนนั้น หลายคนต่างสงสัยว่านี้คือเรื่องบังเอิญหรือมีคนตั้งใจชักปลั๊ก
1
แต่ในช่วงเย็นทางท่านประธาน ตลท.ก็ออกมาชี้แจงว่า มันคือการผิดพลาดทางเทคนิคของระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่พวกเราเรียกกันว่า “ปลั๊กหลุด” นั่นเอง
ในสุดท้ายถึงได้มาเฉลยว่า เหตุการณ์นี้เกิดจากการที่ระบบได้ตั้งเงื่อนไขผิดพลาด โดยรั้งเงื่อนไขหยุดเทรดเมื่อเกิดการลดลง 10% ของทั้ง 2 ตลาด คือ SET และ MAI ซึ่งในวันนั้นกลายเป็นดัชนี MAI ที่ลงไปถึง 10% ก่อน ระบบเลยหยุด และพึ่งมารู้สึกตัวว่า มันไม่ใช่ SET ! เลยต้องเปิดให้ตลาดทำงานต่อในอีก 5 นาทีถัดมานั่นเอง แหมมม แต่ในช่วง 5 นาทีนี้ใครจะไปรู้ว่ามีใครให้สัญญาณกันไว้ในการลากหุ้นหรือไม่ ซึ่งนี้ก็เป็นคำถามที่ไม่มีวันได้คำตอบจนถึงในปัจจุบัน
“ต้อง SET เท่านั้นที่แตะ -10% ดัชนีอื่น SET50 ,MAI หรือกระทั่ง TFEX ถ้าถึงก็ไม่หยุดนะครับ”
คำชี้แจงของทาง กลต. ในเหตุการณ์ครั้งนี้
เหตุการณ์ที่ 2 Streaming เสียกว่า 20 นาทีช่วงท้ายตลาด (16 มิ.ย. 2556)
นี้เป็นอีกเหตุการณ์ “ปลั๊กหลุด” ครั้งใหญ่และเป็นครั้งแรกที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนรายย่อยโดยตรง โดยครั้งนี้ไม่ได้เป็นล่มหรือหยุดของตลาดหุ้น แต่เป็นการเสียที่โปรแกรมส่งคำสั่งซื้อขาย Streaming ที่รายย่อยเกินกว่า 80% ของประเทศใช้งานอยู่
โดยในว้นนั้น ณ ช่วงเวลา 16.10 น. ระบบได้เกิดการขัดข้องและลากยาวไปถึงตอนปิดตลาด ทำให้รายย่อยไม่สามารถซื้อขายผ่านโปรแกรมนี้ได้
และก็เป็นอีกเช่นเคยที่ทางท่านผู้ใหญ่ออกมาชี้แจงว่าเป็นปัญหาทางเทคนิคที่เกิด ฮาร์ทแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์เกิดการขัดข้องพร้อมกันทั้ง 2 ตัว
โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ แม้การเคลื่อนไหวของราคาจะไม่ได้มีความพิสดารอะไรมาก แต่ก็เป็นที่โจษจัน และสร้างความระแวงให้กับรายย่อยเกี่ยวกับประเด็นนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
คำชี้แจ้งของทางโบรกเกอร์และประธาน ตลท.ในเหตุการณ์ครั้งนี้
เหตการณ์ที่ 3 การปลั๊กหลุดที่นานที่สุดของประเทศ (23 ธ.ค. 62)
ย้อนกลับไปในช่วงแถวๆ วันนี้ของปีที่แล้ว หากใครยังจำกันได้จะมีเหตุการณ์ที่สร้างความหงุดหงิดให้กับนักลงทุนทั่วประเทศ
โดยเป็นวันจันทร์ที่กำลังจะเปิดตลาด ในช่วงเวลา 9.30 น. จู่ ๆ โปรแกรม Streaming กลับไม่สามารถทำงานได้ และที่สำคัญในครั้งนี้ อาการลากยาวไปถึงเวลาที 12.17 น.หรือใกล้ปิดตลาดช่วงเช้า กินเวลารวมทั้งสิ้นกว่า 3 ชั่วโมง
1
สำหรับการเคลื่อนไหวในเช้าวันนั้นตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นกว่า 8 จุด แต่สุดท้ายถูกเทขายทิ้งลงมาให้ปิดภาคเช้าเหลือเพียง +0 จุด สร้างความเจ็บช้ำและเสียดายให้กับนักลงทุนที่ต้องการขาย
โดยเรื่องนี้ทาง Settrade ก็ได้ออกมาขอโทษและยอมรับในความผิดพลาด ที่เกิดจากการปรับปรุงระบบ Log in ในช่วงวันหยุด
คำชี้แจงของทาง SETTRADE กับเหตุการณ์นี้
เหตุการณ์ที่ 4 ปลั๊กหลุดในช่วงเช้าของวันที่มีข่าวรุนแรง (21 ธ.ค. 2563)
เราขอเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น “ตัวแทน” ของหลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากในทุกครั้งที่ตลาดเกิดการแพนิค หรือมีข่าวรุนแรงที่จะกระทบให้ช่วงเช้าตลาดมีการซื้อขายที่มากเกินกว่าปกติ ตัวของโปรแกรมส่งคำสั่งซื้อขายจะมีโอกาสเข้าไม่ได้ในระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วงตอนเปิดตลาด
ทั้งหมดนี้ คือ เหตุการณ์สำคัญที่เราเคยเผชิญกับอาการ “ปลั๊กหลุด” ซึ่งคงไม่มีใครอยากจะให้มันเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าทางตลาดหุ้นและ SETTRADE ต่างก็พยายามหาวิธีการรับมือร่วมกับโบรกเกอร์มาโดยตลอด แต่ด้วยจำนวนนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น + เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จึงทำให้เรื่องอุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้ ดังนั้น นักลงทุนอย่างพวกเราเอง จึงควรหาวิธีเตรียมพร้อมรับมือ โดยเรามี 3 ทางเลือกมาเสนอให้กับทุกท่าน
1.Log in ไว้ล่วงหน้าในทุกเช้าที่มั่นใจว่าจะ Panic แรง
อย่างที่ทราบว่าเหตุการณ์ปลั๊กหลุดตามปกติ มักจะเกิดในช่วงเช้าที่ตลาดมี Volume เข้ามาซื้อขายตอนเปิดตลาดพร้อม ๆ กัน ดังนั้น ทุกคนจะกระจุกตัวไป Log in ตอนใกล้เปิด จึงทำให้เข้าไม่ได้ แต่สำหรับนักลงทุนที่เข้าค้างไว้แต่เนิ่น ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้น หากวันไหนที่รู้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวรุนแรง ให้พึงระลึกไว้ว่ามีโอกาสที่จะเกิดปัญหา และเราต้อง Log in ค้างไว้ตั้งแต่ตอน 9.00 น.
2.ส่งคำสั่งผ่านช่องทางอื่น
หากการปลั๊กหลุกเกิดขึ้นเฉพาะในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง นักลงทุนสามารถเลี่ยงไปใช้โปรแกรมอื่นได้ เนื่องจากแต่ละโบรกจะเปิดให้นักลงทุนส่งคำสั่งได้หลายช่องทาง ดังนั้น ควรหาสักโปรแกรมในการสำรองไว้ เผื่อวันที่เกิดเหตุขัดข้อง
 
3.โทรส่งคำสั่งผ่านที่ปรึกษาการลงทุน
จริง ๆ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากทางโบรกเกอร์(ส่วนใหญ่) จะมีทีมงานที่ปรึกษาการลงทุนที่คอยรับมือกับปัญหาเรื่องโปรแกรมเทรดของลูกค้าเสียอยู่แล้ว และจะมีเครื่องกลางที่ใช้ในการส่งคำสั่งด้วยโปรแกรมสำรองแยกไว้ต่างหาก โดยให้เราแจ้งความประสงค์ในการเปิด-ปิดสถานะของเราผ่านทางโทรศัพท์ที่บันทึกเสียง โยดแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจน ว่าจะปิดตัวนี้ ที่ราคานี้ ซึ่งหากโบรกเกอร์ทำให้ไม่ได้ เราก็จะยังมีโอกาสเคลมได้ อย่างที่มีนักลงทุนเคยแชร์ประสบการณ์เอาไว้ ดังตัวอย่าง
Credit : http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2011/08/I10881380/I10881380.html
เราทราบดีว่าสิ่งที่ทุกท่านอยากเห็นที่สุด คือ การหยุดการซื้อขายทั้งหมดเมื่อโปรแกรมไม่สามารถทำงานได้ แต่หากถ้านั่นไม่ใช่เรื่องที่เราควบคุมได้ ยังไงเราก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด เราขอให้ทุกคนโชคดีและมีสติตัดสินใจอย่างรอบคอบในทุกครั้งที่เกิดปัญหา ขอบคุณครับ
 
ปล.ช่วยเป็นกำลังใจเราด้วยนะครับ เราสัญญาจะนำบทความที่คิดว่ามีประโยชน์มานำเสนอให้เรื่อย ๆ
🔔 ปล.อย่าลืมมาร่วมลุ้น I-Phone 12 📱กับพวกเราเป็นของขวัญปีใหม่นะครับ
💬 สามารถพูดคุย สอบถาม หรือร่วมแชร์ข้อมูลกับเราได้ ในห้อง Line Open Chat “TFEX For Future”
👇🏻 คลิก link เข้ากลุ่มได้
✳️ฝากติดตาม TFEX For Future ช่องทางอื่นด้วยนะครับ
โฆษณา