22 ธ.ค. 2020 เวลา 09:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Polkadot คืออะไร ? แล้วทำไมถึงเป็นโปรเจคที่น่าติดตามที่สุด ?, สาย Vi วิเคราะห์อย่างไร ?
2
Polkadot คือ Scalable Cross Blockchain Protocol ที่โฟกัสไปที่การ
เชื่อมต่อกับ Blockchain อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Public Blockchain อย่าง Ethereum, EOS หรือ Private Blockchain อย่าง Hyperledger
และ Consortium Blockchain ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง Private Bloackchain
และ Public Blockchain อย่าง R3 ซึ่งเราสามารถบอกได้ว่า Polkadot นั้นคือ
“ Heterogenous Sharded Blockchain ” หรืออีกนัยนึงคือเป็น Blockchain ที่
สามารถกับ Blockchain อื่นและการ Connect กัน
6
โดยมี Farmework เก๋ๆอย่าง “Substrate” สำหรับนักพัฒนาที่สามารถออกแบบ
Blockchain ของตัวเองได้และสามารถเพิ่มฟีเจอร์อื่นๆเรียกได้ว่าคล้ายกับการต่อเลโก้ที่สามารถต่อเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
โดยจุดประสงค์ของ Polkadot นั้นคือต้องการให้การส่งข้อมูลหากันระหว่าง
Network เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดไม่ว่า
1
Dapp หรือ Data จะอยุ่บน Blockchain ไหนก็ตาม
1
เพราะในปัจจุบัน dapp ที่มีอยู่ไม่สามารถเชื่อมต่อไป Blockchain อื่นๆได้ซึ่งเรียก
ได้ว่าเป็นหนึ่งใน Painpoint ที่นักพัฒนาต้องการแก้ไข
โดยโครงสร้างของ Polkadot นั้น ได้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
คือ
1. Relaychain นั้นคือ Chain หลักที่จะคอยเชื่อมต่อกับ Chain อื่นๆ เรียกได้ว่าเป็น
หัวใจของ Polkadot Network
2. Parachain นั้นคือ Chain ที่คู่ขนานกับ Relaychain ที่นักพัฒนาสามารถกำหนดฟั่งชั่นใน Blockchain ของตัวเองได้ อาทิ ออกเหรียญของตัวเอง, จำนวนเหรียญ,
ระบบเศรฐศาสตร์ของเหรียญหรือฟั่งชั่นอะไรก็ตามที่จำเป็นต่อ Ecosystem นั้นๆ เรียกได้ว่าสามารถปรับแต่งได้หมด (Customize Blockchain)
3. Parathreads นั้นมีความคล้ายเคียงกับ Parachain แต่จะใช้โมเดลในการใช้
งานอย่าง Pay-as-you-go เรียกให้เข้าใจง่ายคือ Blockchain แบบเติมเงิน
4. Bridges chain นั้นคือสะพานเชื่อมต่อกันของ External Network อย่างเช่น
Ethereum และ Bitcoin
ซึ่งเมื่อเอาทุกอย่างมาประกอบกันโครงสร้างทุกอย่างจะเหมือนแบบนี้
ซึ่ง Parachain นั้นจะได้รับความปลอดภัยในระดับเดียว Relay Chain
ถ้าเรามองแบบง่ายๆคือ
Relay Chain นั้นเปรียบเสมือนสหรัฐอเมริกาที่ประกอบไปด้วยหลายๆรัฐ
โดยรัฐย่อยๆเหล่านั้นก็คือ Parachain ที่จะมีกฎเกณฑ์การปกครองเป็นของตัวเอง
Note : ปัจจุบัน Parachain สามารถประมวลได้ถึง 1,000 TPS จาก Gavin Woods
แล้วทำไมเราควรสร้างบน Parachain ละ ?
- Flexibility ในด้านความยืดยุ่นและการแก้ไขปรับปรุงฟั่งชั่นและ Network เพื่อให้
เข้ากับโปรเจคที่เราต้องการจะ เช่นการ สร้าง Innovationใหม่ๆ ทั้งในด้าน
Consesus และ Governance
- Upgradeability สะดวกสบายต่อการอัพเกรดระบบทั้งในด้าน Smart contracts, Governance, และ Consensus โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งถกเถียงกันเรื่อง
HardFork
- Interoperability สามาถเชื่อมต่อกับ Parachain อื่นๆ และ Bridges chain อื่นๆ
ได้ (Bitcoin, Ethereum, EOS,Tron)
-Cost Saving ทั้งในด้าน Security และ Gas โดยรายงานจาก Web3 Foundation กล่าวว่า โปรเจคอย่าง Cosmos, Tezos และ EOS ใช้จำนวนเงิน 10 ล้านเหรียญต่อปีเพื่อให้ระบบนั้นมีความเสถียรและปลอดภัย อีกทั้ง โปรเจคที่ดังๆบน
Ethereum อย่าง MakerDAO, Chainlink และ IDEX ต้องจ่ายค่า Gas ต่อเดือนสูง
ถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในกรณีของ Parachain จะเป็น Gas Free Model หรือเรียกว่า DOT Bond Model (เดียวมาเจาะลึกน่ะครับ)
ก่อนอื่นเลยการที่เราจะสร้างโปรเจคบน Parachain ได้นั้นทางทีมงานผู้พัฒนาต้อง
ทำการ ประมูล Parachain Slot ผ่าน Parachain Auction ซึ่งใน Phase แรก
Parachain slot นั้นจะมีจำนวนจำกัด
Governance Protocol ของ Polkadot
1
Polkadot นั้นใช้ Consesus แบบ Proof-of-Stake โดยมี Validators หรือผู้ตรวจ
สอบการทำธุรกรรมใน Relay Chain นั้นก็คือผู้ที่ถือเหรียญ DOT โดยการนำเหรียญ
3
DOT ไป Stake ซึ่งตรงจุดนี้ทางระบบการจะให้รางวัลแก่ผู้ตรวจสอบการทำธุรกรรม
นั้นเอง โดยในส่วนของ Collators คือจะเป็นผู้ที่จะเก็บข้อมูลการทำธุรกรรมจาก
Parachain ไปให้กับ Validators นั้นเอง
โดยในส่วนของ Watcher คือผู้ที่ตรวจสอบระบบไม่ให้มี player ใดทุจริต
ประโยชน์ของ Dot Token
โดยผู้ที่ถือเหรียญ DOT นั้นยังสามารถควบคุม Fee Structures
(โครงสร้างค่า Fee) ,โปรโตคอลต่างๆ อย่าง Parachain และ Parathreads ร่วมไปถึง Sensitive Topic อย่างการเปลี่ยนแปลงระบบ Initial Parachain Offering
(IPO) หรือ Parachain Auction (เดียวมาเจาะลึกให้น่ะครับ) และเรื่องอื่นๆ
3
อีกทั้งหากผู้ใช้งานคนไหนต้องการที่จะแก้ไขหรืออยากเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามใน
Polkadot Network ก็สามารถยืน Proposal (ข้อเสนอ) ไปให้กับทาง Council
(สภา) และ Technical Committee เพื่อพิจารณา
Techinical Committee นั้นเปรียบเสมือนสภาย่อยที่ออกแบบเพื่อให้จัดการกับ
ปัญหาในเวลาฉุกเฉินที่ต้องใช้ระยะเวลาอันสั้นในการตัดสินใจอย่างเร่งด่วน
ยกตัวอย่างเช่นการพบ Bug ในระบบที่สามารถสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างกับ
Relay chain และ Parachain อื่นๆได้ Technical Committee ก็จะเข้ามาควบคุมดูแลปัญหาในจุดนี้
2
โดยทาง Technical Committee จะมาจากนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือทีมงานของฝั่ง Polkadot หรือ Kusama ก็ตาม
โดยเมื่อร่วมโครงสร้างของระบบ Governance บน Polkadot ก็จะเป็นแบบนี้
การระดมทุนแบบใหม่อย่าง Initial Parachain Offering และ Parachain Auction
ก่อนต้องเข้าใจก่อนว่าหากเราต้องการสร้าง Dapp (Decentralized Application) บน Polkadot Network นั้นมีเพียง 2 วิธี
1. การสร้างบน Parachain ซึ่งวิธีการนี้ นักพัฒนาสามารถปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนฟั่งชั่นต่างๆได้ตามใจชอบแบบ Fully customize ซึ่งการที่เราจะสร้าง Dapp บน Parachain นั้น เจ้าของโปรเจคจำเป็นต้องประมูล Para slot แข่งกับโปรเจคหลายอื่น
โดยเราจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “Parachain Auctions”
2. การสร้างบน Parathend ซึ่งในการสร้างบนนี้ ฟั่งชั่นต่างๆหรือการเปลี่ยนแปลง
ระบบอื่นๆอย่าง Tokennomic , Economic ก็จะไม่เต็มประสิทธิภาพกับการสร้างบน Parachain
โดยใน Phase แรกนั้นคาดการณ์ว่าจะมี Parachain Slot อยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 Slot
1
Parachain Auctions (การประมูล Slot)
โดยโปรเจคที่ต้องการสร้างบน Polkadot ต้องประมูลแข่งกับโปรเจคอื่นๆว่าใครที่
เสนอ มูลค่าของ slot ได้เยอะที่สุดก็จะได้รับสิทธิไปซึ่งโปรเจคก็สามารถเข้าร่วมได้
โดยทางโปรเจคนั้นๆต้อง
ไปซื้อ DOT Token ในตลาดเปิด เพื่อนำ DOT ไปประมูล Slot แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงว่าหาก DOT Token นั้นไม่เพียงพอที่จะสู่ขู่แข่ง โดยเหตุนี้จึงเกิดการระดมทุนอย่าง Initial Parachain Offering หรือ (IPO) โดยโปรเจคที่ต้องการระดมทุนแบบนี้จำเป็นต้องร่างกลยุทธ์ต่างๆบน Whitepaper ไม่ว่าจะเป็นการ Governance
ของโปรเจคนั้น, ระบบเศรษฐศาสตร์ของตัวโปรเจคอาทิ เข้ามาแก้ปัญหาอะไร,
กลุ่มเป้าหมาย, Roadmap หรือ กลยุทธ์ด้านการเงินอย่างรางวัลหรือ Incentive อื่นๆ ของผู้ที่ส่ง DOT Token ให้
2
แต่ !!!
.
1
.
2
.
ช่วง ICO ก็เป็นแบบนี้ Whitepaper เขียนสวยแทบตายสุดท้ายทำไม่ได้จริง !
แน่นนอนว่าทางทีมงาน Polkadot เล็งเห็นถึงปัญหานี้ เพราะฉะนั้นการทำระดมทุน
แบบ Initial Parachain Offering หรือ IPO
คือการให้ “เช่า” Slot นั้นเอง โดยจะเปิดให้เช่าเป็นระยะเวลา 2 ปี ต่อรอบถ้า
โปรเจคไม่ดีไม่ถูกใจหรอ ?
นักลงทุนสามารถ Claim DOT Token ของตัวเองได้หลังครบ 2 ปี แต่แน่นอนว่า
บรรดาโปรเจคที่สร้างบน Polkadot ก็อยากจะเช่า Slot นานๆ อย่าง
Acala Network ก็วางแผนอย่างตำ่จะเช่า 6 ปี ก็หมายความว่าต้องผ่านการประมูล
Parachain Slot ถึง 3 รอบ แน่นอนครับว่าบรรดาโปรเจคต่างๆก็จะให้ Reward
และ Incentive มากขึ้นสำหรับผู้นำ DOT Token ไปล็อดอัพระยะยาวขึ้นนั้นเอง
(อารมณ์เหมือน Private กับ Public sale ครับ)
ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3 ทางในการสนับสนุนโปรเจค
1. Direct Deposit นั้นเหมือนกับการระดมทุนอย่าง ICO คือ นักลงทุนส่ง DOT
Token ไปยัง Funding Address และหลังจากนั้นก็จะได้รับ เหรียญจากโปรเจคนั้นๆกลับมา แน่นอนว่าเมื่อการเช่า Parachain Slot จบลง หากนักลงทุนไม่ได้มีความสนใจในโปรเจคนี้ก็สามารถ Claim DOT Token กลับมาได้
2. Transfer Mechanism อันนี้จะเหมือนกับ Private Token Sale ที่นักลงทุนอาจ
ไม่รับเหรียญจากโปรเจคนั้นๆในทันทีแต่ว่าก็อาจได้ Reward อย่างอื่นเช่น
ได้เหรียญของโปรเจคนั้นมากขึ้นเมื่อเทียบกับนักลงทุนผ่าน Direct Deposit
3. Gift mechanism ทางโปรเจคจะไปเรียกกับทาง Polkadot Treasury ถ้าตามที่
แอดเข้าใจจะมีลักษณะอันนี้จะมีความคล้ายกับ Angle Investors นั้นเอง
แล้วทำไมการประมูล Slot เกี่ยวข้องกับราคาอย่างไร ?
แน่นอนว่าโปรเจคที่ต้องการ Slot นั้นต้องใช้ DOT Token และ DOT Token
สามารถได้รับเพียง 2 ทางเท่านั้น
1. การระดมทุนจากนักทุนรายย่อย ตามที่แอดมินได้เขียนด้านบน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิธีการข้างต้น
2. การเข้าซื้อใน Open Market : การเข้าซื้อในตลาดเปิดที่นี้คือการซื้อเหรียญ
DOT Token ผ่าน Binance, Huobi Global หรือศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยน
อื่นๆ ที่ลิส DOT
โดยการระดมทุน DOT นั้นจะเป็นตัวเร่ง “ความต้องการ” DOT เพียงส่วนนึง แต่ !
การแข่งขันด้านการประมูลต่างหากที่จะเพิ่มแรงกดดันทางราคาให้กับเหรียญ DOT
Token ไม่เพียงแต่ต้องซื้อในตลาดเปิดเท่านั้น แต่ต้องทำการเข้าซื้อเป็นจำนวนนึง
เพื่อเอาไปแข่งขันกับโปรเจคอื่นๆอีกด้วย
.
.
.
แล้วถ้าไม่ได้ Slot ก็ Dump ใช่ไหม ?
ก็ถือว่าเป็นมีความเป็นไปได้ แต่โปรเจคที่ทำ research มาหลายเดือน วางแผน
เตรียมงาน ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโปรเจคบน Polkadot
หรือไปนำร่องบน Kusama นั้น “Cost of change” หรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงในการใช้ เซนอื่นๆนั้นอาจไม่คุ้ม และ อีกทั้งทาง Polkadot เองก็เล็งเห็นถึงปัญหานี้
จึงมี Parathreads สำหรับโปรเจคที่ไม่สามารถ Obtain slot ได้
โดยจากที่แอดมินได้ไปอ่าน White paper ของโปรเจคอื่นๆ นั้นแผนสำรองของ
โปรเจคที่ไม่ได้ Slot คือ ไปสร้างอยู่บน Parathreads แทบทั้งสิ้น ซึ่ง Parathread
นั้นก็ต้องใช้ DOT Token ในการเป็น ค่า Gas จึงเรียกได้ว่ายังไม่เห็นถึงการ Dump
DOT token ที่มาจากสาเหตุของการแพ้ประมูล Slot แต่อย่างได้
สรุป
ประโยชน์ของ Dot Token หลักๆเลยคือ
1.ใช้ในการ Governance ตัว Polkadot Network
2.นำไป Staking เพื่อรับ Reward
3.ลงทุนในโปรเจคอื่นๆ
ทีมงาน
สามผู้ร่วมก่อตั้งของ Polkadot
1
นาย Gavin Wood เป็นหนึ่งใน Co-Founder ของ Ethereum และ Web 3 Foundation และยังเป็นผู้คิดค้นภาษา Solidity ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียน
2
Smart Contract อีกทั้งยังเป็นผู้เขียน Yellow paper ของ Ethereum VM
และยังเป็นผู้พัฒนา Proof-of-Authority และ Whisper อีกด้วย
2
นาย Robert Habermeier เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Cryptography และเป็นผู้มีประสบ
การณ์ในด้าน Blockchain และ Distributed systems
1
นาย Peter Czaban ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านเทคโนโลยีให้กับทาง
Web 3 Foundation โดยมีความเชี่ยวชาญด้าน Machine Learning, Data
Analytics และการใช้ quantitative pricing model เป็นต้น
ทุกอย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Polkadot
Polkadot นั้นเป็นโปรเจคที่ระดมทุนแบบ ICO ในปี 2017 ซึ่งได้รับเงินระดมทุนไป
กว่า $144,630,000 ดอลลาร์สหรัฐ
และปัจจุบันมีจำนวนเหรียญอยู่ในระบบอยู่ที่ 904,869,778 DOT โดยเป็นเหรียญที่
ไม่มี Max Supply เหมือนกับ Ethereum และมี Infation rate (อัตราเฟ้อ) ของ
เหรียญอยู่ที่ 10% ในปีแรกและหลังจากนั้นก็จะลดลงมาเรื่อยๆดังเช่นกราฟด้านล่าง
แกน X คือ สัดส่วนของ DOT Token ที่ Stake
แกน Y คือ อัตราเฟ้อต่อปี
เส้นสีฟ้า : อัตราเฟ้อของผลตอบแทนของ Staker
เส้นสีเขียว : อักตราผลตอบแทนของ Staker
โดยในปัจจุบันมี DOT Token ที่นำไป Stake กว่า 600 กว่าล้านเหรียญของจำนวน
Total Current Supply ซึ่งคิดเป็น 66% (ณ วันที่แอดมินเขียน )
โดยให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 13.32%
ในส่วนของ Eco-system ของ Polkadot นั้นปัจจุบันมีมากกว่า 304 โปรเจคที่กำลัง
ไปพัฒนาบน Polkadot โดยผู้ที่สนใจสามารถเช็คดูได้ตามลิ้งนี้
2
Web3 foundations ผู้ที่อยู่เบื้องหลังของ Polkadot
1
เป็นองกรณ์ไม่แสวงหาผลกำไรที่คอยสนับสนุน Polkadot ไม่ว่าจะเป็น เงินทุนหรือ
ความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่โปรเจคที่มีความประสงค์ที่จะสร้าง Decentralized
Website
โดยมี 3 โปรเจคหลักที่คอยให้การสนับสนุนอย่าง Polkadot, Kusama
และ XCMP
Kusama นก ที่เป็นแฝดคนละฝาของ Polkadot
1
สำหรับ Kusama นิยามที่คงหนีไม่พ้นคือ “ฝาแฝดของ Polkadot” โดยในส่วนที่
แอดมินกล่าวมาในข้างต้นของบทความนี้ ทุกอย่างจะไปโผล่อยู่บน Kusama ก่อน
เสมอ ไม่ว่าจะเป็น Parachain Slot Auction, การทำ IPO, ระบบ Governance
เรียกได้ว่า Kusama กับ Polkadot นั้นแทบจะมี Souce Code และ Famework
อย่าง Substarte ที่เหมือนกันเพียงแต่ในส่วนของ Kusama นั้นจะออกแบบมาให้
นักพัฒนาที่อยากจะลองทดสอบระบบก่อนที่จะขึ้นไปปล่อยบน Polkadot นั้นเอง
เช่นบางโปรเจคอาจเลือกที่จะรันบน Kusama เพื่อหา Bug หรือข้อบกพร่องต่างๆก่อน
และแน่นอนว่า Parachain Slot Auction นั้นก็จะเกิดขึ้นใน Kusama ก่อน ซึ่งคาด
การณ์ว่าเดือนธันวานี้และในส่วนของ Slot Auction ของ Polkadot Network นั้นก็
จะเกิดราวๆ ไตรมาส 1 ปี 2021 นั้นเอง
มุมมอง Vi man
ที่จริงแล้วสำหรับโปรเจคที่เป็น infranstruture นั้นสิ่งที่จะผลักดันราคาได้มากที่สุดคือ Use case ที่เกี่ยวข้อง
หากเราดู Ethereum เราสามารถสรุปได้ตรงกันว่า Ethereum นั้นเป็นเสมือน
Base Layer ในโลกของคริปโตจริงๆที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง
โดยมีโปรเจคพันล้านอย่าง Uniswap, MakerDao, Compound Finance,
Synthetix ที่เป็น On top applications
1
อีกทั้งยังมีโปรเจคประเภท Layer 2 อย่าง Optimistic Rollup, Plasma, Zk-Rollup ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เป็น Pain point ของ Layer-1 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น ระบบนิเวศที Perfect ที่สุดในแง่ของการลงทุน
แล้วของ Polkadot ละ ?
ยอมรับเลยนี้เป็นครั้งแรกที่แอดเห็น Solid Project ที่สร้างบนโปรเจคนอกเหนือ
Ethereum และ Cosmos (ที่เป็นโปรเจคจริงๆ ไม่ใช่ Unknow application ที่สร้างบน Tron, IOST, EOS )
อาทิ
Acala โปรเจคที่มีลักษณะคล้ายกับ MakerDao แต่อยู่บน Polkadot โดยปัจจุบันมี total value locked มากกว่า 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐบน Testnet
Moonbeam แพลทฟอร์ม Cross-chain Smart contract ที่ต้องการให้ผู้พัฒนาสร้าง Decentralized Application ที่สามารถเชื่อต่อกับ Blockchain อื่นๆ แบบ
All-in-one คลิก ที่ได้รับเงินระดมทุนกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Bondly Finance แพลทฟอร์ม ที่มีลักษณะคล้ายกับ bZx แต่ชูโรงไปที่ความปลอด
ภัยทั้งตัวแพลทฟอร์มและบน Smart Contract
Note : bZx โดนโจมตีผ่าน Economic Attack
Polkastarter แพลทฟอร์มที่น่าเล่นที่สุดบน Polkadot แนะนำว่าควรอ่านแบบเจาะลึกได้ที่ https://blockspaper.com/th/a/polkastarter-s-ido-platform-launches-spider-dao-token
2
Polkaswap แพลทฟอร์ม DEX แบบ AMM คล้ายกับ Uniswap ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Web3 Foundation
MantraDao แพลทฟอร์มด้าน Lending และ Borrow ที่สร้างอยู่บน Polkadot
Layer-2 บน Polkadot หรอ ? ดู Sora Network ที่ Polkaswap ไปสร้างสิ
มีอะไรอีกใหม่ ? Zenlink, Reef Finance, Equilibrium, Bifrost, Hopr, Acala, Polkacover, Polkawallet
สำหรับแอดแล้ว Polkadot นั้นถือเป็นสุดยอดโปรเจคที่ควรจับตามองอย่างมาก
เรียกได้ว่ามีศักยาภาพสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการสร้าง dapp ที่ต้องการ Connect กับ Blockchain อื่นๆนอกเหนือจาก Ethereum ที่เป็น Public Blockchain
แต่ยังสามารถรับส่งข้อมูลจาก Private Blockchain สำหรับ enterprise อีกด้วย
1
โดยจุดที่หน้าสนใจนั้นคือด้านระบบนิเวศที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตัว Polkadot นี้อาจถือเป็นตัวแปลสำคัญในการขับเคลื่อน DeFi ให้สามารถ Connect กับ Chain อื่นๆได้ โดยเราเห็นแล้วว่ามีหลายโปรเจคที่เลือกสร้างบน Network อื่นๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงค่า Fee ที่แสนแพงบน Ethereum แต่สิ่งที่ขาดหายไปนั้นหรือเรียกว่า “Factor x” คือการเชื่อมต่อกับ Blockchain อื่นๆ เมื่อ Polkadot มาเติมเต็มตรงนี้ แน่นอนว่าเราอาจได้เห็นการเติบโตของระบบ DeFi มากยิ่งขึ้น
1
แต่..
จุดน่ากังวล แพลทฟอร์มด้าน Infransacture นั้นใช้เวลาพัฒนานานมากและมีคู่แข่งจำนวนมาก อาจต้องคอยดูปัจจจัยพื้นฐานของโปรเจคอื่นๆควบคู่ไปด้วย
นักลงทุนท่านไหนอยากรู้เริ่มเพิ่มเติม DOT Ecosystem
By : Crypto Vi man
ถ้าชอบบทความนี้กด Like กด share เป็นกำลังใจให้แอดด้วยน่ะครับ :)
We're here not to fight with Ethereum, we here to help them.
- Reddit user ท่านนึง
จาก Crypto Vi man
ติดตามผลงานอื่นๆได้ที่
ติดตามผลงานของทีมงานแอดมินได้ที่
อ้างอิง
โฆษณา