21 ธ.ค. 2020 เวลา 17:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Trust but verify
ในการทำงาน แม้เราจะมีความเชื่อมั่น หรือเชื่อใจ ใน vendor/manufacturer/contractor/fabricator หรือแม้แต่ 3rd party inspector/auditor ที่เราเลือกใช้บริการ แต่การ verify ว่าการทำงานถูกต้อง เป็นไปตามข้อกำหนด หรือ ความต้องการในงานของเรา ถือเป็นสิ่งสำคัญ...การ verify ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงว่าต้องไปตรวจละเอียดทุกขั้นตอน ทุกเรื่อง แต่หมายถึงเราต้องมีความรู้ ความเข้าใจว่าควรจะไปตรวจในจุดไหน อย่างไร ในเวลาใด...
การตรวจ 100% อาจจะดี แต่ไม่เสมอไปครับ...บางทีนอกจากเสียค่าใช้จ่ายและเวลาแล้ว อาจจะได้คุณภาพสู้การสุ่มตรวจไม่ได้ด้วยครับ...บางคนอาจจะไม่เห็นด้วย บอกว่าเป็นไปได้อย่างไร ตรวจ 100% ก็ต้องดีกว่าสิ...ต้องขอบอกว่า ที่จริงในโลกนี้ไม่มีอะไร 100% หรอกครับ พอเราบอกว่า 100 % หลายครั้งคนทำงานก็ขาด focus หรือบางครั้งเกิดความล้า ความผิดพลาดได้เช่นกัน เวลาพลาด หาไม่ค่อยเจอด้วยว่าพลาดตรงไหน เพราะคนทำงานจะ defense สุดฤทธิ์...จ่ายแพง ใช้เวลานานแล้ว อาจจะไม่ได้คุณภาพดีอย่างที่คิด...ในขณะที่การสุ่มตรวจ ถ้าสุ่มเป็น ก็ช่วยได้มาก เพราะประหยัดกว่า และคนที่ถูกตรวจก็ไม่ทราบก่อนว่าเราจะตรวจอะไร...random & blind test มันก็มีความยากอยู่เหมือนกันครับ...
ITP (Inspection & Test Plan) ถือเป็นเอกสารหนึ่งที่นิยมอ้างอิง ก่อนจะเริ่มงานจะต้องมีการตกลงกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ว่าจะทำการตรวจสอบอะไร ในความถี่เท่าไหร่ เกณฑ์การยอมรับอย่างไร
ในเรื่องการสุ่มตรวจ ไม่ใช่เฉพาะกับ product ครับ...การสุ่มตรวจ service ก็สำคัญเช่นกัน...ในการทำงานขึ้นกับว่าเรามียุทธวิธีในการจัดการอย่างไร เหมือนกับที่เราเลือกจะตรวจ final product / receiving inspection หรือจะเลือกที่จะตรวจในขั้นตอนการผลิต process inspection / source inspection
ในเรื่องของคนทำงาน นอกจากผู้ปฏิบัติงานเอง คนที่เราส่งไปตรวจก็ต้องถูกตรวจด้วยครับ...ไม่ได้บอกว่าไม่เชื่อใจ แต่มันคือธรรมชาติ ตำราฝรั่งบางเล่มกล่าวว่า ความผิดพลาด (error) ส่วนใหญ่เกิดจาก 2 สาเหตุ คือ 1 ขาดความรู้ 2 ขาดความใส่ใจ ทั้งสองข้อเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ แต่เราก็มักจะเจอทั้งสองกรณีเสมอๆ ยุคนี้ของปลอมเยอะ คนปลอมก็เยอะเช่นกัน ไว้วันหน้าจะมาพูดถึงเรื่อง sub-standard & falsified product แต่วันนี้ขอเอาเรื่อง Trust but verify ไปก่อนนะครับ
บางคนอาจจะบอกว่ามี TPI (Third Party Inspector) แล้ว มีลายเซ็นต์ครบถือว่าตรวจสอบแล้วใช้ได้...อันนั้นก็เกินไปครับ ในชีวิตจริง ถ้าเรามีแต่ความเชื่อใจ แต่ไม่สนใจจะตรวจสอบความถูกต้อง เราก็ได้เพียงการจ่ายเงิน และได้ลายเซ็นต์รับรอง
การเลือกคนที่จะไปตรวจสอบ นอกจากเรื่องความรู้ความสามารถแล้ว ทัศนคติ หรือ attitude ก็ถือว่าสำคัญมากเช่นกัน...ขอแนะนำเลยว่า นอกจากดูประวัติการทำงานในกระดาษ ดู qualification certificates ที่มีแล้ว ถ้ามีโอกาสได้สัมภาษณ์ หรือเลือกคนไปทำงานจะช่วยได้มาก
ในหลายโครงการที่พบมาในชีิวิตจริง Inspector ที่ถูกส่งไปเป็น TPI หรือ auditor เรียกได้ว่าส่งมาจากบริษัทชั้นนำ รวมถึง profile ของ inspector/auditor ถือได้ว่าดีมาก...แต่สิ่งที่พบเมื่อได้ไปเห็นการทำงาน เรียกได้ว่าแจกลายเซ็นต์เท่านั้น บางคน profile ดีแต่ทำงานไม่เป็นก็มีมาก ดังนั้น หากมีโอกาส ขอให้ได้ไป verify บ้างก็จะช่วยให้ได้คุณภาพมากขึ้น
ยกตัวอย่างสักงาน ผมเคยได้ไปที่เมืองจีน (หลายปีแล้วครับ) เพื่อไป audit โรงงานผลิตท่อแห่งหนึ่ง ในครั้งนั้นเป็นช่วงที่มีงานผลิตและได้จ้าง TPI ไปตรวจสอบงาน แต่ผมไม่ได้บอก TPI ว่าจะไป audit ในช่วงนั้น...สิ่งที่ได้พบคือ วันแรกที่ไป audit ผมไม่ได้พบแม้แต่เงาของ Inspector ที่จ้างไปตรวจ...พอวันรุ่งขึ้น inspector ท่านนั้น รีบมารายงานตัวแต่เช้าเลย พร้อมข้ออ้าง ข้อแก้ตัวสารพัด ติดนั่นติดนี่ (ทั้งที่ไม่เคยแจ้งมาก่อน) เรียกได้ว่าที่ผ่านมาหลายๆ ครั้ง เราอาจจะอ่าน report ที่นั่งเทียนมา หรือจ่ายเกินจากที่ควรมานานแล้ว โดยไม่ได้คุณภาพงานอย่างที่คาดหวังก็เป็นได้
อีกตัวอย่าง ที่ได้พบคือโรงงานท่อแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น (หลายปีก่อนครับ ไม่ใช่ช่วง COVID 19) เป็นงานที่ค่อนข้างเร่ง ได้มีการตกลงกันว่าทำงาน 24 ชั่วโมง และจ้าง TPI 2 คน เพื่อดูตอนกลางวัน และกลางคืน รอบนั้นผมก็ลองที่จะไปดูการทำงานตอนกลางคืน...TPI มาช้า...มาแล้วมีนั่งหลับ ตื่นมา ก็ชักปากกาจะเซ็นต์เลย...อย่าได้คิดว่าประเทศที่เจริญแล้วจะมีความรับผิดชอบ หรือดีหรือไปครับ...ซ้ำร้าย ในงานนั้น ในอีกรอบที่ไป ผมได้มีโอกาสไปร่วม witness งานด้วย สิ่งที่พบคือ ทั้งโรงงาน และ TPI ไม่ได้ดูให้ดี ผลการทดสอบชิ้นงานใส่สลับกัน...อันนี้จะเรียกว่าเผลอเรอ ก็อาจจะอ้างได้ คำว่า human error มันก็คงเกิดขึ้นได้ แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น ตอนไม่ได้ไป ทดสอบอะไร ผ่านหมด Report ออกมาดูดีตลอด รอบนั้น เราไปร่วม witness (สังเกตการณ์ล้วนๆ) ปรากฎว่่าทดสอบกี่ชิ้น กี่รอบ ตกหมดเลยครับ...เรื่องแบบนี้ไปบอกหัวหน้า บอกผู้บริหาร บางครั้งก็ยากจะเข้าใจ เพราะภาพจำของหลายๆ คน คือ บริษัทเหล่านี้มีชื่อเสียง คนที่ส่งไปมีประสบการณ์...ดังนั้นคำว่า Trust but verify จึงถือเป็นคำตอบที่ดีีเสมอครับ (ถ้าทำได้)
โฆษณา