23 ธ.ค. 2020 เวลา 14:04 • ปรัชญา
****Black Swan****
ประธานาธิบดี สี่ จิ้น ผิง ได้เคยเรียกขานคำว่า “หงส์ดำ” (Black Swan) เปรียบเปรยได้กับ “เศรษฐกิจจีน คือ ความงามที่เต็มไปด้วยความซ่อนเร้นอันน่ากลัว” ก่อนเกิดวิกฤตการณ์โควิด ณ จุดที่ประเทศจีนเกิดสภาวะเศรษฐกิจซบเซาเมื่อปลายปี 2019 จนเกิดสภาวะโดมิโนกระทบกับประเทศเพื่อนบ้านรอบๆประเทศจีน
โควิดได้พ่นพิษมาเกือบ 6 เดือน (ม.ค.-พ.ค. 2020) จนปัจจุบันเรามีองค์ความรู้เกี่ยวกับ COVID19 กับการปรับตัวรับสถานการณ์มหาศาลพอควรแล้ว ซึ่งน่าคิดว่าหลังจากสถานการณ์โควิด19 ผ่อนคลายและถูกเผด็จศึกในที่สุดด้วยวัคซีน อีกทั้งเศรษฐกิจการค้าปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว (อาจกินเวลานานถึง 2 ปี) โลกจะได้รับบทเรียนและจะเห็นสิ่งต่อเนื่องใดบ้างจากปรากฏการณ์ “หงส์ดำ” ในครั้งนี้ เพราะ โควิด คือ “หงส์ดำ” อย่างแท้จริง กล่าวคือมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างทันใดและเกิดผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน ที่เรียก “หงส์ดำ” ก็เพราะมนุษย์รู้จักหงส์ขาวกันมานับพันปี ตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ไม่เคยมีใครพบหงส์ดำ จนกระทั่งนักเดินเรือชาวดัชต์ชื่อ Willem de Vlamingh พบหงส์ดำเป็นครั้งแรกที่แม่น้ำ ในรัฐออสเตรเลียตะวันตก เมื่อ ค.ศ. 1691
“หงส์ดำ” หรือ Black Swan เป็นปรากฏการณ์ที่ตั้งชื่อโดยศาสตราจารย์ทางสถิติและความเสี่ยง ชื่อ Nassim Nicholas Taleb ในหนังสือดังของโลก ชื่อ “The Black Swan” (2007) การไม่เคยพบเห็นหงส์ดำมาก่อนมิได้หมายความว่ามันไม่มีตัวตนอยู่ในโลก เพียงแต่เรายังไม่เคยพบมันเท่านั้นเองเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ก็คล้ายกัน การไม่เคยเกิดขึ้นมิได้หมายความว่ามันจะไม่เกิด มันอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดฝันดังกรณีของโควิด
โควิด19 ทำร้ายสุขภาวะและกระเป๋าผู้คนทั้งโลกอย่างน่าใจหาย แต่ใน “ลบก็มีบวก” ชาวโลกเรียนรู้อะไรมากมายจากปรากฏการณ์ “หงส์ดำ” ครั้งนี้ โดยได้สองบทเรียนที่สำคัญคือ
(1) การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองอยู่เสมอนั้นคือยันต์ป้องกันโควิดที่ดีที่สุดและถูกที่สุด
(2) ความไม่ประมาท รีบป้องกัน แก้ไขอย่างเข้มแข็ง โดยด่วน ตั้งแต่เริ่มต้น
คือ คำตอบที่ประเทศไทยและเอเชียใกล้บ้านเรา ได้ให้บทเรียนแก่ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐ การไม่เสี่ยงติดเชื้อโควิด คือ การพยายามไม่เป็นพาหะนำโรคไปสู่ผู้อื่นอีกหลายทอดซึ่งเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่สำคัญยิ่ง ความรับผิดชอบก็คือ “การดูแลสุขภาพ/social distancing/อยู่บ้าน/ใส่หน้ากากในที่แออัด/ล้างมือบ่อย ๆ” จนเกิดวิถีในการดำรงชีวิตใหม่ที่เรียกว่า “New Normal” และต้องขอบคุณคนไทยที่ “ไม่เชื่อมั่นตนเอง” ว่า “ฉันไม่เป็นหรอก ฉันแข็งแรง” โดยดูชาติตะวันตกเป็นตัวอย่าง (ติดเชื้อกันเป็นล้าน) ความไม่มั่นใจตนเองนั้นมันก้อมีข้อดีอยู่เหมือนกัน
*******แปลและเรียบเรียงโดย กุลฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา**********
โฆษณา