23 ธ.ค. 2020 เวลา 18:01 • ประวัติศาสตร์
ตำนานเมืองแถน หรือนาน้อยอ้อยหนู ตำนาน น้ำเต้าปุง (ปุ้ง) มีหลายสำนวนครับ
นี่เป็นอีกสำนวนหนึ่งครับ......
2
นิทานพญาแถน ... ตำนานน้ำเต้าปุงฉบับลาวเก่า (พงศาวดารล้านช้าง)
ขอนำเสนอตำนานน้ำเต้าปุงตามพงศาวดารล้านช้าง แบบสรุป ตามที่รู้และเข้าใจ เป็นลำดับต่อไปดังนี้
ท่านทั้งหลาย ดังเราจักรู้มามีในกาลเมื่อก่อนเฒ่าเก่าเล่ามา เป็นคำปรัมปรา สืบ ๆ มาดังนี้ ...
กาลเมื่อก่อนนั้น ก็เป็นดินเป็นหญ้า เป็นฟ้าเป็นแถน ผีและคนไปมาหากันบ่ขาด เมื่อนั้นยังมีขุนใหญ่ 3 คน ผู้หนึ่งชื่อว่า ปู่ลางเชิง ผู้หนึ่งชื่อขุนคาน แลผู้หนึ่งชื่อขุนเค็ก อยู่สร้างบ้านเมืองลุ่มกินปลา เฮ็ดนาเมืองลุ่มกินข้าว เมื่อนั้นแถนจึงใช้ให้มากล่าว แก่คนทั้งหลายว่า ในเมืองลุ่มนี้กินข้าวให้บอกให้หมาย กินแลงกินงายก็ให้บอกแถน ได้กินซิ้นก็ให้ส่งขา ได้กินปลาก็ให้ส่งฮอยแก่แถน เมื่อนั้นคนทั้งสามก็บ่ฟังความแถน แม้นใช้มาบอกความ 2 ครั้ง 3 ครั้งก็บ่ฟังหั้นแล
แต่นั้น แถนจึงให้น้ำท่วมเมืองลุ่มลิดเลียง ท่วมเมืองเพียงละล่าย คนทั้งหลายก็ฉิบหายมากมายนักชะแล
 
บริวารของขุนทั้งสามล้มตายหมด คงเหลือแต่ขุนทั้งสามและลูกเมีย ได้พากันทำแพลอยไปตามน้ำ น้ำท่วมถึงเมืองแถน จึงได้เข้าเฝ้าพญาแถน เมื่อน้ำลดก็ได้ขออนุญาตพญาแถนกลับมาเมืองลุ่ม
พญาแถนอนุญาตให้กลับและได้มอบควายให้ตัวหนึ่ง เพื่อมาช่วยทำนา ทั้งสามลงมาอยู่ที่เมืองนาน้อยอ้อยหนูได้สามปี ควายก็ตาย ซากควายที่ทิ้งไว้นั้น ได้เกิดมีต้นน้ำเต้าปุ้งออกมาจากรูจมูกควาย ต้นน้ำเต้าปุ้งออกผลมา 3 ลูก แต่ละลูกใหญ่มาก ปู่ลางเชิงหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “แถนชี” ได้เอาเหล็กเผาไฟแล้วเจาะรูน้ำเต้าทั้งสามลูก
2
พอลูกน้ำเต้าแก่ก็ปรากฏว่ามีคนอยู่ในลูกน้ำเต้าทั้งสามมากมาย ต่างก็ส่งเสียงขอออกมาข้างนอก ปู่ลางเซิงจึงเอาเหล็กแดงจี้ (ชี) ลูกน้ำเต้าให้ทะลุเป็นรู (ฮู) คนก็ออกมาจากรูมากมายไม่ขาดสาย ขุนคานเอาสิ่ว ๆ ให้เป็นรูอีกรูหนึ่ง คนหลั่งไหลออกมา 7 วัน 7 คืนจึงหมด
คนที่ออกจากรูชีมี 2 พวก คือ “ไทเล่ม, ไทวี”,
คนที่ออกจากรูสิ่วมี 3 พวก คือ “ไทเลิง, ไทลอ, ไทควาง”
แล้วขุนทั้งสามจึงสอนให้รู้จักทำไร่, ทำนา, ทอผ้า และแต่งงานให้เป็นผัวเมียกัน ทั้งอบรมวัฒนธรรมให้ด้วย แต่ในพวกหนึ่งสอนวัฒนธรรมประเพณีให้ไม่เหมือนกัน พวกที่ออกจากรูชีมีฐานะเป็นชั้นข้าไพร่ พวกที่ออกจากรูสิ่วเป็นเจ้าเป็นนายและอิสระ ต่อไปก็นำข้าวน้ำไปพลีให้กินทุกวันไม่ขาด ถ้าวันใดไปไม่ได้ก็ให้คนอื่นไปแทน หรือจัดหาข้าวปลาตั้งไว้บนเรือน แล้วเรียกผีพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่มากิน
นานวันผู้คนเกิดทวีมากขึ้น ไม่อยู่ในโอวาทคำสั่งสอน ขุนทั้งสามจึงไปร้องเรียนต่อพระยาแถน พระยาแถนจึงส่งขุนครูขุนครองลงมาช่วยปกครอง แต่ขุนทั้งสองเกียจคร้านไม่ทำงาน กินแต่เหล้าทุกวัน ขุนเค็กกับขุนคานจึงขึ้นไปรายงานพระยาแถน พระยาแถนจึงเรียกขุนทั้งสองกลับเมืองฟ้า พระยาแถนจึงเรียกเอาคนเก่งจริง ๆ ชื่อขุนบูลม (บูฮม) มอบอำนาจสิทธิขาดพร้อมด้วยรี้พลให้ และสั่งให้มาปกครองแทน ขุนบูลมกับขุนมนตรีได้ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงให้ชาวเมือง “นาน้อยอ้อยหนู” มีความรู้ในการทำไร่นา, ทอผ้า, เลี้ยงสัตว์ มีกินมีใช้เป็นสุขทั่วหน้า
เมื่อชาวเมืองนาน้อยอ้อยหนู สมบูรณ์พูนสุข ทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว พญาแถนหลวง ได้สั่งห้ามชาวเมือง นาน้อยอ้อยหนู เดินทางไปมาหาสู่เมืองแถนไม่ได้อีกต่อไป ดังคำกล่าวในตำนานว่า …
เมื่อนั้น พญาแถนหลวงจึงกล่าวว่า
แต่นี้มื้อหน้า อย่าให้เขาขึ้นมาหาเฮาซ้ำสองทีเทอญ
แม้นเราก็อย่าลงไปหาเขาซ้ำสองทีเทอญ
แถนหลวงจึ่งได้ตัดข้อหลวงอันแรงกายหลายหลวง อันแรงเรียวนั้นเสีย
แต่นั้น ผีแลคนลวดบ่เทียวไปหากันได้หั้นแล.
คัดจากหนังสือ ผู้ไท ลูกแถน ภาค 2 สืบค้นรากเหง้าผู้ไท จากนิทานพญาแถน โดย สุเทพ ไชยขันธุ์
ในภาพ -ภาพวาดน้ำเต้าปุง (ปุ้ง) ในจินตนาการตามตำนาน “น้ำเต้าปุง” ในปกนิตยสารทางอีศาน ฉบับที่ 1 (ฉบับแฮกหมาน) พฤษภาคม 2555 “น้ำเต้าปุง” เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้คนทุกเผ่าพันธุ์ในอุษาคเนย์ กำเนิดจากน้ำเต้าปุง อันเดียวกัน หมายถึงว่าทุกเผ่าพันธุ์ ล้วนมีรากเหง้าต้นเค้าอันเดียวกัน จึงมีความผูกพัน เป็นเครือญาติกัน แน่นแฟ้นมาเนิ่นนานแล้ว
ภาพนี้ เป็นภาพประกอบในหนังสือ ผู้ไท ลูกแถน ภาค 2 สืบค้นรากเหง้าผู้ไท จากนิทานพญาแถน ของผม สุเทพ ไชยขันธุ์ ด้วย
ภาพวาดโดย อาจารย์ไพบูลย์ ธรรมเรืองฤทธิ์
1
....................................
17- 21 พฤศจิกายน 2557
เรามีนัด เยือนเมืองแถน ถิ่นรากเหง้าของคนไท ลาว และผู้ไท
พบกับทริปพิเศษ เยือนเมืองลา เมืองแถน เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) นาน้อยอ้อยหนู หนองฮกหนองฮาย หนองอูวา บ้านสามหมื่น
ไปพบเยี่ยมยามพี่น้อง ร่วมรากเหง้าเดียวกัน
ซึ่งเป็นคนไท ในเวียดนามหลากหลายกลุ่ม ทั้งไทดำ ไทขาว ผู้ลาว (ผู้ไท) ลาวลื้อ (ผู้ไท)
ไปเยือนบ้านเมืองในตำนาน ของผู้ไท และไทย - ลาว กับไท้คำหอมทัวร์
ด้วยความประทับใจ เปี่ยมล้นด้วยมิตรไมตรี และมีความสุข
สนใจติดต่อฝากข้อความทางช่องสนทนา
หรือโทร.086-426-3924, 064-892-6395​
โฆษณา