24 ธ.ค. 2020 เวลา 15:18 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"สวัสดีครับ ผมมาจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาครับ"
"บันพะ อะไรนะ?"
"บรรพบุรุษเหรอ?"
นั้นคือ สิ่งที่เจอเมื่อสิบกว่าปีก่อน สมัยเป็นนักวิจัยวัยละอ่อน ในสถาบันแห่งหนึ่งของภาคอีสาน
มันเป็นอะไรที่ปวดหัวมาก ที่จะต้องคอยบอก คอยอธิบายสาขาของตัวเองนี้
"บัน-พะ-ชี-วิน ครับ"
"ฮือ" "อะไร" "โบราณคดี หรือเปล่า"
กว่าจะได้เข้าเนื้อหาที่จะพูด ก็ปาไปครึ่งช่วงโมงในการอธิบายสาขาวิชาของตัวเอง
**********
สมัยนั้น ยังไม่รู้จักคำว่า บรพพชีวิน วิชาบรรพชีววินวิทยา นักบรรพชีวินวิทยา หรืออะไรทำนองนี้เท่าไร
และคนฟังก็มักสงสัย สับสนไปกับ วิชาโบราณคดี นักโบราณคดี ไปกันใหญ่อีก
**********
คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษ ว่า Palaeontology ในการเขียนแบบอังกฤษ และ Paleontology ในการเขียนแบบสหรัฐอเมริกา
เป็นวิชา สาขา ของนัก หรือผู้ศึกษา ทางด้านซากของสิ่งมีชีวิตที่โบราณมากๆ อาจจะมากกว่าช่วงยุคที่นักโบราณคดีศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์เสียอีก
นับไปไกลได้ถึงกำเนิดสิ่งมีชีวิตของโลกเลยที่เดียว
**********
แต่เดิมเลย วิชานี้ยังไม่มีชื่อให้เรียกเป็นภาษาไทยกันเท่าไร (ก่อนผมมาทำงาน)
แล้วเขาใช้คำไหนกัน?
ลเริ่มแรกที่เดียวผู้ศึกษาทางด้านนี้เป็น นักธรณีวิทยา ในกรมทรัพยากรธรณี และมีการตั้งหน่วยงานที่สนับสนุนงานวิจัยด้านซากสิ่งมีชีวิต ว่า ฝ่าย โบราณชีววิทยา (ปัจจุบันยังหลงเหลือคำนี้อยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของกรมทรัพยากรธรณี)
ซึ่งสาขานี้ต่อมามีพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งมีการก่อตั้ง ศูนย์วิจัย และสาขาวิชาที่สอนด้านี้โดยตรง เพื่อสนับสนุนการศึกษาด้านนี้ ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ซึ่งในช่วงนั้น บัณฑิตยสภา ได้บัญญัติ ศัพท์เป็นภาษาไทย ดังนี้
Palaeontology หรือ Paleontology แปลเป็นภาษาไทย เป็น วิชาบรรพชีวินวิทยา
Palaeontologist หรือ Paleontologist เป็นนักบรรพชีวินวิทยา
รวมไปถึง fossil ซึ่ง เป็นซากที่นักบรรพชีวินศึกษา ก็ไม่ใช้ทับศัพท์ ฟอสซิล
ให้ใช้คำว่า "ซากดึกดำบรรพ์"
*****
แล้วทำไมไม่ใช้ โบราณชีววิทยา
เคยกระซิบถามอาจารย์ท่านหนึ่งในบัณฑิตยสภา ท่านบอกว่า โบราณชีววิทยา มันจะไปฟ้องกับคำอื่นในภาษาอังกฤษ นั้นคือ Bioachaeology ซึ่งว่างๆ จะมาเล่าให้ฟังอีกที
โฆษณา