26 ม.ค. 2021 เวลา 04:03 • อาหาร
เรื่องของไข่
ไข่ที่จะกล่าวถึงในที่นี้หมายถึงไข่ไก่ ที่เป็นอาหารที่บริโภคกันทั่วไปแทบจะทั่วทุก
ครัวเรือนทั่วโลก
เพราะไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ การปรุงไม่ยุ่งยากและซื้อหากันได้ง่าย
Cr:eatthis.com
ไข่เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสาร อาหารประเภทโปรตีน ทั้งยังมีไขมัน ธาตุเหล็ก
ฟอสฟอรัส วิตามินบี 12 วิตามินเอ และแร่ธาตุซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเซลล์
ผิวหนัง ขน และเล็บ เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ มีค่าประมาณ 80 กิโลแคลอรี่ / ฟอง
Cr:eggfarmer of Alberta
ไข่ขาวมีโปรตีนสูง แคลอรี่ต่ำและแทบจะไม่มีไขมันเลย ส่วนไข่แดงนั้นมีวิตะมินและแร่ธาตุที่สูงกว่าไข่ขาวอย่างชัดเจนและก็มีไขมันและโคเลสเตอรอลมากกว่าด้วยเช่นกัน
ตามปกติแล้วไข่แดงและไข่ขาวจะแยกส่วนกันอย่างชัดเจนหากว่าเราไม่ได้ไปตีให้
มันเข้ากันหรือว่าไข่จะเน่าเสียไปเสียก่อน ไข่แต่ละฟองมีสีของไข่แดงที่แตกต่าง
กัน ไล่กันไปตั้งแต่ สีเหลืองอ่อน เหลือง เหลืองส้ม ส้ม ส้มเข้ม สิ่งที่ทำให้ไข่แดงมีสีแตกต่างกันก็คือสารลูทีน (lutien)และซีแซนทีน (zeaxanthine)ที่มีอยู่ในไข่แดง
นั่นเอง สารทั้งสองชนิดเป็นสารรงควัตถุ (สารให้สี)ในกลุ่มของแคโรนีนอยด์ (carotenoids) สารดังกล่าวมีอยู่ในอาหารที่แม่ไก่กินเข้าไป เมื่อแม่ไก่แต่ละตัว กินอาหารที่แตกต่างกันอยู่ในสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดูต่างกันจึงให้สีของไข่แดงที่
แตกต่างกันไปนั่นเอง
อย่างไรก็ดีมีการระบุว่าแม้สีของไข่แดงจะแตกต่างกันแต่ก็มีคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Cr:Mthaifood
ในอดีตช่วงกว่า 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมามักมีคำกล่าวที่ว่าไม่ควรรับประทานไข่มาก- เกินไปหรือบ่อยเกินไป เพราะอาจนำไปสู่ภาวะโคเลสเตอรอลสูงและมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขึ้นได้ จนกลายเป็นมายาคติอันหนึ่งเกี่ยวกับการบริโภคไข่ไป
จนกระทั่งไม่กี่ปีมานี้ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นแล้ว่าการบริโภคไข่ไม่มีความสัมพันธ์กับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเลย เมื่อกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture : USDA) ได้ถอดโคเลสเตอรอลออกจากสารอาหารที่คนอเมริกันต้องควบคุม ในปี 2558 หลังจากค้นพบว่า โคเลสเตอรอลที่ได้รับจากอาหาร ไม่สัมพันธ์กับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ขณะเดียวกันยังได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับไข่ไก่ ซึ่งพบว่าเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ทั้งกรดไขมัน DHA (Docosahexaenoic acid) และ EPA (Eicosapentaenic acid) ที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของสมอง
สายตา หัวใจ และระบบหลอดเลือด รวมถึงช่วยป้องกันโรคสมาธิสั้นในเด็ก โดยสมองตอบสนองได้ไวขึ้นกว่า 25% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้บริโภคไข่ไก่ และ
ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ
Cr:Cigna
แพทย์และสัตวแพทย์ของประเทศไทย ได้แก่ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ อดีตประธานหลักสูตรโภชนศาสตร์ โครงการร่วมรามาธิบดีและสถาบันวิจัยโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล และ น.สพ.ดร.มงคล แก้วสุทัศน์ กรรมการบริหารสมาคมวิทยา-ศาสตร์สัตว์ปีกโลก สาขาประเทศไทย ก็ได้ออกมาช่วยยืนยันเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
ศ.นพ.สุรัตน์ บอกว่า ถ้าพูดถึงไข่ไก่คนส่วนใหญ่จะกลัวเรื่อง โรคหัวใจ ด้วยคิดว่าเกิดจากโคเลสเตอรอล จึงโทษกันว่า การกินไข่ที่มีโคเลสเตอรอลอยู่ด้วยจะส่งผลให้ เกิดโรคหัวใจ ซึ่งจริงๆแล้วจากการศึกษาทั่วโลก ได้ข้อสรุปว่า “ในคนทุกวัยที่
สุขภาพปกติ สามารถรับประทานไข่วันละ 1 ฟอง ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย ไม่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ” ที่สำคัญการรับประทานไข่ไก่ในผู้สูงอายุ จะช่วยให้กล้าม-
เนื้อแข็งแรง ทั้งยังช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ ที่สำคัญ
ไข่ไก่ยังมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบสมอง ซึ่งจะช่วยให้มีสมาธิ ช่วยป้องกัน
อัลไซเมอร์ได้ด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง และผู้ที่ต้องควบคุมอาหารที่มีไขมัน ควรบริโภคตามคำแนะนำของแพทย์
น.สพ.ดร.มงคล กล่าวเสริมว่า การที่คนทั่วไปกลัวโคเลสเตอรอลนั้น นับว่าเป็นความ-
เชื่อกันผิดๆ เพราะในความเป็นจริงแล้วโคเลสเตอรอลแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ โคเลสเตอ-รอลที่ร่างกายสร้างขึ้นที่ตับ จากพลังงานส่วนเกินที่ร่างกายต้องการ เช่น การโดยรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป โดยคอเลสเตอรอลส่วนนี้มีมากถึง 75% ของ
ร่างกาย อีกส่วนคือ สารโคเลสเตอรอลที่ได้รับจากการรับประทานอาหารโดยตรง ซึ่งมีเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้นการลดการกินไข่ ก็ไม่ได้ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลต่ำลงแต่อย่างใด
ดังนั้น ในปัจจุบันปริมาณการบริโภคไข่ที่แนะนำก็คือ
ทารกอายุ 7-12 เดือน บริโภคได้ 0.5 ฟองต่อวัน
เด็กอายุ 1-5 จนถึงวัยเรียน
สตรีตั้งครรภ์ และผู้ที่สุขภาพดีทั่วไป สามารถบริโภคไข่ได้ทุกวันๆละ 1 ฟอง
Cr:Ourworlddata
ด้วยมายาคติแบบผิดๆ ทำให้ปริมาณการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยค่อนข้างน้อย คือ
อยู่ที่ 250 ฟองต่อปี (ข้อมูล พ.ศ. 2562) ยิ่งเมื่อเทียบกับชาติอื่นในเอเชียพบว่า อัตราส่วนการบริโภคไข่ในไทยยังน้อยกว่ามาก อาทิ ประเทศจีนซึ่งมีอัตราการบริโภคอยู่ที่ 340 ฟองต่อปี ญี่ปุ่น 300 ฟองต่อปี ขณะที่ชาติซึ่งบริโภคไข่ไก่มากที่สุดคือประเทศ
เม็กซิโก อยู่ที่ 430 ฟอง/คน /ปี
ข้อมูลจากคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ บอกว่า การบริโภคมากน้อยยังขึ้นอยู่กับถิ่นอาศัย อาทิ ผู้ที่อาศัยในเขตเมืองอย่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล 3
จังหวัด คือนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร บริโภคไข่ในอัตราเฉลี่ยมากกว่าจังหวัดอื่น โดยอยู่ที่ 245 ฟอง/คน/ปี ขณะที่ประชากรในจังหวัดนอกจากนี้บริโภคเฉลี่ยที่ 190 ฟอง/คน/ปี มากกว่านั้น จังหวัดใดที่มีประชากรน้อยกว่า 1 ล้านคน การบริโภคยิ่ง
น้อยลงไปอีก
“อัตราการบริโภคมากน้อยอธิบายได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักคือความสะดวก ต้นทุนและราคาของไข่ เพราะแม้จะมีแหล่งผลิตอยู่ใกล้ๆ แต่ถ้าไม่ได้ซื้อที่หน้าฟาร์ม กระบวนการขนส่งในพื้นที่ไกลจะมีต้นทุนสูงกว่า สมมติจากหน้าฟาร์มราคา 2.50 บาท พอเข้าสู่ล้งไข่ สู่การขนส่งไปถึงผู้ค้าปลีก ราคาจึงสูงขึ้นตาม ทำให้ความนิยมในการบริโภคไข่ในพื้นที่ห่างไกล เปลี่ยนไปสู่การหาแหล่งโปรตีนที่มีราคาถูก หรือหาได้
ง่ายกว่า เช่น ในพื้นที่ชนบทเขาอาจจะยังจับปลาได้ เลี้ยงสัตว์เป็นอาหารเองได้ ไข่
ไก่จึงไม่ใช่อาหารที่หาได้ง่ายเหมือนในเขตเมือง”น.สพ.กิตติ ทรัพย์ชูกุล ประธานคณะทำงานรณรงค์การบริโภคไข่ไก่ และหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg board) อธิบาย
คณะกรรมการมีเป้าหมายคือเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยให้ได้ถึงปีละ 300 ฟองต่อคน
Cr:Globalproductprices
ราคาไข่ไก่
ดร.วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเคยเก็บข้อมูลวงจรของอุตสาหกรรมไข่ไก่ อธิบายว่า ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้เวลาไม่น้อย
กว่า 21 สัปดาห์ในการวางแผน เริ่มตั้งการนำเข้าปู่ย่าพันธุ์แม่ไก่ การควบคุมสภาวะ-
แวดล้อมให้แม่ไก่ออกไข่ได้ตามแผนที่วางไว้
“เมื่อจำนวนไข่ไก่ที่คาดการณ์ไว้ไม่เป็นไปตามแผน อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ไม่สอดคล้องกับความต้องการ นั่นเป็นสาเหตุให้ราคาแกว่ง” นี่คือการอธิบายแบบภาพ
ใหญ่
ราคาไข่ขึ้นอยู่กับขนาด และช่องทางการซื้อขาย เพราะมีให้เลือกตั้งแต่หน้าฟาร์มที่
ราวๆ 2.50 บาท จนถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้า ที่สร้างราคาได้หลายสิบ เช่น ไข่ออร์แก-
นิค ไข่ออนเซ็น ไข่ปรุงรสพร้อมรับประทาน
เมื่อเทียบสัดส่วนต้นทุนต่อราคาขาย ราคาไข่ในประเทศไทยไม่ได้ต่างจากราคาของประเทศอื่น แต่หากเทียบกับรายได้ขั้นต่ำ ดร.วรรณวิภางค์ บอกว่า ค่อนข้างสูงเมื่อ
เทียบกับประเทศอย่างอังกฤษ อเมริกา เนเธอร์แลนด์
ยกตัวอย่างจากการเก็บข้อมูลราคาไข่ขนาดเดียวกันในช่วง ธันวาคม 2560 ซึ่งไข่ 1 แพ็ค จำนวน 15 ฟอง ถูกตั้งราคาขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ราคา 79 บาท ขณะที่ใน
ซุปเปอร์มาร์เต็ตแบรนด์เดียวกันในประเทศอังกฤษอยู่ที่ราคา 1.19 ปอนด์สเตอร์ลิง หรือราวๆ 50.94 บาทโดยประมาณ
“ถ้าพูดกันตรงๆ สำหรับผู้ซื้อ ยิ่งราคาไข่ถูก ผู้ซื้อก็ยิ่งชอบ ราคาไข่ที่ถูกจึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มนั่นคือเกษตรกร จึงต้องมีเอ้กบอร์ดที่คอยควบคุม และสร้าง
กลไกให้อุปสงค์และอุปทานตรงนี้มีความสมดุล เพราะสำหรับราคาไข่ การควบคุมที่ดีที่สุดคือการให้กลไกราคาที่เกิดจากความต้องการและการผลิตทำงานอย่างเสรี”
ราคาไข่ใบละไม่กี่บาทของคนบางคน จึงเกี่ยวพันกับใครอีกหลายคน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งราคาไข่ที่ตกลงส่งผลถึงรายได้ ความสามารถ ถึงขนาดชี้เป็นชี้ตายตัดสินใจทำอาชีพขายไข่เลยทีเดียว
ข้อมูลอ้างอิง
กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ศุนย์การแพย์สมเด็ดพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กรุงเทพธุรกิจ
โฆษณา