28 ธ.ค. 2020 เวลา 12:54 • การตลาด
ท่องเที่ยวไทยไม่เอาถ่าน(Low Carbon Tourism) 1/2
ขึ้นต้นบทความแบบนี้ การท่องเที่ยวไทยฉุนกึกเป็นแน่ๆ แต่ถ้าเข้ามาอ่านแล้วจะเข้าใจว่าท่องเที่ยวแบบไม่เอาถ่าน หรือ “Low Carbon Tourism” เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมาในเมืองไทยได้ระยะหนึ่งแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon city) และเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนวิถีชีวิตแนวใหม่ (New Normal in Marketing)
ในขณะที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตการณ์โลกร้อน อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น สาเหตุจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หรือก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศที่มีปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะกระบวนการเผาไหม้ต่างๆ จากการใช้ชีวิตของมวลมนุษย์ในโลก กระบวนการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำจึงถูกเสนอเข้ามา เพื่อสร้างวิถีชีวิตใหม่เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ
ล่าสุดวิถีเหล่านี้กำลังถูกเสนอขึ้นเป็นโมเดลใหม่ในการท่องเที่ยว “การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ” ซึ่งต้องอาศัยกลไกการตลาดในการขับเคลื่อนเป็นการรณรงค์แคมเปญต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวสนใจและซื้อทัวร์มาเที่ยว “เกาะหมาก” แหล่งอารยะธรรมท่องเที่ยวที่ไม่เอาถ่าน (Low carbon Destination) ของจริงแห่งประเทศไทยและนิยามการท่องเที่ยวแบบไร้คาร์บอนนี้ใหม่ว่า "ท่องเที่ยวแบบไทยๆ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม"
วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Lifestyle) คือ วิถีชีวิตที่ลดปริมาณคาร์บอน (Carbon Minimization) งดการเผาไหม้ทั้งในที่โล่งแจ้งและในครัวเรือน ลดการใช้สารก่อก๊าซเรือนกระจก พวกสเปรย์ต่างๆ (CFC: Chlorofluorocarbon) เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีรายได้จากการดำรงชีพที่ไม่อาศัยคาร์บอนในการให้พลังงาน (Simpler and Richer) เช่น ไม่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ เน้นการเดิน ใช้รถจักรยาน ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ รถไฟฟ้าพลังงานลม ปั่นจักรยานสูบน้ำ การปรับตัวเข้ากับธรรมชาติได้ (Co-Existing with nature) การท่องเที่ยวเป็นกลยุทธ์ในการให้ผู้คนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการท่องเที่ยว เพราะการไปเที่ยวทุกครั้งจะต้องสตาร์ทรถยนต์ แล้วขับไปจนถึงจุดหมาย จะต้องมีการใช้บริการโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร เช่าเรือยนต์ มีการใช้ไฟฟ้า ใช้น้ำมัน ใช้ก๊าซหุงต้ม ตลอดจนการทิ้งขยะตลอดเวลาอย่างไม่รู้ตัว (Continue 2/2)
เกาะหมาก จ.ตราด
โฆษณา