29 ธ.ค. 2020 เวลา 09:48 • การตลาด
Low Carbon Tourism (การท่องเที่ยวแบบวิถีชีวิต Low carbon Blog2/2)
กิจกรรมทั้งหมดนี้ ล้วนแต่ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการท่องเที่ยวของเราเพิ่มสูงขึ้นทุกทีๆ 19.74 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน และ 47,835 ตันต่อปี ซึ่งก็คืออัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในบริเวณพื้นที่หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด
“Low Carbon Tourism” เป็นนวัตกรรมการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี (GIZ) ได้จุดประกายให้เกิดขึ้น มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างความตระหนักในการลดการใช้พลังงาน อันจะนำไปสู่การลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน
Low Carbon Tourism จึงเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ต่อยอดจากแนวคิดจัดการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติในแง่ของการท่องเที่ยวในประเทศ เป็นแนวคิดการท่องเที่ยวที่บริสุทธิ์ ทำให้ผู้คนถวิลหา เป็นธรรมชาติแท้ๆ (Real Natural) ที่ยากจะหาสถานที่ท่องเที่ยวในลักษณะอย่างนี้ได้ในประเทศไทย
การท่องเที่ยวแนวทาง Low Carbon คือ ต้องมีนโยบายท่องเที่ยวโดยการลดการใช้พลังงาน หันมาเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือพายเรือ ลดการใช้เชื้อเพลงคาร์บอนเป็นพลังงาน เพื่อสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนที่ได้ไปเยี่ยมเยียน เปิดโอกาสให้ชีวิตได้ศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติและใช้ชีวิตให้ช้าลง (Slow Life) กินอยู่เรียบง่าย
ส่วนด้านผู้ประกอบการ โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ฯลฯ จะต้องร่วมมือหันมาใช้เครื่องมือบริหารที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม เช่น การ ติดตั้งบ่อหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้ม หมุนเวียนขยะให้เป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างชุมชนให้มีส่วนร่วมโดยให้ความสำคัญกับการดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตชุมชน ตลอดจนกระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3R (Reuse, Reduce, Recycle) อย่างครบวงจร มุ่งสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวแบบไม่เอาถ่านวันนี้ จึงกลายเป็นการท่องเที่ยวที่ “เอาถ่าน” เพราะสามารถทำให้วิถีชีวิตมนุษย์เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งผู้ให้ (ชุมชน) และผู้รับ (นักท่องเที่ยว) ได้ช่วยกันลด ละ เลิกการดื่ม กิน เที่ยวที่ทิ้งภาระให้สังคม แต่ได้ช่วยอนุรักษ์สิ่งที่สวยงามที่ได้เสพไปให้หลงเหลือสิ่งดีงามแก่คนรุ่นหลังได้ชื่นชมบ้าง
นับเป็นความภาคภูมิใจในการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม การท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” ในวันนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่งเพื่อเก็บธรรมชาติที่สวยงามกับโลกสีเขียวใบนี้ให้คนรุ่นหลังต่อไป (จบตอน)
ทัศนียภาพเกาะหมาก
แคมเปญการท่องเที่ยวไม่เอาถ่าน
โฆษณา