31 ธ.ค. 2020 เวลา 06:56 • ประวัติศาสตร์
ท่านทราบหรือไม่ว่า ❓จูเลียส ซีซ่าร์และพระนางคลีโอพัตรา
คือผู้ที่ทำให้ 1 มกรา เป็นวันขึ้นปีใหม่
2
ในยุคโบราณที่วันขึ้นปีใหม่สากลยังไม่มี ผู้คนต่างที่ ต่างถิ่น ต่างกำหนดกันเอาเองตามความเชื่อ ซึ่งส่วนมากก็เป็นความเชื่อตามแต่ศาสนา ตามลัทธิที่ตนนับถือ
4
อย่างไทยเราก็เคยใช้วันสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งก็เป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศแถบลุ่มน้ำโขง ทั้งหมด
ส่วนปีใหม่สากลที่กำหนดให้เป็นวันที่
1 มกราคมนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นก่อนคริสตกาล ในยุคที่อาณาจักรโรมันเรืองอำนาจ
..
3
เรื่องมีอยู่ว่า...
เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล(46BC) ในยุคนั้นอาณาจักรโรมันเรืองอำนาจมาก ครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดในยุโรปครอบคลุมมาถึงแอฟริกา
1
จอมทัพโรมันผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนั้นคือ
จูเลียส ซีซ่าร์
ด้วยพลังอำนาจของกองทหารอันเกรียงไกรของจูเลียส ซีซ่าร์
ทำให้อาณาจักรโรมันสามารถแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปครอบครองแผ่นดินได้ไกลถึงอาณาจักรอิยิปต์โบราณ
แต่ถึงแม้จูเลียส ซีซ่าร์ จะมีความเก่งกาจเชิงรบเพียงใด แต่ในเชิงรัก จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่กลับสยบต่อฟาโรห์สาวอายุคราวลูกที่มีชื่อว่า พระนางคลีโอพัตรา
..
ปูพื้นเรื่องกันมาพอสมควร
เราจะกลับมาว่ากันต่อเรื่องการกำเนิดปฏิทินกันดีกว่า...
ย้อนไปก่อนที่จะถึงสมัยของจูเลียส ซีซ่าร์ การบ่งบอกวันเวลาของอาณาจักรโรมันนั้น มีการใช้ปฏิทินอยู่สองรูปแบบด้วยกันคือ..
รูปแบบแรกเรียกว่าปฏิทิน Romulus Calendar ซึ่งมีการกำหนดให้มีจำนวนเดือน 10 เดือน และมีจำนวนวันคือ 304 วัน
ส่วนปฏิทินรูปแบบที่ 2 เรียกว่า
Numa Calendar ซึ่งมีจำนวนเดือนเพิ่มเป็น 12 เดือน และเพิ่มจำนวนวันเป็น 355 วัน
เหตุที่เรียกปฏิทินนี้ว่า Numa ก็เพราะปฏิทินรูปแบบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์ Numa
..
ถึงแม้ปฏิทินทั้งสองรูปแบบ ถูกใช้ต่อเนื่องมากว่า 700 ปี ทั้งมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาในทุกยุคทุกสมัย แต่นั่นก็ไม่ทำให้ปัญหาของการใช้ปฏิทินสองแบบดังกล่าวหมดไป
ปัญหาของปฏิทินเดิมก็คือ..
ปฏิทินมีความคลาดเคลื่อนของฤดูกาลและวันสำคัญทางดาราศาสตร์ อยู่ตลอดเวลา
..
3
จูเลียส ซีซ่าร์มองว่า ปัญหาความผิดพลาดของปฏิทิน เกิดจากการกำหนดวันในปฏิทินเป็นสิทธิโดยชอบ ตามความเห็นของพระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถทำได้
ไม่มีการเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ เข้าไปช่วยคิด ช่วยปรับปรุง..
..
ขณะที่จูเลียส ซีซ่าร์ กำลังมองหาทางออกของเรื่องนี้
พระนางคลีโอพัตรา จึงขอเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ ด้วยเหตุผลว่าอียิปต์เป็นอาณาจักรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์มากกว่าอาณาจักรโรมัน การจัดทำปฏิทินจึงควรที่จะให้คนอียิปต์เป็นผู้จัดทำ
1
ปกติ จูเลียส ซีซ่าร์ ก็แทบจะเชื่อในคำพูดของพระนางคลีโอพัตราทุกอย่างอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่เรื่องนี้ได้รับการเซ็นอนุมัติทันทีเหมือนกัน
..
2
ผู้รับผิดชอบการสร้างปฏิทินแบบใหม่
มีชื่อว่า Sosigenes ซึ่งท่านผู้นี้เป็น
นักดาราศาสตร์ประจำราชสำนักของอาณาจักรอียิปต์
ปฏิทินเดิมของโรมันนั้น ถูกอ้างอิงตามหลักจันทรคติ Lunar Calendar คือยึดการโคจรของดวงจันทร์ เป็นหลัก
ส่วนปฏิทินรูปแบบใหม่ที่ทาง Sosigenes กำหนดขึ้นนั้น อ้างอิงตามหลัก สุริยะคติ Solar Calendar ตามแนวทางของอียิปต์โบราณ คือยึดการโคจรของดวงอาทิตย์ เป็นหลัก
2
จากการคำนวณใหม่ของ
นักดาราศาสตร์ผู้นี้ ทำให้ปฏิทินแบบใหม่นั้น ..
หนึ่งปีจะมี 365 วัน และในทุก ๆ 4 ปี จะให้มีการชดเชยอีก 1 วัน โดยเพิ่มจำนวนวันเป็น 366 วัน อีกทั้งมีการกำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์มีแค่ 29 วัน
1
เมื่อจูเลียส ซีซ่าร์ตรวจสอบจนพอใจและพบว่าปฏิทินฉบับนี้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน
ปฏิทินฉบับนี้ จึงถูกสั่งให้นำมาใช้เป็นครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม 45 ปีก่อนคริสตกาล
1
..
1
คำถามต่อมาก็คือ...
ทำไมรูปแบบปฏิทินที่ถูกใช้ต่อเนื่องมานับพันปีนี้ จึงกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่และเรียกเดือนแรกของปีว่า January ❓
อ้างอิง ตามความเชื่อของชาวโรมันเกี่ยวกับ เทพเจ้าที่มีชื่อว่า เทพเจ้า
เจนัส Janus
เทพเจ้าเจนัส เป็นเทพที่มีหน้าสองหน้า
หน้าด้านหนึ่งมองไปด้านหน้า
หน้าอีกด้านหนึ่งมองกลับไปด้านหลัง
ตามความเชื่อกล่าวว่า..
ชาวโรมันเกิดความกลัวว่าดวงอาทิตย์จะหายไปในฤดูหนาวเพราะในฤดูหนาวดวงอาทิตย์จะคล้อยต่ำลงไปทางทิศใต้ จนดูเหมือนจะไม่โผล่ขึ้นมาอีก
ชาวโรมันจึงทำการวิงวอนเทพเจนัสให้ช่วยดึงดวงอาทิตย์กลับมา
ซึ่งเทพเจนัส ก็ดึงดวงอาทิตย์กลับมาได้จริง ๆ ตามคำขอ
1
และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อเทพเจนัส ผู้ดึงดวงอาทิตย์กลับมา
ชาวโรมันจึงกำหนดให้วันที่ดวงอาทิตย์เริ่มสูงขึ้นจากทางทิศใต้ ให้เป็นวันแรกของปีหรือเรียกว่าวันปีใหม่ โดยให้เรียกชื่อเดือนแรกของปีว่าJanuary อันมาจากคำว่า Janus อันเป็นชื่อของเทพเจ้าผู้มองไปยังอนาคตและอดีต
..
1
ทั้งหมดที่เล่ามานั้นคือที่มาของรูปแบบปฏิทิน ที่กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม
(1 January)เป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่เราใช้กันมานับพันปีจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา