1 ม.ค. 2021 เวลา 22:36 • ประวัติศาสตร์
บ้านไม้สักสุดหรูหรา ของ ดร.ชีค
(Dr.Marion Alphonso Cheek M.D.)
มิชชั่นนารี ชาวอเมริกัน
ที่สร้างขึ้นริมน้ำปิงนั้น
เจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ องค์ที่๗
พระราชทานที่ดินให้ หมอชี้ค
เนื่องจาก ที่หมอชี้ค
ได้ทำการรักษาแม่เจ้า จนหายดี
( น่าจะเป็น แม่เจ้ารินคำ)
ต่อมาได้ตกเป็นสมบัติของ
นาย หลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์
#บตรชายของแอนนา คู่หู หลังจากที่
หมอชี้คได้เสียชีวิต ในปี ๒๔๓๘
และ นายหลุยส์ ได้นำไปใช้หนี้
แทนเงิน ๒๕,๖๙๖ รูปี ให้กับ เจ้าดารารัศมี
และ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ท่านได้ประทาน
บ้านหมอชี้ค หลังนี้ให้กับ เจ้าแก้วนวรัฐ
ภายหลังเจ้าแก้วนวรัฐ
ได้รับสถาปนาเป็น
มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ
เป็น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9
แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร
คุ้มแห่งนี้ จึงกลายเป็น คุ้มหลวง
( เป็นคุ้มหลวงแห่งแรกที่อยู่นอกกำแพงเมือง )
คุ้มหลวงริมปิง หลังนี้
ตั้งอยู่บนถนนวิชยานนท์
บริเวณริมน้ำแม่ปิงฝั่งตะวันตก
มีการจัดงานเฉลิมฉลองขึ้นคุ้มใหม่
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2468
เมื่อเจ้าแก้วนวรัฐถึงพิราลัย ในปี พ.ศ.2482
คุ้มหลวงริมปิง ถูกทิ้งให้รกร้าง
จนถึงปี พ.ศ.2488
จากนั้นนายชู โอสถาพันธุ์ (เต๊กชอ แซ่โอ้ว)
พ่อค้าชาวจีนได้ซื้อในราคา 180,000 บาท
คุ้มหลวงริมปิง เป็นอาคารไม้สัก 2 ชั้น
หันหน้าไปทางแม่น้ำปิง
สมัยเป็นคุ้ม มีการดัดแปลงอาคาร
ให้มีบันไดด้านหน้าสองข้างซ้ายขวา
ชั้นล่างเป็นห้องโถง ห้องรับแขก และ ห้องครัว
ส่วนชั้นบนเป็นห้องพักขนาดใหญ่
จำนวน 7 ห้อง
ด้านหลังมีอาคารห้องแถวไม้สองชั้น
เดิมเป็นที่ซ้อมดนตรีละคร
และ เป็นที่พักของตัวละคร
กระทั่งปี พ.ศ.2499 ได้รื้อคุ้มหลวงริมปิง
เพื่อสร้าง ตลาดนวรัฐ
นับได้ว่า บ้านหลังนี้เปลี่ยนมือเจ้าของ
ถึงสามชนชาติ ทั้ง ฝรั่ง ไทย จีน
ตามเเต่ว่า ใคร จัก รุ่งเรือง
ในเมืองเชียงใหม่ในเวลานั้น
ความเจริญของเมืองเชียงใหม่
ได้มากระจุกตัวที่ชุมชนท่าแพริมน้ำปิง
โดยมีบันทึกไว้
ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ ศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ
ที่อยู่ตรงบ้านอธิบดีศาลภาค ๕
เชิงสะพานนวรัฐ ถูกน้ำปิงล้นตลิ่งเข้าท่วม
จนผนังพังไปบางส่วน ข้าหลวงใหญ่ฯ
จึงได้ย้ายที่ทำการเข้ามาเปิดทำการรวมกับ
ที่ว่าการเค้าสนามหลวงที่กลางเวียง
ตรงที่เคยเป็นที่ตั้งศาลแขวงเชียงใหม่
เมื่อ ศาลารัฐบาลมณฑลพายัพ
ย้ายมาเปิดทำการชั่วคราวในเวียง
ในเวลานั้น
ภายในเวียงเชียงใหม่
เกือบจะกลายเป็นเมืองร้างไปแล้ว
เพราะ นับแต่เจ้าแก้วนวรัฐฯ
ไปริเริ่มสร้างตลาด ที่ ข่วงเมรุริมน้ำปิงแล้ว
ความเจริญก็ย้ายออกไป
ที่บริเวณท่าแพริมน้ำปิง
 
ในช่วงปลายสมัย เจ้าอินทวโรรสฯ
สภาพภายในเวียงเชียงใหม่
มีบันทึกว่า แทบจะเป็นเมืองร้าง
ถ้าไม่มีศาลารัฐบาล และ โรงเรียนตัวอย่าง
ประจำมณฑล "ยุพราชวิทยาลัย" ตั้งอยู่
ในเวลากลางวันภายในเวียงเชียงใหม่
ก็คงจะไม่มีผู้คนไปมา
มิพักที่จะกล่าวถึงในเวลากลางคืน
ซึ่งไม่มีผู้คนสัญจรไปมาเลย
ดังนั้นเมื่อเจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้รับสถาปนา
เป็นเจ้านครเชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๕๔ แล้ว
จึงเลือกทีจะอยู่ที่ คุ้มเดิม ที่ ริมน้ำปิง
ซึ่งปัจจุบันเป็น ตลาดนวรัฐ
ไม่ย้ายเข้ามาอยู่คุ้มหลวงในเวียง
เช่น เจ้านครตนอื่นๆ
เจ้าแก้วนวรัฐ......
..เป็น บิดา ของ เจ้าน้อยศุขเกษม
ผู้สร้าง ตำนานรัก สาวพม่า หมะเมี้ยะ
ในช่วงราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐.
ซึ่งเรื่องราว ก็ คงเกิดขึ้นที่คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ แห่งนี้
รายละเอียดเรื่องนี้
โปรดอ่านในหนังสือ
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่ ของ วรชาติ มีชูบท
โฆษณา