Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์และการแพทย์
•
ติดตาม
2 ม.ค. 2021 เวลา 04:50 • สุขภาพ
วิวัฒนาการของโรค ตอนที่ 2.1
ยุคการเกษตร : อู่ข้าว อู่น้ำ อู่เชื้อโรค
ช่วงปลายยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย (ราว 14,000 ปีก่อน) เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้น พืชตระกูลหนึ่งได้เจริญเติบโตขึ้นในหลายทวีปทั่วโลก และนั่นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล
มนุษย์เริ่มเรียนรู้การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวเพื่อประโยชน์มานานเช่นการโรยเมล็ดพืชป่าเพื่อมาเก็บกินในภายหลัง ธัญพืชกลุ่มหญ้าป่า เช่น ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวบาเลต์ ข้าว ฯลฯ ที่เจริญขึ้นจากสภาพอากาศ ที่อบอุ่นในยุคนั้น มีลักษณะเด่นคือ ขยายพันธุ์ได้ง่าย เก็บได้เป็นเวลานาน สะดวกต่อการขนย้าย ได้ค่อยๆกลายมาเป็นอาหารหลักของมนุษย์
การเก็บที่มากขึ้นนำมาสู่การสะสมอาหาร การพัฒนาการเพาะปลูกอย่างเต็มตัว และการตั้งชุมชนเป็นหลักแหล่ง ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของโรคยุคต่อมา โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญได้แก่
1. การเลี้ยงปศุสัตว์ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการติดต่อของโรคข้ามสายพันธุ์ การอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างมนุษย์และปศุสัตว์ เช่น สุนัข วัว แกะ หมู และสัตว์ปีกต่างๆ นำมาสู่การปรับตัวของเชื้อ (Pathogens) ในการเข้าสู่ร่างกายและปรับตัวให้อยู่รอดในร่างกายมนุษย์ จนถึงแพร่ผ่านจากมนุษย์สู่มนุษย์โดยตรง William Mcniell นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้ประเมินว่า มนุษย์มีโรคต่างๆร่วมกับสัตว์ต่างๆ สุนัข 65 โรค, วัว 50, แพะและแกะ 46, หมู 42, ม้า 35 และ สัตว์ปีก 26 โรค โรคต่างๆในกลุ่มนี้เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) หัด (Measles)
2. ความหนาแน่นของประชากร เพิ่มการแพร่ของโรคติดต่อทางอากาศ (Airborne) การเพิ่มของอัตราประชากร จากการรอดของเด็กทารก และเด็ก รวมทั้งอัตราการรอดชีวิตของผู้สูงอายุ นำมาสูการเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมการ ถ่มน้ำลาย ไอ และ จาม โรคกลุ่มนี้เช่น ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หวัด (Common cold) ไอกรน (Whooping cough)
3. การเพิ่มขึ้นของสัตว์พาหะนำโรค ที่วิวัฒนาการการใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนมนุษย์ การอาศัยของมนุษย์เป็นหลักแหล่งดึงดูดสัตว์อย่าง หนูป่า ในการหลบซ่อน และหาอาหารจากชุมชนมนุษย์ ซึ่งเพิ่มการแพร่เชื้อโรค เช่นโรคฉี่หนู (Leptospirosis) หรือกระทั่ง 1 ในโรคระบาดที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดในยุคต่อมาอย่าง กาฬโรค (Plague)
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย