5 ม.ค. 2021 เวลา 05:21 • หนังสือ
สร้างนิสัยให้ดีขึ้นด้วยกฏ 4 ข้อจากหนังสือ Atomic Habits
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ดี แต่พอเอาไปทำจริงๆ ก็อาจจะรู้สึกยากที่จะทำ หรือไม่สามารถทำมันได้อย่างต่อเนื่อง
กลับกัน กิจกรรมบางอย่างเช่นกินเหล้า สูบบุหรี่ นั่งดูทีวี และกิจกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่าง ที่รู้แหละว่าถ้าทำบ่อยๆ มันไม่ดี แต่หลายๆ คนก็ยังทำมันเป็นประจำ ห้ามใจตัวเองไม่ได้ เพราะมันง่ายที่จะทำแต่ยากที่จะเลิก
2
James Clear ผู้เขียนหนังสือ Atomic Habits ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าคุณเสริมสร้างนิสัยดีๆ วันละ 1% เมื่อครบปีคุณเป็นคนที่ดีขึ้น 37.78 เท่า ในทางกลับกัน ถ้าคุณเสริมสร้างแต่นิสัยแย่ๆ เมื่อครบปี คุณจะเป็นคนที่แย่ลง
1
ทุกสิ่งที่คุณทำ เมื่อทำจนคุ้นชิน ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี มันจะสร้างนิสัยให้กับคุณ ซึ่งนิสัยนั้นส่งผลอย่าง "มหาศาล" ให้กับชีวิต
ในบทความนี้ ผมจะมาแชร์กฏ 4 ข้อจากหนังสือ Atomic Habits ที่ช่วยให้คุณสร้างนิสัยดีๆ ให้มากขึ้นและลดนิสัยแย่ๆ ให้น้อยลง
1
ถ้าคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว ลองเอากฏไปปรับใช้ตาม รับรองว่า 1 ปีผ่านไป คุณจะกลายเป็นตัวคุณในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นกว่าเดิมแน่ๆ ครับ :)
Note: เนื้อหาในบทความนี้บางส่วนเอามาจากหนังสือ Atomic Habits ซึ่งผมคิดว่าเป็นหนังสือที่ดีมากๆ เล่มนึงในการช่วยเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าคุณอ่านบทความนี้จบแล้วอยากศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม คุณสามารถไปซื้อหนังสือเล่มนี้ได้ครับ มีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยให้เลือกอ่าน
บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่ https://sitthinunt.com/self-development/building-good-habits/
กฏ 4 ข้อ ช่วยสร้างนิสัยที่ดีและกำจัดนิสัยที่แย่ออกจากเรา
1
กฏข้อที่ 1: ทำให้ชัดเจน
สิ่งแรกที่คุณควรลองทำคือการเขียนสิ่งที่คุณทำเป็นนิสัยออกมา แล้วประเมินดูว่าสิ่งที่ไหนคุณทำดีหรือไม่ดี (ในหนังสือ Atomic Habits เรียกว่า Habits Scorecard)
เช่นถ้าคุณต้องการจะสร้างนิสัยที่ดีในตอนเช้า คุณก็อาจจะเขียนขึ้นมาว่าสิ่งที่คุณทำมีอะไรบ้างเช่น ตื่นนอน เช็คโทรศัพท์ แปรงฟัน อาบน้ำ ตากผ้าเช็ดตัว แต่งตัว ชงกาแฟ
จากนั้นลองให้คะแนนกิจกรรมที่คุณทำดู ถ้าเป็นกิจกรรมที่ดีให้ใส่ + ถ้ากลางๆ ให้ใส่ = และถ้าไม่ดีให้ใส่ - เช่น ตื่นนอน (=) เช็คโทรศัพท์ (-) แปรงฟัน (+) อาบน้ำ (+) ตากผ้าเช็ดตัว (=) แต่งตัว (=) ชงชา (+)
คำว่าดี กลางๆ ไม่ดี แต่ละคนไม่เหมือนกัน คุณสามารถใช้ความคิดเห็นของคุณเป็นตัวตัดสินเองได้ หนังสือ Atomic Habits แนะนำว่าถ้าคุณไม่แน่ใจว่ากิจกรรมนั้นๆ เป็นแบบไหน ให้คุณถามตัวเองว่า "กิจกรรมนั้นๆ จะช่วยให้คุณเป็นคนแบบที่คุณต้องการได้รึเปล่า? หรือกิจกรรมนั้นๆ จะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้คุณเป็นคนแบบที่คุณต้องการรึเปล่า?"
เมื่อคุณรู้แล้วว่ากิจกรรมไหนดี/ไม่ดี (สำหรับคุณ) สิ่งที่คุณควรทำถัดมาคือการหยิบกิจกรรมที่ไม่ดีออกและใส่กิจกรรมที่ดีเข้าไปแทนครับ
ถ้าคุณต้องการเครื่องมือที่ช่วยให้กิจกรรมต่างๆ ที่คุณคิดไว้เห็นได้ชัดเจนขึ้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการเขียนและแปะไว้ในที่ที่คุณเห็นชัดตอนใกล้ทำกิจกรรมเหล่านั้น หรือถ้าคุณไม่ชอบแบบ Digital คุณสามารถที่ใช้ทำ Habits Tracker ช่วยได้ครับ (เข้าไปใน App Store / Play Store แล้วค้นหาคำว่า Habits Tracker มีเครื่องมือให้คุณเลือกหลายตัวครับ)
เย็นนี้หรือพรุ่งนี้เช้า ลองเอากฏข้อนี้ไปใช้ดูนะครับ คุณอาจจะพบว่ามีกิจกรรมบางอย่างที่คุณอยากจะตัดออกก็เป็นได้ครับ :)
กฏข้อที่ 2: ทำให้น่าดึงดูด
หลายๆ พฤติกรรมที่ดีนั้นมันดูไม่น่าดึงดูดเอาซะเลย ทั้งที่เรารู้ว่ามันดี แต่มันไม่น่าทำ เช่นการออกกำลังกาย (เพราะมันทำให้ปวดตัว) การกินอาหารดีๆ (เพราะมันไม่อร่อย) การพักผ่อนให้เพียงพอ (เพราะมันทำให้เราไม่มีเวลาทำสิ่งต่างๆ ที่เราอยากทำ)
สิ่งที่คุณควรลองทำคือการผสานพฤติกรรมที่คุณควรทำเข้ากับอะไรบางอย่างที่น่าดึงดูดผ่าน Framework ด้านล่างนี้
หลังจากที่ฉันทำ (พฤติกรรมนี้) ฉันจะทำ (สิ่งที่ต้องทำ)
หลังจากที่ฉันทำ (สิ่งที่ต้องทำ) ฉันจะทำ (สิ่งที่อยากทำ)
เช่นถ้าคุณอยากดูทีวีแต่ยังมีงานค้าง คุณก็อาจจะบอกตัวเองว่า
หลังจากที่กินข้าวเที่ยงเสร็จ ฉันจะรีบเคลียร์งานให้เสร็จ
หลังจากที่ฉันเคลียร์งานเสร็จ ฉันจะดูทีวี
Framework นี้ช่วยทำให้คุณรู้ว่าคุณจะต้องทำสิ่งที่ต้องทำเมื่อไหร่ และหลังจากทำมันแล้วคุณจะได้อะไร
นอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ (ที่เป็น Internal Factor) แล้ว สิ่งแวดล้อม (ที่เป็น External Factor) ก็สำคัญมากๆ (ในที่นี้หมายถึงคนที่แวดล้อมตัวคุณ) ซึ่งโดยปกติแล้วคนมักจะทำตามคน 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่กลุ่มคนใกล้ชิด กลุ่มคนส่วนใหญ่ และกลุ่มคนที่มีอำนาจ
ถ้าคุณอยากที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ให้หาคนใกล้ชิด (พ่อแม่พี่น้อง หรือเพื่อนฝูง) คนส่วนใหญ่ (ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นเป็นเรื่องยาก ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ในที่นี้สามารถหมายถึงคนนอกเหนือจากคนใกล้ชิดที่คุณใช้เวลาอยู่ด้วยบ่อยๆ ได้เช่นการไปเข้าชมรมต่างๆ ตอนเย็น หรือการไปงานอีเวนต์ที่รวมคนกลุ่มที่มีความสนใจใกล้เคียงกับคุณ) และคนที่มีอำนาจ (ซึ่งในส่วนนี้อาจจะลองดูปัจจัยที่คุณพอจะควบคุมได้เช่นการมีหัวหน้างานที่ดี)
คุณคือค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่คุณใช้เวลาด้วยมากที่สุด เพราะฉะนั้นเลือกคนรอบตัวให้ดีนะครับ :)
กฏข้อที่ 3: ทำให้ง่าย
อะไรที่ทำได้ง่ายคุณมักจะไม่ต้องคิดเยอะเวลาที่จะทำมัน
ถ้าคุณลองทำกฏข้อที่ 1 และ 2 แล้วยังรู้สึกว่าคุณยังไม่สามารถทำให้พฤติกรรมนั้นๆ เป็นนิสัยได้ กฏข้อที่ 3: ทำให้ง่ายเข้าไว้ อาจะช่วยคุณได้
ตัวอย่างการทำให้ง่ายมีหลายตัวอย่างเช่น
ถ้าคุณอยากอ่านหนังสือก่อนนอนมากขึ้น คุณก็อาจจะวางหนังสือไว้ใกล้ๆ ตัวเพื่อจะได้สะดวกในการอ่าน
หรือถ้าคุณต้องการจะแข็งแรงขึ้น คุณก็อาจจะวางดัมเบลหรืออุปกรณ์ออกกำลังกายไว้ใกล้ๆ
หรือถ้าคุณต้องการที่กินอาหารสุขภาพในตอนเช้า คุณก็อาจจะปอกผลไม้ตอนมือค่ำเพื่อที่เช้าวันถัดมาคุณจะหยิบมันกินได้เลย
ในทางกลับกัน ถ้าคุณอยากที่จะเลิกนิสัยเสียอะไรบางอย่าง สิ่งที่คุณต้องทำก็คือแค่ทำกลับกันคือ "ทำให้ยาก" เข้าไว้
ตัวอย่างที่ผมอยากยกมาเป็นตัวอย่างของผมเอง ซึ่งก็คือผมอยากเลิกติด Facebook อยากเลิกว่างเป็นจับ ขยับเป็นไถอยู่ทุกๆ 10 นาที
วิธีการของผมก็คือการทำให้การเข้าไปไถ Feed Facebook ยากขึ้นด้วยการลบแอปบนมือถือทิ้ง รวมไปถึงติดตั้งตัวปิดกันการเข้าถึง News Feed บน Desktop ซึ่งผมที่ได้คือจากที่วันนึงเข้า Facebook เป็นหลายสิบ (หรืออาจจะเป็นหลักร้อย ซึ่งไม่เคยนับ) กลายเป็นเข้าวันนึงไม่ถึง 10 ครั้งได้
1
Note: คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่ [แชร์ประสบการณ์] วิธีการเลิก “เสพติด Facebook” ได้อย่างจริงจัง
ว่าแล้วก็ลองสำรวจรอบๆ ตัวคุณดูตอนนี้เลยก็ได้ครับว่ามีอะไรที่เป็นตัวเสริมสร้างกิจกรรมที่ "ไม่ดี" ให้คุณทำได้อย่างง่ายๆ บ้าง ลองหยิบมันไปทิ้งหรือเอามันไปซ่อนดูนะครับ :)
กฏข้อที่ 4: ทำให้พอใจ
กฏข้อสุดท้าย: ทำให้พอใจ
มันไม่สำคัญเลยว่าพฤติกรรมที่คุณจะทำมันถูกทำให้เกิดความชัดเจน เกิดความดึงดูด หรือเกิดความง่ายแค่ไหน ถ้าพฤติกรรมนั้นๆ ไม่ทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่คุณพอใจ
1
ตัวอย่างจากหนังสือ Atomic Habits คือการที่คู่สามีภรรยาคู่หนึ่งที่อยากเลิกนิสัยการไปกินข้าวนอกบ้านบ่อยๆ และอยากทำอาหารกินด้วยกันที่บ้านมากขึ้น พวกเขาก็เลยใช้วิธีว่า วันไหนก็ตามที่พวกเขาอดใจไม่ไปกินข้าวด้วยกันนอกบ้านได้ พวกเขาจะโอนเงิน $50 เข้าบัญชีที่ชื่อว่า "ทัวร์ยุโรป" พอถึงปลายปี พวกเขาก็เลยมีเงินพอไปทัวร์ยุโรปจริงๆ
หรือตัวอย่างอื่นๆ เช่นถ้าคุณอยากจะลดไขมันในร่างกาย สิ่งที่คุณควรทำคือการพยายามวัดความฟิตของร่างกาย (ซึ่งจะมีการวัดไขมันอยู่ด้วย) เสมอๆ เพื่อทำให้คุณเห็นตัวเลขความฟิตของคุณที่มากข้ึนและไขมันที่น้อยลง
หรือถ้าคุณต้องการจะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ สิ่งที่คุณควรทำในการสร้างความพึงพอใจคือหลังจากเรียนรู้มาแล้ว ลองไปสอบเพื่อเอาใบประกาศนียบัตรเพื่อเป็นรางวัลให้กับตัวเอง เป็นต้น
2
ทำดีต้องได้ดี ถ้าทำดีแล้วไม่ได้ดี (หรือไม่รู้ว่าได้อะไร) คุณก็อาจจะไม่อยากทำ
สรุป
และนี่ก็คือกฏ 4 ข้อที่จะทำให้คุณมีนิสัยที่ดีขึ้นนะครับ
การสร้างนิสัยที่ดีขั้นไม่ใช่ Rocket Science แต่เป็นสิ่งที่สามารถเรียนรู้และทำตามได้ทุกคน
สิ่งสำคัญมากๆ ในบทความนี้ (และจากที่ผมได้เรียนรู้จากหนังสือเรื่อง Atomic Habits) คือสภาพแวดล้อมมีผลมากๆ
นิสัยที่ดีควรจะเกิดจากการที่คุณไม่จำเป็นต้องพยายามอะไรให้มากเกินไป ซึ่งการที่จะทำอย่างนั้นได้ คุณต้องควบคุม External Factor (ปัจจัยภายนอกตัวคุณ) ให้ได้ครับ
ถ้าคุณสามารถทำตัวเองให้ดีขึ้นได้ ไม่ต้องเยอะ แค่วันละ 1% ครบปี คุณจะกลายเป็นคนที่ดีขึ้นถึง 37.78% เชียวนะครับ
1
Happy building good habits ครับ :)
ผมเขียนบทความเกี่ยวกับ Entrepreneurship, Self-Development, Talent Management & Productivity เป็นประจำ
ไม่พลาดบทความดีๆ ที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพียงเลือกติดตามผ่านทางช่องทางด้านล่าง :)
4. LINE: https://lin.ee/ac2WqRU หรือแอด LINE ID: @sitthinunt
หรือเข้าไปอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ในเว็บไซต์อื่นของผมได้ที่ https://magnetolabs.com/blog/ และ https://contentshifu.com/author/bank/
โฆษณา