Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 ม.ค. 2021 เวลา 04:06 • ธุรกิจ
รู้จัก HHI index ดัชนีชี้วัด ระดับการผูกขาด
หลายคนคงจะเคยได้ยินว่า “ที่ไหนมีกำไร ที่นั่นย่อมมีการแข่งขัน”
แต่ก็มีบางอุตสาหกรรม ที่มีเจ้าตลาด ที่ใครๆ ก็ยากจะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งกำไรในตลาดนั้นได้
ซึ่งเราเรียกตลาดแบบที่ว่านี้ว่า “ตลาดผูกขาด”
1
แล้ว การผูกขาด คืออะไร?
การผูกขาด ตามคำนิยามแล้วก็คือ การที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเพียงรายเดียวครองส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดของตลาดนั้น
โดยลักษณะที่ถือว่าเป็นจุดเด่นในตลาดผูกขาด คือ ผู้ผูกขาดจะมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่า อุปสรรคในการเข้าตลาด หรือ Barriers to entry
โดย Barriers to entry ที่ว่านี้ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Barriers to entry ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ซึ่งเกิดจากการที่บริษัทสามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากๆ จนสามารถทำให้มีต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตที่ต่ำ หรือเรียกว่า เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale)
ในกรณีนี้ จะทำให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาแข่งขันได้ยากเพราะจะมีต้นทุนที่สูงกว่าจนสู้ไม่ไหว
2. Barriers to entry ที่เกิดขึ้นโดยกฎหมาย
ซึ่งเป็นการจำกัดการแข่งขันและการเข้าสู่ตลาดจากผู้มีอำนาจหรือภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น การให้สัมปทาน ใบอนุญาต หรือ สิทธิบัตรในการเป็นผู้ผลิต
อย่างในประเทศไทย ก็จะอยู่ในรูปแบบของ สัมปทานเหมืองแร่ สัมปทานรถไฟฟ้า
1
แล้วการผูกขาดวัดได้อย่างไร?
วันนี้ THE BRIEFCASE ขอยกตัวอย่างดัชนีที่นิยมใช้วัดการผูกขาด
คือ “Herfindahl-Hirschman Index” หรือเรียกย่อๆ ว่า “HHI Index”
ซึ่งเป็นดัชนีที่คำนวณมาจากขนาดยอดขายของบริษัท เทียบกับ ยอดขายทั้งหมดของทั้งอุตสาหกรรม
โดยดัชนีนี้ จะถูกใช้ในการวิเคราะห์การกระจุกตัวของตลาด ซึ่งจะทำให้มองเห็นระดับความรุนแรงของการแข่งขันในตลาดได้อย่างชัดเจน
โดยเกณฑ์วัดก็คือ
- HHI index ต่ำกว่า 1,000 ตลาดจะมีการแข่งขันกันสูง และไม่มีใครเป็นผู้ผูกขาด
- HHI index อยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 1,800 ตลาดจะมีการแข่งขันพอสมควร
- HHI index มีค่ามากกว่า 1,800 ตลาดอาจมีการผูกขาด และ อาจจะมีผู้ให้บริการที่มีอำนาจเหนือตลาด
- HHI index มีค่า 10,000 มีผู้ให้บริการรายเดียวและเป็นผู้ผูกขาดตลาด
3
ทีนี้ลองมาดูเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในไทย อย่าง กรณีที่กลุ่มซีพี ซื้อเทสโก้ โลตัส
ถ้าวัดจาก HHI Index จะพบว่า ก่อนที่ซีพีจะซื้อเทสโก้ โลตัส
ธุรกิจค้าปลีกจะมี HHI Index อยู่ที่ 5,553 แสดงให้เห็นว่า ตลาดมีการกระจุกตัวที่สูงอยู่แล้ว และอาจมีการผูกขาดเกิดขึ้น
ทีนี้ เมื่อกลุ่ม ซีพี ควบรวมกับ เทสโก้ โลตัส ก็จะทำให้ HHI Index เพิ่มสูงขึ้นเป็น 6,944
หมายความว่า ถ้าอ้างอิงตาม HHI Index แล้ว กรณีของการที่กลุ่มซีพี ซื้อเทสโก้ โลตัส นั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นการผูกขาด แต่ก็เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของการกระจุกตัวของตลาด และเพิ่มอำนาจในตลาดมากขึ้นไปอีก
และแม้ว่าจะไม่เป็นการผูกขาด แต่หลังการควบรวมธุรกิจ
ก็ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส จะมีส่วนแบ่งตลาดธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็ก รวมกันสูงถึง 83% เลยทีเดียว
และนี่ก็คือ HHI Index ดัชนี ที่นิยมนำมาใช้ชี้วัดระกับการผูกขาด นั่นเอง..
References
-
http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO81.pdf
-
https://www.prachachat.net/wp-content/uploads/2020/12/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2_CP-Tesco_18122563-final.pdf
10 บันทึก
15
14
10
15
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย