4 ม.ค. 2021 เวลา 08:08 • สุขภาพ
เศร้า !! โควิด เสียชีวิตรายที่ 65 สังคมได้บทเรียนอะไรบ้าง
3
วันนี้(4มค2563) มีรายงานการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิดรายที่ 65 ซึ่งจากการวิเคราะห์ไทม์ไลน์ จะได้เห็นจุดอ่อน และน่าจะเป็นกรณีศึกษาได้
ชายไทยอายุ 56 ปี มีปัจจัยเสี่ยงคือ มีโรคประจำตัว ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
มีประวัติเข้าพื้นที่เสี่ยงที่จังหวัดสมุทรปราการและเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
28 ธันวาคม 2563 เริ่มมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ได้ จึงไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในแผนกผู้ป่วยนอก
แปลความได้ว่า ไม่ได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็น
โควิด-19 จึงให้กลับบ้าน ไม่ได้รับการรักษาไว้เป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล
2
30 ธันวาคม 2563 อาการแย่ลง ไข้สูง 38.5 องศาเซลเซียส เหนื่อยหอบมากขึ้น
มาโรงพยาบาลอีกครั้ง ได้ตรวจพบว่า ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงเหลือ 85% (ปกติต้องมากกว่า 95%)
ทำการเอ็กซเรย์ปอด พบปอดอักเสบ
ได้ส่งตรวจหาไวรัสโคโรนาด้วย
2
1 มกราคม 2563 ผลการตรวจออกมาเป็นบวก
1
2 มกราคม 2563 อาการมากขึ้น ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
3 มกราคม 2563 ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว
รวมการเจ็บป่วยครั้งนี้ เพียง 7 วัน
1
จุดที่น่าสนใจ และอาจจะเป็นจุดที่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้คือ
ในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่ง ผู้ป่วยได้ไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่แผนกผู้ป่วยนอก
ตรงนั้น มีข้อเท็จจริงว่าทางโรงพยาบาลไม่ได้รับไว้รักษาเป็นผู้ป่วยใน แต่ให้กลับบ้านไป อีกสองวันอาการหนักจึงกลับมาอีกครั้ง
อาจเกิดจากผู้ป่วยไม่ได้ให้ประวัติ เรื่องการเข้าพื้นที่เสี่ยง
1
จุดที่ควรแก้ไขคือ ผู้ป่วยทุกราย ควรให้ประวัติกับแพทย์ตามความเป็นจริง เพราะถ้าให้ประวัติว่าไปเข้าพื้นที่เสี่ยงมา แพทย์ก็จะได้คิดถึงโควิด-19 และทำการส่งตรวจเชื้อในวันนั้นเลย
2
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ ผู้ป่วยได้ให้ประวัติการเข้าพื้นที่เสี่ยงแล้ว ก็คงเป็นกรณีศึกษา ที่ทางโรงพยาบาลซึ่งตรวจผู้ป่วยในวันที่ 28 ธันวาคม แต่ไม่ได้ส่งตรวจหาเชื้อ
2
ควรส่งตรวจหาเชื้อในวันนั้นเลย และอาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเรื่องระดับออกซิเจนในกระแสเลือด หรือเอกซเรย์ปอด แม้อาการเหนื่อยหอบจะไม่มากนักก็ตาม
2
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ทั้งกรณีจุดอ่อนอยู่ที่ตัวผู้ป่วยไม่ได้ให้ประวัติเสี่ยง
หรือกรณีจุดอ่อนอยู่ที่ทางโรงพยาบาล ไม่ได้คิดถึงโควิด หรือมีข้อจำกัดไม่ได้ทำการตรวจเพิ่มเติมก็ตาม
ล้วนแต่ทำให้ผู้ป่วยรายนี้ ได้รับการรักษา ได้ยาฆ่าเชื้อไวรัสช้าไปสองวัน
1
เพราะผู้ป่วยกลับมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นผู้ป่วยใน ในวันที่ 30 ธันวาคม 2563
ซึ่งในวันนั้น อาการชัดเจนแล้ว จึงได้มีการตรวจทั้งระดับออกซิเจนในกระแสเลือด ทำการเอ็กซเรย์ปอดและส่งตรวจหาเชื้อไวรัส
ซึ่งแม้จะได้ให้การรักษาอย่างเต็มที่ แต่อาการของโรคได้เดินหน้าไปมากแล้ว มากกว่า 48 ชั่วโมง
จึงเป็นที่น่าเสียดาย ที่ไม่สามารถจะช่วยชีวิตผู้ป่วยรายนี้ไว้ได้ ทั้งที่อายุเพียง 56 ปี
1
คงเป็นกรณีศึกษา ที่จะให้บทเรียนกับทุกฝ่ายในการ พัฒนาปรับปรุงให้การช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ดียิ่งขึ้นต่อไป
ขอแสดงความเสียใจมายังครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วยครับ
โฆษณา