Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์และการแพทย์
•
ติดตาม
4 ม.ค. 2021 เวลา 16:25 • สุขภาพ
วิวัฒนาการของโรค ตอนที่ 2.2 ยุคการเกษตร : อู่ข้าว อู่น้ำ อู่เชื้อโรค (2)
นอกจากปัจจัยเรื่องของการเลี้ยงปศุสัตว์ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเข้ามาอาศัยของสัตว์พาหะนำโรคในชุมชน การอาศัยในชุมชนถาวรและการทำการเกษตรของมนุษย์ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ทั้งภายนอกและภายในร่างกายมนุษย์ซึ่งนำมาสู่ปัจจัยก่อโรคอื่นๆ เช่น
การวิวัฒนาการของปรสิต การขยายพื้นที่การเกษตรจนพบปรสิตใหม่ๆ และภาระจากการทำเกษตรต่อร่างกายที่ไม่ได้วิวัฒนาการมา
1. การวิวัฒนาการของปรสิตภายนอกที่วิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ เช่นเหา โลน หมัด มีงานวิจัยศึกษาพบว่าบรรพบุรุษกลุ่ม เหา และ โลน (Pediculus humanus) วิวัฒนาการร่วมกับบรรพบุรุษของมนุษย์และวานรไม่ต่ำกว่า 2,000,000 ปีก่อน และมีสายพันธุ์ที่เฉพาะต่อมนุษย์และวานรสายพันธุ์ต่างๆ
แต่เมื่อมนุษย์วิวัฒนาการขนที่ลดลง เหาจึงวิวัฒนาการตามลักษณะขนที่อยู่อาศัยจนมีลักษณะที่ต่างกันอย่างชัดเจน เป็นเหาบนศีรษะ (Head Lice) เหาตามลำตัว (Body Lice, Clothing Lice) ซึ่งวิวัฒนาการแยกจากเหาศีรษะราว 80,000 ถึง 170,000 ปีก่อนซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่เริ่มมีการใช้เครื่องนุ่งห่ม โดยสองชนิดนี้มีบรรพบุรุษมาจากเหาในลิงชิมแพนซีในขณะที่ โลน (Pubic Lice) ซึ่งจะอยู่อาศัยในบริเวณเส้นขนเส้นใหญ่บริเวณอวัยวะเพศซึ่งวิวัฒนาการจากเหาในกอลิลลา
2. ปรสิตภายในที่วิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์ รวมถึงปรสิตจากสัตว์อื่นที่วิวัฒนาการมาอาศัยในร่างกายมนุษย์ เช่น พยาธิตัวกลม (Roundworm), พยาธิปากขอ (hook worm) ซึ่งเป็นพยาธิในหมูที่ขยายพันธุ์ผ่านมูล เมื่อมนุษย์นำมาเป็นปุ๋ย จึงวิวัฒนาการเข้าสู่ลำไส้มนุษย์จนกลายเป็นพยาธิของมนุษย์ ซึ่งการอยู่ในบริเวณเดียวอย่างต่อเนื่อง ของเสียต่างๆที่หมุนเวียนจึงทำให้ปัญหาเรื่องพยาธิทวีความรุนแรงขึ้น
3. การขยายพื้นที่การเกษตรสู่พื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อทำการปลูกข้าว ทำให้มนุษย์พบปรสิตในน้ำตื้น เช่น การเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำฮวงโห(จีน) หรือ ลุ่มน้ำไนล์(อียิปต์) ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมยุคเริ่มต้น โดยมีพยาธิใบไม้ ชนิด Schistosoma ที่สามารถเจาะผ่านผิวหนังเข้ามาอาศัยในกระแสเลือดมนุษย์ โดยมีการค้นพบร่องรอยของโรคนี้ในไตของมัมมี่ที่อียิปต์อายุก่า 3,000 ปี
4. การทำเกษตร ทำให้ร่างกายรับภาระเกินกว่าธรรมชาติที่วิวัฒนาการ การปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเกษตรนับเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่เริ่มกำเนิดมนุษย์ พฤติกรรมต่างที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่ถูกสรีระจึงนำมาสู่อาการเจ็บป่วย จากการศึกษาทางโบราณคดี พบหลักฐานกระดูมนุษย์เพศหญิงมักมีปัญหาไขข้ออักเสบ นิ้วหัวแม่เท้า เข่า กระดูกสันหลังส่วนล่างที่บิดเบี้ยว ซึ่งมาจากการใช้เครื่อโม่แบบหมุนเป็นประจำ ร่องรอยของฟันผุที่มากขึ้นจากอาหารการกินที่เพิ่มธัญพืช
จตุพร สุกิตติวงศ์
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย